ก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย  ใส่ใจพลัดตกหกล้ม


เพิ่มเพื่อน    

    ที่สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีการเสวนาเรื่อง “ก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย ใส่ใจพลัดตกหกล้ม” ภายในงานรณรงค์ป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว 

    นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 11 ล้านคน บางจังหวัดมีผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในภาพรวมของประเทศนั้น เราพบว่ามีผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มประมาณปีละ 1-2 พันคน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน ส่วนใหญ่มาจากการลื่นสะดุดหรือก้าวพลาดบนพื้นระดับเดียวกันมากถึงร้อยละ 62 และร้อยละ 6 เกิดจากการตกหรือล้มจากบันได ซึ่งผู้สูงอายุเกินครึ่งยังมีความจำเป็นต้องขึ้น-ลงบันได ซึ่งการพลัดตกหกล้มก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งปัญหาที่พบนั้นก็จะทำให้เกิดปัญหากระดูกหักจนทำให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง กลายเป็นภาระของคนในครอบครัวหรือบุตรหลานในการเฝ้าดูแล หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงต้องมีการให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้เกิดการหกล้ม

    นพ.อัษฎางค์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถานการณ์พลัดตกหกล้มนั้นมี 2 ส่วนคือ 1.ส่วนใหญ่จะพลัดตกหกล้มนอกบ้านประมาณ 60% ดังนั้นในการแก้ปัญหาคือ จะต้องมีสภาพของพื้นรองเท้าที่เหมาะสม สวมใส่ง่าย พื้นมีดอกยาง ไม่ลื่น ไม่ใช่รองเท้าสายคีบ หรือหากสายตาไม่ดีต้องแก้ปัญหาที่สายตา หรือหากมีการทรงตัวไม่ดีอาจจะต้องมีการออกกำลังกายเรื่องของกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น หรือใช้ไม้เท้าในการช่วยพยุง อย่าคิดว่าจะเป็นปมด้อย เพราะนั่นจะเป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา และ 2.พลัดตกหกล้มนอกบ้าน 40% ซึ่งสิ่งสำคัญก็ควรมีการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านให้มีราวจับตามทางต่างๆ เช่น ห้องน้ำ มีแสงสว่างเพียงพอ ซึ่งเรื่องนี้การเคหะแห่งชาติมีคำแนะนำของสถาปนิก ยกตัวอย่างเช่น SCG ที่มาร่วมจัดการรณรงค์ในครั้งนี้ ก็ได้มีการออกแบบว่าควรมีการปรับสภาพในบ้านอย่างไรให้มีความเหมาสม ซึ่งกันไว้ดีกว่า

    “หากยังไม่มีการแก้ปัญหา คิดว่าในการที่สังคมไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จะเกิดความสูญเสียทั้งในเชิงสังคมที่แต่ละบ้านจะต้องสูญเสียบุคคลในครอบครัวไป และในแต่ละปีมีการสูญเสียงบประมาณทางด้านสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ติดเตียงหลังจากเกิดเหตุการณ์ปีละหลายพันล้าน ก็จะส่งผลให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นไปอีก ดังนั้นก็ขอฝากลูกหลานให้มีการเห็นความสำคัญในการปรับสภาพในบ้าน เป็นการป้องกัน ซึ่งใช้งบประมาณลงทุนไม่มาก คุ้มกว่าการรักษา ซึ่งเชื่อว่าทุกคนมีความใกล้ชิดกับโลกออนไลน์ ดังนั้นก็ขอให้เข้าไปดูแบบบ้านของ SCG ได้” นพ.อัษฎางค์กล่าว

    ผู้สื่อข่าวถามว่า หากผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวยากไร้หรืออยู่กันตามลำพัง ไม่มีงบประมาณในการปรับสภาพบ้าน จะมีหน่วยงานรับผิดชอบหรือไม่ นพ.อัษฎางค์กล่าวว่า แต่ละจังหวัดจะมีการร่วมมือกันดูแลในเรื่องนี้อยู่ ทั้ง สธ. กรมกิจการผู้สูงอายุ และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ซึ่งหากมีปัญหาก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่กันลำพัง เราก็มีลักษณะที่ช่วยกันดูแลในชุมชม และเราก็มีทีม อสม.ในแต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลอยู่ด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"