20 ม.ค.2564 - น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณี น.ส. พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้าได้เผยแพร่ข้อมูลเฟซบุ๊กและไลฟ์ในหัวข้อ “7 ประเด็นกระทรวงสาธารณสุขแถลงกรณีวัคซีนพระราชทาน เราอยากถามต่อ” ว่าเพราะยังล้าหลัง ทั้งข้อมูลและจิตใจ ทุกประเด็นที่ตั้งคำถามล้วนตั้งป้อมโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์และคณะทำงานทุกคน บิดเบือน รวมถึงคนที่ตั้งใจทำงานแก้ปัญหาโควิด19 โดยเฉพาะบุคคลากรทางการแพทย์ ที่ใช้ทั้งประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำงานตัดสินใจทั้งสิ้น เพื่อเป็นวิทยาทานให้คุณพรรณิการ์และคณะก้าวหน้า และเพื่อไม่ให้สังคมและผู้ติดตามเพจคณะก้าวหน้าสับสน จะขออธิบายซ้ำอีกครั้งในเบื้องต้นว่า
1.บ.สยามไบโอไซเอนซ์ ได้รับเลือกจาก AstraZeneca โดยพิจารณาจากศักยภาพทั้งด้านความพร้อมของโรงงานและความสามารถของบุคคลากรที่มีมาตรฐานทั้ง PIC/S และ GMP และเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่มีศักยภาพด้านชีววัตถุ ส่วนเรื่องที่บริษัทไม่มีกำไรจากผลประกอบนั้นก็ไม่ใช่เกณฑ์ที่ AstraZeneca จะนำมาพิจารณา อีกทั้งทั้ง 2 บริษัทยังมีหลักการร่วมกันในการผลิตวัคซีนคือ No-profit และ บ.สยามไบโอไซเอนซ์ก็ได้แสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพเพราะที่ผ่านมาได้ผลิตยาคุณภาพเพื่อคนไทยในราคาที่ถูกได้
2.รัฐสนับสนุนทุนในการวิจัยและผลิตวัคซีน 595 ล้านบาทให้แก่ บ.สยามไบโอไซเอนซ์ นั้นไม่ได้หมายความว่า บ. ไม่มีความพร้อมในการผลิตวัคซีน ศักยภาพความพร้อมในการผลิตวัคซีนที่ AstraZeneca พิจารณาไม่ได้ดูจากปัจจัยนี้ ทั้งนี้การที่รัฐบาลจะสนับสนุนใดๆ ต้องมั่นใจถึงความพร้อมของบริษัทนั้นๆ เพราะเงินล้วนเป็นภาษีประชาชน
3.รัฐไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายเดียว รัฐสนับสนุนทุนในการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิดให้กับหลายรายที่สนใจด้วย เช่น กระทรวงสาธารณสุขโดยองค์การเภสัชกรรม ลงนามความร่วมมือกับ บจก.ใบยา ไฟโตฟาร์ม สตาร์ทอัพโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บจก.คินเจน ไบโอเทค ผนึกกำลังเป็นทีมไทยแลนด์ ในการพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องโรคโควิด-19 จากใบพืช ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นตามที่คณะก้าวหน้ากล่าวหาว่า “เอาภาษีประชาชนแบกบริษัทเอกชนรายเดียวให้พร้อมผลิตวัคซีนให้ได้” และทุนวิจัยที่รัฐสนับสนุน บ.สยามไบโอไซเอนซ์ ไม่ได้เป็นการให้เปล่า โดยจะต้องมีการคืนทุนให้เป็นวัคซีนในจำนวนที่เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับทุน
4.คณะก้าวหน้ากล่าวหาลอยๆ โดยไม่ได้แสดงข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ มีเพียงตารางภาพที่คณะก้าวหน้าจัดทำขึ้นและการกล่าวอ้างของ น.ส.พรรณิการ์ว่ามาข้อมูลมาจาก นสพ. เช่น The Economist โดยไม่ได้แสดงรายละเอียดเงื่อนไขการตกลงราคา เช่น ระยะเวลาจอง ช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการนำมาใช้ ทุกอย่างล้วนสะท้อนถึงคุณภาพและราคา ดังนั้นการกล่าวหาว่าประเทศไทยซื้อวัคซีนแพงกว่าประเทศอื่นจึงเป็นการสรุปที่ไม่น่าเชื่อถือ เลื่อนลอย
5. ไม่รีบและเน้นปลอดภัย คือ รัฐบาลไม่ได้รีบจองโดยยังไม่ทราบผลสำเร็จหรือผลข้างเคียง ซึ่งจะเป็นการเสี่ยงทั้งสุขภาพและงบประมาณของประเทศ บางประเทศที่ต้องการเริ่มฉีดวัคซีนเร็ว มีการตัดสินใจใช้วัคซีนที่อาจจะยังทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่ครบถ้วนเพราะสถานการณ์ติดเชื้อในประเทศเลวร้ายไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งประเทศไทยไม่ยอมรับความเสี่ยง ไม่ยอมให้รีบร้อนฉีดวัคซีนที่ยังทดสอบไม่ครบถ้วน และไม่ยอมเป็นประเทศทดลอง วัคซีนทั้งหมดจะต้องผ่านมาตรฐานองค์การอาหารและยา (อย.) ทั้งของไทยและต่างประเทศ
การให้วัคซีนเป็นวิธีการเสริมจากการป้องกันที่ไทยทำได้ดีอยู่แล้ว การได้รับวัคซีนจึงไม่ควรเร่งรีบเกินไป ทางที่ดีที่สุดต้องมีการสมดุลกับผลศึกษา ผลข้างเคียงให้ได้รับวัคซีนที่ปลอดภัยโดยปกติใช้เวลา 1-2 ปี ซึ่งในปีหน้าตลาดวัคซีนจะเป็นของผู้ซื้อ เราจะยิ่งมีโอกาสที่จะเลือกซื้อวัคซีนที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด และราคาถูกที่สุด นี่คือความหมายของ “ไม่รีบและเน้นปลอดภัย” ที่ต่างจากที่คณะก้าวหน้าตีความ การฉีดวัคซีนให้ประชาชนครบก่อนไม่ได้รับประกันความปลอดภัยจากผลข้างเคียง หากรีบฉีดให้ครบทุกคนโดยไม่รอผลการศึกษาตามที่คณะก้าวหน้าตั้งคำถามเชิงเสนอแนะนั้น ก็ขอย้อนถามว่า คณะก้าวหน้าจะรับผิดชอบความเสียหายที่จะเอาชีวิตคนไทยมาเสี่ยงอย่างไร?
