โควิดทำหนี้ท่วม


เพิ่มเพื่อน    

 

       การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกที่ 2 ในช่วงต้นปี 2021 นี้สร้างความเจ็บปวดต่อเศรษฐกิจไทยอีกครั้ง เพราะส่งผลต่อการใช้ชีวิต การค้าขาย และในหลายพื้นที่ก็มีคำสั่งกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก

            และผู้ที่ได้รับกระทบในครั้งนี้คงหนีไม่พ้นลูกจ้างและคนหาเช้ากินค่ำที่อาจจะต้องมีรายได้ลดลง หรือบางคนอาจจะถึงขั้นตกงานไม่มีรายได้เลย สิ่งที่น่าห่วงในตอนนี้นอกจากปัญหาปากท้องแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ ภาระหนี้สิน ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตในช่วงนี้ ซึ่งหลายครอบครัวอาจจะต้องใช้เงินกู้มาประทังชีวิต

            แน่นอนเรื่องของหนี้ครัวเรือนกำลังจะกลายมาเป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาลที่จะต้องรีบเข้ามาแก้ไข ก่อนที่ภาวะครอบครัวไทยจะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย

            ล่าสุด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2563 ที่สำรวจจากประชาชนตัวอย่างทั่วประเทศ 1,229 ราย ระหว่างวันที่ 18-27 ธ.ค. ว่า ผู้ตอบมากถึง 90.7% บอกว่ามีหนี้สิน มีเพียง 9.3% ที่บอกไม่มีหนี้ โดยหนี้เฉลี่ยของครัวเรือนสูงถึงครัวเรือนละ 483,950 บาท เพิ่มขึ้น 42.3% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เทียบจากปี 2562 ที่มีมูลหนี้ 340,053 บาท เพราะค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งประชาชนขาดรายได้จากการให้ออกจากงาน และมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น ผ่อนสินค้ามากเกินไป ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น โดยจำนวนหนี้มีภาระผ่อนชำระเฉลี่ยเดือนละ 11,799 บาท

            ภาวะหนี้ท่วมของคนไทยถือเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 12 ปี หรือสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขยายตัวสูงถึง 42% ปีอื่นๆไ ม่เคยสูงแบบนี้มาก่อน และปีนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มทะลุครัวเรือนละ 500,000 บาท ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง มาจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทั้งภาคครัวเรือนและธุรกิจ

            เมื่อแยกประเภทหนี้ 40.3% หนี้บัตรเครดิต, 34.7% หนี้ส่วนบุคคล (อุปโภคบริโภค), 34.6% หนี้ยานพาหนะ, 30.7% หนี้ประกอบธุรกิจ, 28.9% หนี้ที่อยู่อาศัย และ 12.5% หนี้การศึกษา ซึ่งต่างจากปี 62 ที่ผู้ตอบส่วนใหญ่ 38.4% บอกเป็นหนี้ส่วนบุคคล (อุปโภคบริโภค) รองลงมา 32.9% เป็นหนี้ยานพาหนะ ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ 53.2% ระบุว่ามีความสามารถปานกลาง อีก 36.2% มีความสามารถน้อย มีเพียง 10.6% สามารถชำระได้มาก”

            และเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่รายงานหนี้สินครัวเรือน ปรากฏถึงข้อมูลของหนี้สินครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เก็บข้อมูลมา ปัจจุบันอัตราหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 86.6% จากจีดีพี หรือ 13.76 ล้านล้านบาท ด้วยสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ สถานการณ์โควิด และการล็อกดาวน์ เป็นตัวเลขที่สูงกว่ามาเลเซียและสิงคโปร์ที่อยู่ราว 70% และ 50%

            เรื่องหนี้ครัวเรือนเปรียบเสมือนระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ที่จะสร้างปัญหาต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว และส่งผลต่อกำลังซื้อในอนาคต สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาสังคม และปัญหาอาชญากรรมต่างๆ อีกมากมาย      

            สิ่งที่รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนคือ วางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่เอกชนเสนอแนะ, เร่งควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 และหากมีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลต้องเยียวยาผู้มีอาชีพอิสระ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการชำระหนี้และก่อหนี้ครัวเรือนสูง ปรับโครงสร้างหนี้ พักหนี้ ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่สุดตัวลูกหนี้เองก็ต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย และต้องรู้จักการออมเงินที่จะเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ในอนาคต.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"