(พญ.นลินี ไพบูลย์)
อันเนื่องมาจากประชากรของช้างที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยมาช้านาน ในปัจจุบันมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง บวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รายได้เพื่อการดูแลช้างในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์สัตว์และการท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเป็นเงาตามตัว ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงดูสัตว์ใหญ่อย่างช้างนั้นค่อนข้างสูง
บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด โดย “หมอต้อย-พญ.นลินี ไพบูลย์” จึงยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งผู้บริหารหญิงแห่งกิฟฟารีนเปิดเผยว่า “การอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย” ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน โดยปัจจุบันจำนวนช้างลดลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็มีต้นทุนการเลี้ยงดูค่อนข้างสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย โดยกิฟฟารีนได้มอบทุนค่าอาหารช้างให้แก่ “สถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง” มาอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวน 80,000 บาทต่อเดือน จนถึงปัจจุบันได้มอบเงินไปแล้วทั้งสิ้น 24 ปี 24 ล้านบาท นับเป็นแบบอย่างขององค์กรเอกชนไทย ที่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็ยังไม่ลืมตอบแทนคืนสู่สังคม
“กิฟฟารีนเป็นบริษัทสัญชาติไทย และเป็นธุรกิจขายตรงที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก มีคนไทยหลายแสนคนที่เข้ามาร่วมเป็นนักธุรกิจ และรวมถึงพนักงานอีกหลายพันคน การดูแลคนและสร้างทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยธรรมชาติคนไทยเป็นคนโอบอ้อมอารีอยู่แล้ว เกิดอะไรขึ้นในสังคมก็จะช่วยกัน และอยากจะตอบแทนสังคมกันอยู่แล้ว เมื่อเรามีกำลัง มีรายได้ที่ดี ต้องมีหัวใจที่รู้จักให้ด้วย เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญและอยากปลูกฝังให้คนของกิฟฟารีนเป็นแบบนั้น ฉะนั้นส่วนหนึ่งที่ช่วยเด็กกำพร้าเรียนหนังสือ หรือมาช่วยศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย คิดว่าในมุมกลับเป็นการสอนให้นักธุรกิจกิฟฟารีนรู้ว่า เมื่อเรามีรายได้ที่ดี มีความแข็งแรงแล้ว เราควรตอบแทนคืนกลับสู่สังคม และคืนกลับสู่ผู้ด้อยโอกาสด้วย"
คุณหมอต้อยเล่าว่า ตอนนั้นเปิดกิฟฟารีนได้ไม่ถึงปี มีโอกาสได้พาลูกมาเที่ยวเชียงใหม่และลำปาง ได้ดูการแสดงช้าง ก็มีช้างแสดงอะไรน่ารักๆ เยอะแยะเลย ตอนนั้นมีช้างอยู่ 38 เชือก พอดีได้มีโอกาสเจอกับเจ้าหน้าที่ดูแลสถาบันคชบาลแห่งชาติในช่วงนั้น ชื่อคุณสวัสดิ์ ประโยคที่มันรู้สึกในใจคือทำไมช้างผอมจัง เลยถามคุณสวัสดิ์ว่า ช้างเล่นเก่งแสดงเก่ง ทำไมช้างถึงผอม คุณสวัสดิ์บอกว่างบประมาณเรามีจำกัด แล้วช้างแต่ละเชือกกินเยอะมากเลยนะครับคุณหมอ เราก็อาจจะมีเงินไม่ค่อยพอ ต้องไปซื้อหญ้า ซื้ออ้อยจากชาวบ้านมาแบ่งๆ กัน เลยถามเขาว่าแล้วงบประมาณเท่าไหร่คุณสวัสดิ์ถึงคิดว่าจะพอ คุณสวัสดิ์บอกว่าถ้าได้ประมาณเดือนละ 80,000 บาท คิดว่าช้างคงจะอิ่มได้ ตอนนั้นเปิดกิฟฟารีนไม่ถึงปี แต่เรามีผลกำไรตั้งแต่เดือนแรกๆ เลยมีความรู้สึกว่าอยากจะช่วย ไม่ได้คิดถึง CSR ยังไม่รู้ด้วยว่า CSR คืออะไร แบรนด์ก็เพิ่งสร้างนะคะ แต่มีความรู้สึกว่าสงสารช้าง แล้วอยากช่วยช้าง ดังนั้นมันมาจากความรู้สึกส่วนตัวและมาจากใจจริงๆ และหนึ่งในช้างเชือกดังที่มีโอกาสรับความเมตตาจาก “หมอต้อย” จนเป็นที่โด่งดังก็คือ “น้องรุ่งเรือง” และ “น้องก้านกล้วย”
สำหรับผู้มีใจบุญที่อยากจะช่วยช้าง และร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย “สถาบันคชบาลแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งได้งบประมาณที่จำกัด ท่านผู้ใจบุญที่อยากจะช่วยง่ายๆ ไม่ได้มีกำลังทรัพย์มาก ก็คือมาเที่ยว มาเที่ยวที่นี่ก็เป็นการสร้างรายได้ แล้วก็มีของที่ระลึกน่ารักๆ ให้เราซื้อกลับไป ส่วนท่านที่ซื้อช้างที่ถูกทารุณมาแล้วมาฝากที่นี่เลี้ยงไว้ ก็ไม่อยากให้ฝากแล้วจากไป ถ้ามีกำลังก็อยากให้เอาเงินมาช่วยส่งเสียเลี้ยงดูเขาบ้าง อย่างน้อยปีละเท่าไหร่ๆ ตามที่ท่านจะมีกำลัง ถ้าจะช่วยใครก็อยากให้ช่วยอย่างถึงที่สุด มันก็อาจจะไปสอดคล้องกับธรรมะของพระพุทธองค์นะคะ ว่าการให้ทานมันจะทอนความโลภ ทอนความเห็นแก่ตัวลงไป นี่คือความจริงที่เราได้พบตลอดมาจนถึงวันนี้ ตอนนี้พนักงานของกิฟฟารีนเองก็รักสัตว์มากทีเดียว มีประชากรสุนัขและแมวอยู่ที่สำนักงานมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่ากันก็ดูแลกันไป นักธุรกิจกิฟฟารีนเป็นคนน่ารักและใจดี ทุกคนมีความสุขที่ได้เห็นว่ารายได้ส่วนหนึ่งที่เป็นผลกำไรของบริษัท จากน้ำพักน้ำแรงของพวกเขาได้กลับมาช่วยสังคมและกลับมาช่วยเด็กกำพร้าให้ได้เรียนหนังสือ ได้กลับมาช่วยสัตว์ และได้กลับมาช่วยองค์กรที่ดูแลคนด้อยโอกาส” พญ.นลินีกล่าวในตอนท้าย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |