'แบงก์ชาติ'จ่อหั่นจีดีพีอ่วม!แรงงานเตะฝุ่นเพิ่ม4.7ล้านคน


เพิ่มเพื่อน    

 

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ในไทย ที่แม้จะกระจายเป็นวงกว้างและเร็วกว่าการระบาดระลอกแรก แต่พบว่าความรุนแรงของโรคน้อยกว่า ขณะที่ความพร้อมด้านสาธารณสุขมีมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาการของวัคซีนและแผนการได้รับวัคซีนของไทยเริ่มมีความชัดเจน ทำให้ ธปท. คาดการณ์ผลกระทบจากของการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงเท่าการระบาดระลอกแรก สะท้อนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงน้อยกว่า รวมถึงภาครัฐมีมาตรควบคุมการแพร่ระบาดในครั้งนี้เข้มงวดน้อยกว่า และภาคการส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัวได้ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า  

ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่ ธปท. จะมีการปรับลดคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 ลง จากคาดการณ์เดิมที่ 3.2% เนื่องจากการไม่คิดว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะลุกลามเป็นวงกว้าง รวมทั้งยังมีปัจจัยที่มีความไม่แน่นอนเยอะมาก โดยการปรับประมาณการณ์ในครั้งนี้จะต้องโฟกัสที่ภาพรวมเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ เพราะผลกระทบจะถูกส่งผ่านไปยังกลุ่มคน และพื้นที่ไม่เท่ากัน สิ่งสำคัญ อยู่ที่การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเดินได้เป็นปกติเป็นสิ่งสำคัญ โดยการพิจารณาตัวเลขทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด 

โดยจากการประเมินผลกระทบจากการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดใน 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1. การใช้มาตรการควบคุมแบบปานกลาง ซึ่งอาจจะใช้เวลาในการควบคุมการแพร่ระบาดค่อนข้างนาน ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประมาณ 1-1.5%, กรณีที่ 2. การใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดแบบเข้มข้น (เจ็บแต่จบ) กรณีนี้จะคล้ายกับการควบคุมการแพร่ระบาดในรอบแรก คือ จบเร็ว แต่ในมุมเศรษฐกิจจะถูกกระทบมากกว่า โดยมองว่าจะมีผลต่อจีดีพี 2-2.5%  

กรณีที่ 3. ใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดแบบปานกลางไม่ได้ผล จนต้องใช้มาตรการแบบเข้มข้นในภายหลัง จะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง และยืดเยื้อกว่าใน 2 กรณีแรก โดยจะมีผลกระทบต่อแนวทางการเปิดประเทศในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ที่คาดว่าไทยจะเริ่มกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้บ้าง และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาด้วย โดยประเมินว่ากรณีนี้จะส่งผลกระทบต่อจีดีพี 3-4% โดยการประเมินทั้ง 3 กรณี ยังไม่มีการรวมผลจากมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและการคลัง ความคืบหน้าเรื่องการกระจายวัคซีน ดังนั้นตัวเลขดังกล่าวจึงเป็นแค่การประเมินไม่ใช่ตัวเลขที่จะนำไปหักลบกับตัวเลขจีดีพีได้ 

นางสาวชญาวดี กล่าวอีกว่า การฟื้นตัวในระยะต่อไปจะต่างกัน ทั้งในเชิงพื้นที่ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มแรงงาน โดยพื้นที่ที่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมเข้มงวด 28 จังหวัด ซึ่งครอบคลุมสัดส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงเกินครึ่งของประเทศจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะที่ด้านกลุ่มธุรกิจจะมีกลุ่มที่เปราะบางเพิ่มเติมจากรายได้ที่ลดลงในช่วงนี้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจภาคบริการ  

นอกจากนี้ บางกลุ่มที่มีฐานะการเงินอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว เช่น ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว จะได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่นี้เพิ่มเติม ส่วนผลกระทบด้านแรงงาน คาดว่ากลุ่มแรงงานในพื้นที่สีแดงที่มีมาตรการการควบคุมเข้มงวด มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบประมาณ 4.7 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวันและผู้มีอาชีพอิสระ ที่จะมีชั่วโมงการทำงานลดลงและมีรายได้ลดลงมาก ขณะที่สถานการณ์หนี้ครัวเรือนสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถือเป็นปัจจัยถ่วงรั้งการบริโภค ถือเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนจะมีปัญหาสภาพคล่อง แต่ก็ต้องติดตามต่อ เพราะแม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น แต่ก็มีการออกมาตรการเพื่อแก้ไข โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ 

“ในระยะข้างหน้า แนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน โดยมีปัจจัยมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 การกระจายวัคซีนในไทยและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงมาตรการภาครัฐที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจ อีกทั้งในปัจจุบันหลายภาคธุรกิจและครัวเรือนมีฐานะการเงินที่เปราะบางมากขึ้นจากการระบาดระลอกแรก ทำให้ความสามารถในการรองรับแรงกระแทกทางเศรษฐกิจน้อยลง ดังนั้น การช่วยเหลือภาคธุรกิจและแรงงานอย่างทันการณ์เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน และต้องเน้นการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางให้ทั่วถึงและตรงจุดมากที่สุด ซึ่งภาครัฐได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลือ รวมถึง ธปท. ที่ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว” นางสาวชญาวดี กล่าว 

 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"