'เวิล์ดแบงก์'ชี้พิษโควิดซัดคนไทยจนเพิ่ม


เพิ่มเพื่อน    

 

20 ม.ค. 2564 นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย (เวิล์ดแบงก์) เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะขยายตัวที่ 4% ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวยืดเยื้อ จากผลกระทบของการกลับมาระบาดรอบใหม่ของโควิด-19

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากคาดการณ์เดิม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในหลายด้าน ทั้งเรื่องความล่าช้าในการจัดการวัคซีน และการแจกจ่ายวัคซีน รวมถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ไปจนถึงการสูญเสียรายได้ต่อหัวที่มากขึ้น หรือระดับความยากจนมีมากขึ้น รวมถึงความท้าทายของตลาดแรงงานในไทย ซึ่งเป็นผลจากประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึง 13-15% ของจีดีพี ทำให้เศรษฐกิจไทยยังมีความอ่อนไหวจากโควิด-19 ค่อนข้างมาก ประกอบกับประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ดังนั้นการลงทุนยังมีความสำคัญ เพื่อที่จะใช้ตอบโต้กับวิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ ซึ่งการลงทุนจะเป็นรากฐานของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ประจำประเทศไทย เวิล์ดแบงก์ กล่าวว่า เวิล์ดแบงก์ได้ปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 4% และปี 2565 อยู่ที่ 4.7% โดยเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และค่อนข้างนาน โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปใกล้เคียงปี 2562 ก่อนเกิดการระบาด แต่หากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ยังดำเนินต่อไป จนรัฐบาลต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง ก็จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตได้เพียง 2.4% เนื่องจากจะมีการสูญเสียรายได้สูงถึง 50 แสนล้านบาท หรือ 20% ของจีดีพี

“การฟื้นตัวของจีดีพีไทยในปี 2564-2565 หลัก ๆ จะมาจากเศรษฐกิจในประเทศ และการลงทุนของภาครัฐ ส่วนการส่งออกและรายได้จากการบริการ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวยังอ่อนแออย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงต้องรอผลของการฉีดวัคซีนในต่างประเทศด้วย ขณะที่เงินเฟ้อ 1.3% บัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ 2-4% หนี้สาธารณะขยับสูงขึ้นแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบ 60% ต่อจีดีพี ขณะที่ระยะข้างหน้าจะต้องเผชิญความเสี่ยงทั้งในระดับโลก คือ การเติบโตของเศรษฐกิจโลกอาจช้ากว่าที่คาด และความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ขณะที่สถานการณ์แรงงานเริ่มดีขึ้นและทำให้จำนวนงานเพิ่มขึ้น 8.5 แสนตำแหน่ง” นายเกียรติพงศ์ กล่าว

สำหรับความรุนแรงจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ประมาณการว่าจะมีคนไทยยากจนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านคน ส่วนมาตรการการคลังและมาตรการการเงินที่ภาครัฐดำเนินการไปในช่วงที่ผ่านมาซึ่งคิดเป็น 13% ของจีดีพี ถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีงบประมาณสูงสำหรับออกมาตรการช่วยเหลือ โดยเฉพาะ พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 5 แสนล้านบาท (ซอฟท์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ยังทำได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นควรมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง

อย่างไรก็ดีในแง่ของผลกระทบต่อแรงงาน จากโควิด-19 ช่วงไตรมาส 2/2563 ทำให้งานหายไป 3.4 แสนตำแหน่ง และชั่วโมงการทำงานลดลง 2-3 ชั่วโมง การว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้น 9% ขณะที่ค่าจ้างลดลง 1.6% ส่วนในไตรมาส 3 ต่อเนื่องไตรมาส 4 /2563 สถานการณ์แรงงานเริ่มดีขึ้นและทำให้จำนวนงานเพิ่มขึ้น 8.5 แสนตำแหน่ง แต่ยังมีจุดอ่อนคือ ชั่วโมงการทำงานและค่าจ้างในภาคการเกษตรยังต่ำกว่าในปี 2562

“การเกิดขึ้นของโควิด-19 ซ้ำเติมความท้าทายเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานที่อ่อนแอลง และแรงงานนอกระบบ รวมถึงในระยะกลางยังต้องเผชิญปัญหาประชากรสูงอายุด้วย” นายเกียรติพงศ์ กล่าว

ทั้งนี้ ข้อเสนอเพื่อช่วยประสิทธิภาพของแรงงานโดยรวม ในระยะสั้น แนะนำให้ขยายการคุ้มครองเพื่อช่วยแรงงานที่ตกงาน ผ่านมาตรการเยียวยาด้านการเงินและช่วยฝึกทักษะอาชีพสำหรับผู้ตกงาน ส่วนมาตรการระยะยาวคือการเพิ่มด้านประสิทธิภาพการทำงานให้สอดคล้องกับสังคมไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ การลดช่องว่างระหว่าแรงงานผู้หญิงกับแรงงานชาย ตลอดจนแนะนำให้ขยายเวลาการเกษียณอายุออกไปอีก เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"