6.รัฐไม่ได้ผูกขาดวัคซีนจากรายเดียว ขณะนี้นอกจาก AstraZeneca และ SinoVac แล้ว ยังมีการเจรจากับอีก 4 บริษัท และยังมีการพัฒนาอีกหลายบริษัทภายในประเทศ ดังนั้นจึงไม่ควรเบี่ยงประเด็นโจมตี AstraZeneca เพื่อต้องการด้อยค่ารัฐบาลและ บ.สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งแม้ว่าในปีแรกจะมีการใช้วัคซีนของ AstraZeneca ประมาณ 88% ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการผูกขาดจากรายเดียวหรือทำให้ไม่มีความมั่นคงทางวัคซีน เพราะในปีถัดๆ ไปอาจมีการตกลงจัดซื้อวัคซีนจากบริษัทอื่นได้ โดยที่ในปีถัดๆ ไปตลาดวัคซีนจะเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกมากขึ้น ขอ
ย้อนถาม น.ส.พรรณิการ์กลับว่า การจัดหาวัคซีนที่ดีต้องเป็นการจัดซื้อจากทุกบริษัทในสัดส่วนที่เท่ากันหรือ? ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดแบบนี้ รัฐบาลควรรอเวลาและสั่งซื้อวัคซีนจากเอกชนทุกรายที่มีอยู่ให้มีสัดส่วนที่เท่ากันหรือ? ทำไมไม่พิจารณาที่คุณภาพ ความปลอดภัย ราคา ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความสะดวกรวดเร็วในการจัดหาให้ทันกับสถานการณ์? และหากในอนาคตพบว่าวัคซีนจาก AstraZeneca ถูกสุด ดีสุด ปลอดภัยสุด รัฐก็ไม่ควรสั่งซื้อจาก AstraZeneca เพียงรายเดียวหรือย่างไร?
ส่วนคำว่า ความมั่นคงทางวัคซีนนั้นเหมือนว่า น.ส.พรรณิการ์จะเข้าใจไม่ถ่องแท้ ความมั่นคงทางวัคซีน หมายถึง การเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การดำเนินการให้มีปริมาณวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ฉุกเฉิน
7. รัฐบาลบริหารประเทศได้ดี สามารถรับมือโควิดได้ดี มีการบริหารจัดการงบประมาณให้ครอบคลุมทุกกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ การที่ได้รับพระราชทานอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ รวมถึงรถโมบายตรวจหาเชื้อนิรภัย ช่วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วจากทรัพย์ส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 รวมกว่า 4 พันล้านบาทนั้นเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ทำให้ทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการทำงานมากยิ่งขึ้น และยังเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
"ทั้ง 7 ข้อ ล้วนเป็นคำถามมุ่งโจมตีมากกว่าตั้งคำถามเพื่อความก้าวหน้า ทั้งทีมแพทย์-สาธารณสุข นักรบเสื้อกราวน์ ขณะนี้ทุกคนต่างมีหน้าที่ที่ต้องทำเร่งด่วนร่วมกันเพื่อให้ประเทศชาติพ้นวิกฤตโควิด ทุกคนกำลังทำงานหนักเพื่อรักษาชีวิตและสุขภาพของประชาชน เพื่อความหวังการรักษาโรค นักการเมืองที่ไม่ยอมลงมือช่วยทำอะไรให้เกิดประโยชน์ ก็ขอให้หยุดทำตัวคล้ายๆคนถ่วงความเจริญของชาติเถอะ ทั้งนี้ "สังคมตั้งคำถามเดียวคือ บุคคลในคณะก้าวหน้าเป็นคนไทยหรือเปล่า จ้องแต่จะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ของคนไทย และทำลายความหวังของคนไทยใช่หรือไม่" " น.ส. ทิพานัน กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |