สังเวย "เคนมผง" เพิ่ม 1 ศพ รวม 7 ราย ผบช.น.ลั่นสาวถึงตัวการใหญ่ แพทย์ รพ.ตำรวจออกผลตรวจสารเสพติดที่ยึดได้ ผงะมี 2 สูตรมรณะ เสพมากตายได้ ด้านหมอ รพ.รามาฯ เผยพบสาร 4 ชนิด เฮโรฮีน-เค-ไอซ์-ยานอนหลับในร่างผู้ป่วยนักเสพ ชี้เป็นการผสมยาเสพติดสูตรใหม่ ฤทธิ์รุนแรงสุดที่เคยมีมา
เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. เปิดเผยถึงกรณีมีผู้เสพยาเสพติด "เคนมผง" จนมีผู้เสียชีวิต 6 รายว่า จากการรวบรวมพยานหลักฐานทำให้ทราบว่า มีการจำหน่ายยาเสพติดในพื้นที่ สน.วัดพระยาไกรและพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนจะนำมาจากไหนยังไม่ทราบ แต่ทราบแล้วว่าผู้ที่นำมาจำหน่ายให้ผู้เสียชีวิตเป็นใคร โดยคาดว่าภายใน 1-2 วันนี้จะสามารถจับกุมตัวได้ เพราะเจอหลักฐานในคดีเพิ่มเติมที่ทำให้พิสูจน์ทราบตัวบุคคลได้แล้ว แต่ขอเวลาตรวจสอบก่อนว่าเป็นรายย่อยหรือรายใหญ่
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย เป็นคนที่อาการสาหัสก่อนหน้านี้ ทำให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 7 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่อยู่ในพื้นที่ สน.วัดพระยาไกรเช่นกัน ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังรอผลการตรวจพิสูจน์โดยละเอียดของส่วนผสมยาเสพติด แต่ส่วนผสมหลักคือเคตามีน และมีสารเสพติดที่ทำให้นอนหลับ รวมถึงมีสารเสพติดประเภทอื่น แต่รายที่พบผลการตรวจพิสูจน์ยังไม่ออกอย่างเป็นทางการ แต่ผลการชันสูตรพลิกศพเบื้องต้นเกิดจากระบบหัวใจล้มเหลว มีสาเหตุมาจากการใช้ยาเสพติด ส่วนการนำมาผสมก็เพื่อให้มีฤทธิ์รุนแรงขึ้นและเพื่อลดต้นทุนให้ได้กำไรมากขึ้น
ด้าน พล.ต.ต.ธนิต จิรนันท์ธวัช นายแพทย์ (สบ 6) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ กล่าวถึงกรณีมีผู้เสียชีวิตจากการเสพยาเคนมผงในหลายพื้นที่ของ กทม.ว่า จากการตรวจสอบสารเสพติดที่ตรวจยึดได้จากที่เกิดเหตุพื้นที่ สน.วัดพระยาไกร พบว่ามีส่วนผสมแตกต่างกัน 2 สูตร โดยสูตรจะไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับผู้ผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตามต้องการ หากปริมาณสารทุกตัวมีมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ สูตรแรกประกอบด้วยเคตามีนและยานอนหลับไดอะซีแพม และสูตรที่สองประกอบด้วย เคตามีน, เฮโรอีน และยาอี ทั้ง 2 สูตรไม่พบส่วนผสมของไอซ์และนมผงตามชื่อสูตรยา
พล.ต.ต.ธนิตกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการเสพสารดังกล่าว เนื่องจากปกติการผลิตสารเสพติดมักมีการเสริมฤทธิ์ของยาเสพติดรุนแรงหลายชนิดที่นำมาผสมกัน โดยยาเคมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เคลิบเคลิ้ม ความดันโลหิตสูงขึ้น ลดอัตราการหายใจ เมื่อเสพในปริมาณมากจะทำให้เสียชีวิตได้ หากมีส่วนผสมของยาอีที่มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจจะทวีความรุนแรงขึ้นอีก ส่วนยานอนหลับเชื่อว่าผู้เสพนำมาผสมเพิ่มเติม เนื่องจากผู้เสพมีภาวะดื้อยา นำยานอนหลับที่หาได้ง่ายมาผสมให้เกิดเป็นตัวยาใหม่ ทั้งนี้ การผสมตัวยาหลายชนิดทำให้ไปกดผลข้างเคียงของตัวยาชนิดอื่น ทำให้ผู้เสพไม่รับรู้ถึงผลข้างเคียงและเสพเพิ่มขึ้นจนถึงขีดอันตราย
"ที่ผ่านมามีการตรวจพบสูตรยาค็อกเทลลักษณะนี้มานานแล้ว มักมีการผสมมากสุด 3 ชนิด ในต่างประเทศนิยมเสพยาค็อกเทลในลักษณะนี้ แต่การเสียชีวิตหมู่ 6 ศพถือว่าพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ล่าสุด สน.วัดพระยาไกรได้ส่งร่างผู้เสียชีวิตรายที่ 7 จากการเสพยาเคนมผงให้สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจพิสูจน์ชันสูตรศพ คาดว่าจะทราบผลเร็วๆ นี้" พล.ต.ต.ธนิตกล่าว
วันเดียวกัน ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี กล่าวถึงการตรวจหาสารเสพติดในร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นนักเสพเคนมผงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ว่า พบในร่างกายมีสารเสพติด 4 ชนิด ประกอบด้วย เฮโรอีน, ยาอีหรือเคตามีน, ไอซ์ และกลุ่มของยานอนหลับ และมีปริมาณของสารไม่เท่ากัน โดยสารเสพติดบางชนิดเสริมฤทธิ์กัน คล้ายกับสูตรยาเสพติดในอดีตที่มีการนำยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิดมาผสมกัน ทำให้ได้ยาเสพติดตัวใหม่ เช่น พวกยาโปร หรือ 4X100 เมื่อสารเสพติดที่ผสมไม่มีความตายตัว ทำให้ผู้ที่ได้รับสารเสพติดนี้เข้าไป ร่างกายของแต่ละคนจึงมีสารเสพติดแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เกิดผลข้างเคียงแตกต่างกัน การรักษาต้องดูว่าในร่างกายมีปริมาณสารเสพติดตัวใดมาก
ศ.นพ.วินัยกล่าวว่า สำหรับพิษของสารเสพติดนี้ ยาอี มีอนุพันธุ์คล้ายแอมเฟตามีนหรือยาบ้า มีผลต่อจิตใจ ร่างกาย สมอง ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน หรือสมองผิดปกติ ส่วนสาเหตุของการเสียชีวิตในกลุ่มนักเสพ คาดว่ามาจากการได้รับปริมาณสารเสพติดจำนวนมาก โดยอาจเป็นกลุ่มเฮโรอีนทำให้กดการหายใจ ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับอันตรายจากยาเสพติดแบบผสมสูตรใหม่นี้ เป็นวัยรุ่นที่มีความอยากรู้อยากลอง และถือเป็นสูตรยาเสพติดที่มีอันตรายมากกว่าสูตรยาอื่นๆ ที่พบมา ถือได้ว่าเป็นสูตรยาเสพติดแบบฮาร์ดคอร์ มีอันตรายถึงชีวิต.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |