เป็นกระแสชวนให้ติดตามถึงข้อสรุปหลังจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีหนังสือลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียว โดยตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป จะมีการจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดังนี้ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต จำนวน 16 สถานี เก็บในอัตรา 15-45 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี ขณะที่สายสุขุมวิท จากสถานีอ่อนนุช ถึงสถานีหมอชิต รวม 17 สถานี และสายสีลม จากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานีสะพานตากสิน รวม 6 สถานี และส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงที่ 1 จากสถานีกรุงธนบุรี ถึงสถานีวงเวียนใหญ่ จำนวน 2 สถานี เก็บค่าโดยสารตามที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กำหนด
ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงสถานีแบริ่ง จำนวน 5 สถานี และจากสถานีสำโรง ถึงสถานีเคหะสมุทรปราการ จำนวน 9 สถานี เก็บในอัตรา 15-45 บาท(ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี) และส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า จำนวน 4 สถานี เก็บในอัตรา 14-24 บาท (ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี) ทั้งนี้ตลอดแนวเส้นทางให้จัดเก็บค่าโดยสารแรกเข้าเพียงครั้งเดียว โดยให้เก็บค่าโดยสารตลอดเส้นทางไม่เกิน 104 บาท
โดยให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมา กทม.เปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยในช่วงทดลองให้บริการ ไม่มีการเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่เมื่อเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบแล้ว กทม.มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียว
ในเวลาต่อมา เฟซบุ๊ก ศรีสุวรรณ จรรยา ได้โพสต์ข้อความถึงแถลงการณ์สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เรื่อง รมว.คมนาคม ต้องรับผิดชอบค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพง โดยมีเนื้อความว่า การปรับราคาดังกล่าวลงมาเหลือ 104 บาทตลอดสาย ก็ยังถือว่าแพงเกินไปสำหรับประชาชนที่หาเช้ากินค่ำอยู่ดี โดยเฉพาะในสถานการณ์การเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ กทม.กับเอกชนผู้รับสัญญาสัมปทานได้เคยตกลงกันได้แล้วโดยความเห็นชอบของ รมว.มหาดไทย ว่าจะกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดอยู่ตลอดสายอยู่ที่ 65 บาท
แน่นอนว่าเรื่องนี้กระทรวงคมนาคมจะไม่นิ่งดูดายอย่างแน่นอน "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รมว.คมนาคม ได้สั่งการว่า ในวันจันทร์ที่ 18 ม.ค.64 ทำหนังสือถึงกรุงเทพมหานครให้ กรุงเทพมหานครพิจารณาชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ
ทั้งนี้ ในเรื่องของการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม.ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่นๆ เพื่อนำมาศึกษาและให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม.เสนอใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 (38 ปี)
ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป
เรื่องการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวในครั้งนี้ กระทรวงคมนาคมไม่เกี่ยวข้องไม่เข้าไปยุ่งคงไม่ได้ ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อผลประโยช์ของประชาชนผู้ใช้บริการเป็นหลัก หากปล่อยให้มีการปรับขึ้นตามอำเภอใจแน่นอนว่าใครที่จะเดือดร้อน คงหนีไม่พ้นประชาชนที่ใช้บริการนั้นเอง.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |