14ม.ค.64- นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาจั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศึกษาแนวทางการให้นักเรียนจบการศึกษาในปีการศึกษา 2563 นั้น เรื่องดังกล่าวถือเป็นอำนาจของโรงเรียนในการดำเนินการ อีกทั้งวิธีการประเมินเพื่อจบการศึกษา สพฐ.ก็ไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องเป็นไปในรูปแบบการทดสอบ หรือวิธีใด ซึ่งโรงเรียนสามารถใช้ดุลยพินิจในการบริหารจัดการได้เองตามบริบทของแต่ละโรงเรียน ส่วนกรณีที่มีข้อกังวลว่าแต่ละโรงเรียนจะมีการปล่อยเกรด หรือไม่ อย่างไรนั้น ตนมองว่าขณะนี้เราต้องเชื่อว่า ครูทุกคนทำหน้าที่สอนเด็กเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และหากครูเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว และผลิตคนที่ไม่มีคุณภาพออกมา ถือว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก อีกทั้งผู้ปกครองเองก็คงไม่ยอมให้เกิดการดำเนินการในลักษณะนั้น
“อย่างไรก็ตาม การประเมินผลแนวใหม่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ระลอกใหม่ ผมคิดว่าต้องให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ไม่ใช่ให้ครู หรือโรงเรียนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว ซึ่งปัจจุบันนี้ สพฐ.ได้ให้อำนาจโรงเรียนในการตัดสินใจผลการเรียนอย่างเต็มที่ โดยการประเมินเพื่อจบการศึกษา จะประเมินด้วยเวลาเรียน ทั้งนี้การที่เด็กไม่ได้มาโรงเรียนไม่ได้หมายความว่า เด็กหยุดเรียน เพราะแม้ว่าจะเรียนออนไลน์ สพฐ.ก็นับเวลาเรียน คะแนนสะสม และการทดสอบปลายภาคเรียนการศึกษาที่ไม่ได้มีการบังคับรูปแบบ”เลขาฯ กพฐ.กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |