สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2563 เรียกว่าหนักหนาสาหัสไม่แพ้ครั้งที่ผ่านมา แม้ว่ารอบนี้รัฐบาลจะไม่ได้ใช้ยาแรงโดยการออกมาตรการล็อกดาวน์ แต่จากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงกว่ารอบที่ผ่านมาอย่างมาก กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
และเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ รัฐบาลได้มีการออกมาตรการที่จำเป็น โดยสถานการณ์การระบาดในครั้งนี้ก็ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชนไม่น้อยไปกว่ารอบที่ผ่านมาเลย
จากผลกระทบดังกล่าว ทำให้ล่าสุด “กระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ” ได้ออกมาตรการด้านการเงิน ทั้งที่เป็นมาตรการเดิมที่มีอยู่แล้วและสามารถดำเนินการได้ทันที และมาตรการเพิ่มเติมอื่นๆ ทั้งมาตรการเสริมสภาพคล่อง และมาตรการบรรเทาภาระหนี้สิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่
สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับผู้ประกอบการ โดยธนาคารออมสิน ดำเนินการผ่านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากโควิด-19 สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (ซอฟต์โลนท่องเที่ยว) มีวงเงินคงเหลือ 7.8 พันล้านบาท และโครงการสินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงินคงเหลือ 4.2 พันล้านบาท รวมถึงโครงการสินเชื่อออมสินเอสเอ็มอีมีที่มีวงเงิน 1 พันล้านบาท โดยทุกโครงการเปิดรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิ.ย.2564
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (สินเชื่อ Extra Cash) วงเงินคงเหลือ 5.9 พันล้านบาท รับคำขอสินเชื่อถึง 30 มิ.ย.นี้
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีสู้ภัยโควิด วงเงิน 5 พันล้าน, โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro ไทยสู้ภัยโควิด วงเงิน 5 พันล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการรับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึง 31 ม.ค.นี้ และยังมีโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงินคงเหลือ 5.4 หมื่นล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีคุณสมบัติตามซอฟท์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และซอฟท์โลนท่องเที่ยวของออมสิน อีกทั้งยังมีซอฟต์โลนของ ธปท. วงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังมีวงเงินเหลืออีก 3.7 แสนล้านบาท โดยยังรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 18 เม.ย.2564
ในส่วนของมาตรการเสริมสภาพคล่องสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้น ยังมีโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (สินเชื่อฉุกเฉิน) โดยธนาคารออมสินยังมีวงเงินเหลืออีก 2.7 พันล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีวงเงินเหลือ 1.1 หมื่นล้านบาท โดยโครงการนี้ได้ขยายเวลาคำขอรับสินเชื่อออกไปถึง 30 มิ.ย.นี้ และยังมีโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก โดยออมสินมีวงเงินเหลือ 1 หมื่นล้านบาท, โครงการสินเชื่อพอเพียงเลี้ยงชีพ โดย ธ.ก.ส. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท, โครงการสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท และโครงการสินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ วงเงิน 1 แสนล้านบาท
ขณะที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เองก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือใหม่อีก 4 มาตรการ ภายใต้โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564 โดยลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่เคยหรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และโครงการ ธอส. ช่วยคนไทย ร่วมสร้างชาติ รวมถึงลูกค้าที่ไม่เคยอยู่ร่วมมาตรการ ทั้งลูกค้ารายย่อยและเอสเอ็มอีที่มีสถานะปกติ หรือสถานะ NPL
ด้าน ธปท.เองก็ได้ประสานไปยังสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (ผู้ให้บริการทางการเงิน) เร่งช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเช่นกัน โดยมีทั้งการขยายเวลาให้ลูกหนี้รายย่อยสมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้ (จากเดิมที่ครบกำหนด 31 ธ.ค.63), การให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภทตามความเหมาะสม ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ต่ออายุวงเงินหรือคงวงเงิน เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราตลาด เป็นต้น.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |