'ชวน' นั่งหัวโต๊ะถก 'คกก.สมานฉันท์' นัดแรก ยันไม่ทำเรื่องถูกให้เป็นผิด ยกโซเชียลใช้ไม่เป็นมีโทษมหันต์


เพิ่มเพื่อน    

18 ม.ค.64 - เมื่อเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นนัดแรก ซึ่งนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาได้เข้ามานั่งเป็นประธานในเบื้องต้น และยังได้กล่าวถึงที่มาของคณะกรรมการดังกล่าว ว่ามาจากการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 26-27 ต.ค. 63 ซึ่งฝ่ายค้านเป็นผู้เสนอญัตติ กรณีมีปัญหาสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งในขณะนั้นเกิดความไม่สงบเรียบร้อยและมีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส covid-19 อีกทั้งยังมีการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งที่สุดแล้วที่ประชุมไม่ได้มีมติ แต่ได้มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งก็คือคณะกรรมการสมานฉันท์นั่นเอง เมื่อมีความเห็นเช่นนี้ ทางสภาฯก็รับมาดำเนินการและได้หารือกับสถาบันพระปกเกล้าถึงรูปแบบของคณะกรรมการ

"ผมได้หารือเรื่องนี้กับท่านผู้นำฝ่ายค้านและบอกไปว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม และฝ่ายค้านยังสามารถไล่นายกฯได้เหมือนเดิม ซึ่งท่านก็บอกว่าขอกลับไปพิจารณาอีกครั้งก่อน ต่อมาก็ไม่ได้เข้าร่วม ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุม ยอมรับว่าไม่สามารถประสานกับใครได้โดยตรง ทั้งนี้ เหลือผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน ก็จะให้คณะกรรมการชุดนี้เป็นผู้เลือก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถ้าไม่มีฝ่ายค้านก็ใช่ว่าจะทำงานไม่ได้ หรือหากไม่มีฝ่ายรัฐบาลก็ใช่ว่าจะทำงานไม่ได้เช่นกัน เพราะเรื่องนี้เป็นประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชน" นายชวน กล่าว

นายชวน กล่าวอีกว่า ในฐานะรัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เราจะไม่ทำเรื่องถูกให้เป็นเรื่องผิด หรือทำเรื่องผิดให้เป็นเรื่องถูก ตนขอให้กำลังใจทุกท่าน เราไม่สามารถบันดาลใครได้หรือสั่งใครได้แต่ขอให้คิดว่าเป็นการนำความรู้มาพูดคุยเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ตนได้พูดคุยกับเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าว่าในอดีตมีปัญหาและสามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต แต่ก็มีบางเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วและมีวิธีป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาที่เกิดจากการใช้สื่อวิทยุชุมชน เรื่องนี้ป้องกันได้ นอกจากนี้ก็ยังจะมีเรื่อง Social Media ที่มีการตัดต่อข้อความรูปภาพ หากใช้เป็นก็จะมีคุณอนันต์ แต่ถ้าหากใช้ไม่เป็นก็จะมีโทษมหันต์เช่นกัน ซึ่งตนได้ให้สถาบันพระปกเกล้ารับไปศึกษา

ต่อมานายชวน ได้เปิดโอกาสให้คณะกรรมการได้หารือเบื้องต้น โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว. ในฐานะกรรมการ ได้สอบถามถึงการรายงานความคืบหน้าของคณะกรรมการว่าควรจะรายงานความคืบหน้าอย่างไร นายชวน ตอบกลับว่าเบื้องต้นให้รายงาน 2 สัปดาห์ต่อครั้ง

จากนั้นนายชวน ได้เชิญให้กรรมการที่มีความอาวุโสสูงสุดเป็นประธานการประชุม เพื่อดำเนินการตามระเบียบวาระต่างๆต่อไป

ทั้งนี้ นายชวน ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมภายหลังออกจากห้องประชุม ถึงกรณีที่ให้รายงานความคืบหน้าให้ตนรับทราบ ใน 2 สัปดาห์ ว่า ไม่ใช่การแทรกแซง เพียงแค่ให้รายงาน เพราะยังมีรายละเอียดของการทำงาน เช่น การตั้งกรรมการสมานฉันท์ ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ และฝ่ายผู้ชุมนุม ที่ตนต้องลงนามแต่งตั้งเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีการทำงานนั้นตนได้ย้ำให้ยึดหลักประชาธิปไตย และยึดกฎหมาย เพราะกรรมการคณะดังกล่าวมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามการทำงานของกรรมการนั้นไม่ได้กำหนดกรอบเวลาให้ทำงานสิ้นสุดเมื่อใด

“ส่วนกรณีที่ไม่มีฝ่ายค้านเข้าร่วมและหลายคนมองว่าไม่สำเร็จ ขอให้เข้าใจว่าฝ่ายค้านไม่ขอเข้าร่วม ไม่ใช่ว่าผมเลือกปฏิบัติ  อย่างไรก็ดีในการทำงานของกรรมการ อาจแต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานหรือศึกษาโดยขอความเห็นจากฝ่ายต่างๆได้” นายชวน กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"