19 ม.ค.64 - ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้ให้ข้อมูลวัคซีน โควิด-19 ที่จะนำเข้าไทย ว่า สำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่มีการสั่งเข้ามาในหลายประเทศ ที่ทุกตัวผ่านระยะทดลองเฟส 1-3 การศึกษาในคน โดยไทยจะนำวัคซีน 2 ตัวเข้ามาใช้ได้แก่ 1.วัคซีน Moderna ของสหรัฐอเมริกา ที่ใช้การผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA ที่มีประสิทธิภาพคู่ขนาดมากับ วัคซีน Pfizer ถึง 94.5% เก็บรักษาได้ในอุณหภูมิ 20 องศา มีการอนุมัติใช้แล้วในหลายประเทศ ทั้งนี้หากฉีด 1 เข็มมีประสิทธิภาพ 80.2% ฉีดครบ 2 เข็ม หากฉีดครบ 2 เข็ม ประสิทธิภาพจะอยู่ที่ 94.5% และได้มีการศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป วัคซีนก็ยังมีประสิทธิภาพสูง 86.4% รายงานล่าสุด พบภาวะข้างเคียงเมื่อฉีดครบ 2 เข็มคือ ปวดศีรษะ 63% อ่อนเพลีย 68% ปวดข้อ 45% หนาวสั่น 48% ซึ่งสูงกว่ารายงานของ วัคซีน Pfizer
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า 2. วัคซีน SINOVAC ของประเทศจีน โดยบริษัท Sinovac Biotech โดยจะเข้าประเทศไทยในเดือนกุมพาพันธ์ 2564 วัคซีนตัวนี้ใช้กระบวนการผลิตโดยใช้เชื้อ โคโรน่าไวรัส ที่อ่อนแรงหรือตาย ซึ่งวัคซีนตัวนี้มีการศึกษามาเยอะทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ โดยมีประสิทธิภาพ 50.38% เก็บรักษาด้วยการแช่เย็น และต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 2 สัปดาห์ ข้อดีของวัคซีนตัวนี้คือ ใช้เทคโนโลยีที่เราคุ้นเคย และเข้าสู่กระบวนการผลิตได้เร็ว โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2563 รัฐบาลจีนอนุมัติให้ฉีดวัคซีนแก่บุคคลากรที่ทำงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีการกระจายไปใช้ในหลายประเทศในจำนวนมาก
และยังมีวัคซีนจากประเทศจีนที่น่าสนใจ เผื่อประเทศไทยอยากนำเข้า คือ วัคซีนที่ศึกษาโดยบริษัท Sinopharm ที่ใช้กระบวนการผลิตโดยใช้เชื้อ โคโรน่าไวรัส ที่อ่อนแรงหรือตาย เช่นเดียวกับ วัคซีน SINOVAC สำหรับวัคซีน Pfizer ของสหรัฐอเมริการที่ร่วมกับ BioNTech เยอรมันนี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ใช้การผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับวัคซีนของ Moderna สิ่งสำคัญสำหรับวัคซีนตัวนี้ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิ -70 องศา และเมื่อนำเข้าประเทศไทยที่มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อน หากต้องขนส่งไปยังต่างจังหวัด ก็อาจจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพ สำหรับภาวะข้างเคียงมีรายงานเมื่อฉีดครบ 2 โดส ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดข้อ หนาวสั่น แต่อย่างที่มีข่าวเผยแพร่ว่า สูติ-นารี แพทย์ชาวอเมริกัน อายุ 56 ปี เสียชีวิต เลือดออกในสมอง16 วันหลังการฉีดวัคซีน และมีรายงานว่าผู้สูงอายุ 23 ราย ในการฉีดวัคซีนรวม 25,000 คน ในประเทศนอร์เวย์เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน 13 รายมีการอาการแทรกซ้อน ไข้ อาเจียน ท้องเดิน และยังพบผู้ป่วยชายวัย 85 ปีเสียชีวิตจากโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน 1 เข็ม และอีก 2 วันจะฉีดเข็มที่ 2 จึงเปเป็นสิ่งที่ต้องบริษัทต้องหาสาเหตุต่อไป
ทั้งนี้ วัคซีนโควิด-19 เพียง 7% ที่ผ่านการศึกษาเฉพาะในสัตว์ทดลอง ประสบความสำเร็จเมื่อใช้ในคน ส่วนในระยะที่ศึกษาในคนจำนวนมาก ประสบความสำเร็จเพียง 20% หรือ 1 ใน 5 ดังนั้น วัคซีนที่ศึกษาในคนแล้วประสบความสำเร็จในระยะที่ 3 อาจใช้ได้จริงเพียง 50% เพราะในกลไกการผลิตวัคซีน ร่างกายของคนก็ตอบสนองไม่เหมือนกัน
"ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนใดก็ตามหากผ่านการศึกษาครบทุกระยะเรียบร้อย เมื่อมาฉีดในประชากรจำนวนมาก สิ่งที่ต้องติดตามหลักจากนั้นคือ 1.ภาวะแทรกซ้อนที่ในระหว่างการศึกษาไม่ปรากฎ 2.สามารภป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ และการเลือกวัคซีน ปัจจัยสำคัญคือ ความปลอดภัย ที่จะต้องไม่เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนเราไม่จำเป็นต้องเลือกวัคซีนที่ประสิทธิภาพสูงใกล้ 100% เพราะในทางปฏิบัติไม่มีวัคซีนใดได้ประสิทธิภาพเต็ม 100% แต่ต้องมีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 50% เทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิประมาณ 50-60% เมื่อฉีดแล้วอาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่แต่ไม่รุนแรง เป็นต้น และการจัดส่งวัคซีนอย่างทั่วถึงมีคุณภาพ เพราะวัคซีนบางตัวมีการจัดเก็บยาก อาจจะมีองค์ประกอบทำให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพ "ศ.นพ.ประสิทธิ์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |