ข้อเสนอมุมมองเพื่อไทย ภาวะโควิดระลอกใหม่


เพิ่มเพื่อน    

        ปลายปี 2563 สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่กลับมาระบาดอีกครั้ง ภาวะฝุ่นพิษ PM 2.5 ยังไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ห้วงเวลารอยต่อส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ควรจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข สนุกสนานรื่นเริง แต่ในปีนี้ทุกคนต้องกลับมาตั้งการ์ด ทำเอาผู้คนจิตตก ผลกระทบที่ต้องเร่งเยียวยาดูแล ไม่ใช่มีเพียงแค่สุขภาวะประชาชน แต่ยังรวมไปถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้

            ผู้กองมาร์ค-ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช ประธานคณะอนุกรรมการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในฐานะหัวหน้าศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ พรรคเพื่อไทย ร่วมแลกเปลี่ยน พร้อมนำเสนอหลายมุมมอง

            “หลังจากเกิดโรคโควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแบบไม่เปลี่ยนกลับ โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ทำให้เทรนด์ต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การบริหารประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องให้ความสนใจกับกระแสต่างๆ ต้องมีหูตาที่ไวและกว้างไกล เพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้กับการบริหารประเทศในยุค NOW NORMAL เพื่อให้ประเทศไทยเติบโตและสามารถอยู่รอดได้กับวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน"

                สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักคือ แนวโน้มเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตแข็งแกร่งกว่าที่เคยเป็น จากการที่ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ พรรคเพื่อไทย เก็บสถิติ พบว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นกว่าร้อยละ 30 โดยจำนวนการใช้ต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้นจาก 3.7 ชม. เป็น 4.3 ชม.ต่อวัน การซื้อของผ่านออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า

                พบว่าในปัจจุบันระบบนิเวศธุรกิจเริ่มดีขึ้น เกือบทุกบริษัทสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ คนใช้เงินสดลดลง และหันมาใช้ Digital Banking เพิ่มมากขึ้น โควิด-19 ทำให้ผลกระทบพื้นฐานเปลี่ยนไป ในช่วงที่โควิดระบาดหนัก เราไม่สามารถไปไหนได้ ต้องทำงานที่บ้าน เรียนออนไลน์

                พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนจึงเปลี่ยนไป มีการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์และใช้บริการ Food Delivery กันค่อนข้างมากเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน ดังนั้นรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จึงควรร่วมพัฒนากับภาคเอกชนเพื่อให้ประเทศไทยเราเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านเทคโนโลยี 

                1.รัฐบาลควรจะต้องมีข้อมูลของประชาชนทั้งหมดเก็บในระบบ Cloud เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถประมวลผล และวิเคราะห์เชิงลึกถึงความต้องการของแต่ละพื้นที่ เพราะความต้องการของแต่ละจังหวัด อำเภอ และตำบล นั้นย่อมแตกต่างไม่เหมือนกัน  

                2.ส่งเสริมระบบการช็อปปิ้งผ่านระบบเสมือนจริง (Virtual Mall) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และสามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดีในยุคโควิด-19 ระบาดรอบ 2 เช่น การขาย เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

                3.ส่งเสริมรูปแบบการค้นหาสินค้าและบริการ (Visual Search) ผ่านการใช้ Smartphone จากรูปสิ่งของที่เราอยากทราบข้อมูล โดย upload ภาพเข้าไปสู่ระบบค้นหาและประมวลผล หาผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของนั้นๆ มาให้ดู ซึ่งการทำแบบนี้จะสามารถเพิ่มยอดขายออน์ไลนได้ถึงร้อยละ 30 แม้กระทั่งบริษัท Instagram ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสังคมของคนในโลกออนไลน์ผ่านรูปภาพ วิดีโอและข้อความสั้นๆ ยังเปิดฟีเจอร์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ Shoppable Photo Tag

                ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และ Google ก็กำลังจะปรับเปลี่ยน YouTube จากสื่อเพื่อความบันเทิง เป็นศูนย์กลาง E-Commerce ภายในปีหน้า พ.ศ.2564 หากเราชอบสินค้าใน YouTube จะสามารถกดปุ่มสั่งซื้อได้ทันที

                วัฒนรักษ์บอกอีกว่า “วิกฤติโควิด-19 สร้างโอกาสให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีทั้งในทางการแพทย์และสุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากเติบโตขึ้นกว่า 4 เท่า อาทิเช่น Health Tech รวมถึงการศึกษา EdTech โดยในขณะที่ทั่วโลกขาดบุคลากรทางการแพทย์ ก็ได้มีการหันมาใช้ระบบออนไลน์โทรเวชกรรม (Telemedicine) เพิ่มมากขึ้น

                และจากการที่บริษัท Apple จับมือกับบริษัททางการแพทย์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งประเทศไทยเรานั้นมีชื่อเสียงในด้านการแพทย์เป็นอย่างมาก หากเราดำเนินการส่งเสริมพัฒนาปรับปรุงระบบต่างๆ และทำให้เป็นรัฐบาลดิจิทัลให้ได้ภายใน 5 ปี ก็จะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกพอดี ในขณะที่ Internet Economy ทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

            "รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จึงควรเร่งส่งเสริมธุรกิจด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การขนส่ง อาหาร การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ เพราะธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็ว และจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศไทยควรดึงบริษัทต่างๆ มาร่วมลงทุน อาทิเช่น ติดต่อบริษัท Tesla มาสร้างฐานโรงงานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เพราะนอกจากคนไทยจะได้งานทำแล้ว เรายังสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศไทยได้อีกด้วย"

                เขาระบุด้วยว่า McKinsey บริษัทที่ปรึกษาอันดับ 1 ของโลกเคยกล่าวไว้ว่า ผู้นำที่ดีควรเป็นคนคิดใหญ่และทำเร็ว แต่ในยุคปัจจุบันนี้นั้นผู้นำที่ดีควรจะต้องสามารถถ่ายทอดความรู้และนโยบายให้ได้กับคนทุกคน (Talent Tech and Transformation) ดังนั้นกลยุทธ์ การบริหารประเทศในยุคใหม่นี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จะต้องคำนึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไปให้ได้ 

                สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องทำคือ การสร้างรัฐบาลแห่งความไว้วางใจ (Trust Government) ดังคำปราศรัยของ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า อย่าถามว่าประเทศให้อะไรกับคุณบ้าง แต่จงถามว่าคุณทำอะไรให้ประเทศได้บ้าง เพราะ 6 ปีที่ผ่านมาก็เป็นระยะเวลานานเพียงพอแล้วในการเรียนรู้การบริหารประเทศ

                ซึ่งถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ควรจะต้องแสดงความจริงใจในทำงานร่วมกันกับประชาชนทุกกลุ่ม เพราะถ้าหากไม่รีบแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ต่อไปก็ยากที่จะแก้ไข เพราะเศรษฐกิจไทยนั้นบอบช้ำมานานพอสมควรแล้ว

                ภาวะโควิด-19 เข้ามาเยือนอีกรอบ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความเป็นอยู่ประชาชนลำบาก ทุกฝ่ายต่างเอาใจช่วยให้ผ่านภาวะนี้ไปโดยเร็ว ถือเป็นอีกมุมมองที่รัฐบาล ผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรรับฟังและนำไปพิจารณา.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"