เตือนคนอ้วนเสี่ยงสูงช่วงโควิด-19ระบาด


เพิ่มเพื่อน    

    นอกจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุขด่านหน้า (รวมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) และเจ้าหน้าที่ทำงานภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง และคนอ้วน ต่างก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป จากการเปิดเผยของ นพ.สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการแพทย์ ประจำ รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ 
     มีงานวิจัยออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงปลายปี 2563 รวมถึงวารสาร “Obesity review” ได้สรุปอย่างง่ายว่า คนอ้วนมีโอกาสเข้าโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนผอมถึง 113% และคนอ้วนยังมีโอกาสนอนไอซียูจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนผอมถึง 74% สุดท้ายคนอ้วนยังมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนผอมถึง 48% 
    นพ.สุทธิพงษ์ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้คนอ้วนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากโควิด-19 ได้ง่าย มีปัจจัยคือ 1.ความอ้วนทำให้เกิดโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย และเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วอาการจะมีความรุนแรง ส่งผลทำให้อาการแย่ลงได้อย่างรวดเร็ว 2.ความอ้วนจะทำให้มีปริมาณไขมันสะสมในช่องท้อง ซึ่งปริมาณไขมันสะสมจำนวนมากจะดันกระบังลมขึ้นไปเบียดกับขนาดของปอด ส่งผลให้ปอดมีขนาดเล็กลง นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายและหายใจลำบาก ดังนั้น เมื่อปอดมีขนาดเล็กลงจึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่ายและรักษาหายช้ากว่าปกติ
    3.ความอ้วนส่งผลทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขา อีกทั้งสามารถลุกลามไปอุดตันที่ปอด สมอง หรือหัวใจ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 มาจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด และเมื่อมีภาวะอ้วนร่วมด้วยจะส่งผลให้อาการลิ่มเลือดอุดตันเกิดความรุนแรงได้มากขึ้น และ 4.ความอ้วนทำให้ระดับภูมิคุ้มกันน้อยกว่าปกติ จากงานวิจัยพบว่า เมื่อคนอ้วนเข้ารับการรักษา เช่น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ร่างกายจะตอบสนองต่อวัคซีนน้อยกว่าคนน้ำหนักปกติ  
    เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะคนอ้วนหรือคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก ได้ป้องกันเชิงรุกกับ Covid-19 นพ.สุทธิพงษ์ให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว 5 ข้อหลักๆ ดังนี้ 1.สวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของ โดยให้คิดเสมอว่าภาวะความอ้วนเสมือนเป็นโรคประจำตัว ต้องปกป้องตัวเองให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในเวลานี้ และสิ่งที่ควรทำเป็นประจำนั่นคือหมั่นล้างมือทุกครั้งหลังไปจับสิ่งของต่างๆ พร้อมกับสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน
    2.หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากอาจทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ หากจำเป็นควรมีการป้องกันอย่างสูงสุด เช่น สวมหน้ากากอนามัยสำหรับปิดปากและจมูก โดยใช้เฟซชิลด์ร่วมด้วยเพื่อป้องกันละอองที่เกิดจากการไอหรือจาม นอกจากนี้พกสเปรย์แอลกอฮอล์ไปด้วย ควรฉีดลงบนวัตถุหรือสิ่งของก่อนที่จะสัมผัสทุกครั้ง
    3.งดการเข้าทำกิจกรรมในสถานที่ที่แออัด หรือ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ผับ บาร์ เป็นต้น 4.ลดน้ำหนักตัวลงอย่างน้อย 10% ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน เพราะจะทำให้ความเสี่ยงลดลงไปเยอะมาก เช่น น้ำหนักตัวอยู่ที่ 80-90 กิโลกรัม น้ำหนักที่ควรลดคือ 8-9 กิโลกรัม และต้องมีความตั้งใจอย่างจริงจัง เช่น การควบคุมอาหาร ต้องออกกำลังกายเป็นประจำด้วยความระมัดระวัง หรือพบแพทย์เพื่อใช้ยาร่วมด้วย หรือทำการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แต่ทั้งนี้ควรต้องศึกษารายละเอียดพร้อมกับได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    5.ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เนื่องจากคนอ้วนมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติที่มีน้ำหนักตัวทั่วไป ดังนั้น จึงต้องหมั่นออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่ายและสะดวก เช่น เดินเร็วสลับวิ่งช้าๆ หรือ เล่นกีฬา เช่น โยคะ แบดมินตัน ปิงปอง หรือว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ต้องระวังเรื่องของการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่อาจส่งผลตามมาได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"