พาณิชย์จับมือ'ลาซาด้า-ช้อปปี้-เจดี เซ็นทรัล'ป้องกันการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์


เพิ่มเพื่อน    

 

11 ม.ค. 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ เจ้าของสิทธิ์ และผู้ประกอบการแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำกรอบความร่วมมือการแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของเอ็มโอยู ร่วมกับเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา 20 หน่วยงาน ผู้ประกอบการ 3 แพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ ลาซาด้า , ช้อปปี้ และเจดี เซ็นทรัล และดึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าออนไลน์มาร่วมทำงาน โดยมี H.E. Mr.Pirkka Tapiola เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย Mr.Michael Heath ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

สำหรับสาระสำคัญของเอ็มโอยู มี 2 ส่วน คือ การระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และการเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ค้าออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และช่วยเพิ่มความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อการซื้อขายสินค้าออนไลน์ และยังจะมีส่วนช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และบริการของไทยได้

ทั้งนี้ การให้ความสำคัญกับการค้าออนไลน์ เพราะปัจจุบันการซื้อขายผ่านทางออนไลน์ได้รับความนิยมและเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2562 มีมูลค่าสูงถึง 4.02 ล้านล้านบาท เพิ่ม 6.9% และได้พบปัญหาการละเมิดตามมาด้วย คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีผลการดำเนินการในปี 2563 จับกุมผู้ละเมิดทางอินเทอร์เน็ตได้ 345 คดี ของกลาง 56,349 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องหมายการค้าแบรนด์ดังๆ และตั้งแต่ปี 2561-63 ศาลสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์ละเมิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งสั่งระงับแล้ว 36 คำสั่ง 1,501 URLs

“ผมได้ฝากไปทางเอกอัครราชทูตยุโรป และผู้แทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ที่มาร่วมงาน ขอให้ช่วยสื่อสารไปยังผู้ลงทุนในประเทศของตนเองว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง และนำมาสู่การลงนามเอ็มโอยูร่วมกันของทุกฝ่ายในวันนี้ และเชื่อมั่นว่าการลงนามเอ็มโอยูจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น”นายจุรินทร์กล่าว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้โพสต์ขายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งที่เป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าและสื่อโซเชียลต่างๆ เข่น เฟซบุ๊ก ไอจี ซึ่งสร้างความเสียหายต่อธุรกิจของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก โดยเอ็มโอยูฉบับนี้ จะเป็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อเจ้าของสิทธิ์พบการละเมิดบนอินเทอร์เน็ต สามารถแจ้งไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการกับผู้ค้าที่ขายสินค้าละเมิด หรืออาจถอดออกจากการเป็นผู้ค้าในแพลตฟอร์ม ซึ่งจะช่วยให้การละเมิดลดลงได้ 

“กรมฯ เชื่อมั่นว่าเอ็มโอยูฉบับนี้ จะเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้เข้มแข็ง และจะมีส่วนผลักดันการค้าออนไลน์เติบโตได้ยิ่งขึ้น”นายวุฒิไกรกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"