จับตาความรุนแรงฟื้นฟูเหมืองทองเลยซ้ำรอยคลิตี้ นักการเมือง-อิทธิพลทุนท้องถิ่นผสมโรงอื้อ


เพิ่มเพื่อน    

10 ม.ค.64- มีความเคลื่อนไหวในพื้นที่ หมู่บ้านนาหนองบง ต.เขาหลวง อ.วันสะพุง จังหวัดเลย กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน จังหวัดเลยได้จัดงานเสวนาหัวข้อ จับตาความรุนแรงรอบใหม่ฟื้นฟูเหมืองทองคำจังหวัดเลย โดยมี  นางวิรอน รุจิไชยวัฒน์ และ นส  รจนา กองแสน ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6หมู่บ้าน จังหวัดเลย น.ส.ชฎาพร ชินบุตร เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชน  เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้

ทั้งนี้ นางวิรอน กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2549 ที่เหมืองเริ่มเปิดดำเนินการ สิ่งแรกที่เรารับรู้คือ เรามีงานทำ เรามีเงินเดือน แต่สิ่งรอบตัวเริ่มเปลี่ยนแปลง มีการขุดระเบิดภูเขาไป2 ลูก จนมาปี 2550 เริ่มมีฝุ่นฟุ้งกระจายในหมู่บ้าน กลางคืนไม่ได้หลับไม่ได้นอนมีรถเครื่องจักทำงาน  จากนั้นคนในหมู่บ้านก็เลยมาพูดคุยกัน เพราะสภาพแวดล้อมเริ่มเปลี่ยนแปลงหนักขึ้น ปลาในริมห้วยเริ่มตาย ต้นไม้พืชผักเริ่มเปลี่ยนสี จนมาปี2551 สำนักงานสุขภาพ จ.เลย  ได้มีการประกาศเตือนห้ามชาวบ้านใช้น้ำในท้องถิ่นเพื่อดื่มหรือประกอบอาหาร มาปี 2552 ชาวบ้านเริ่มป่วย และเรียกร้องให้มีการตรวจสุขภาพ และจากการที่สำนักงานสุขภาพ จ.เลยทำการตรวจเลือดชาวบ้าน จำนวน 279 คน ก็พบว่าชาวบ้าน 54 คนมีระดับสารไซยาไนด์ในร่างกายสูงกว่าปกติ และปี2553 สาธารณสุขจังหวัดได้มาตรวจเลือดชาวบ้านจาก 6 หมู่บ้านโดยรอบ เหมือง พบสารไซยาไนด์ ปรอท ตะกั่ว ในเลือดทั้งเกินและไม่เกินค่ามาตรฐาน หลังจากนั้นชาวบ้านก็มีเรียกร้องลุกขึ้นมาต่อสู้เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างสาหัส

นางวิรอน กล่าวต่อว่า เราเรียกร้องไปยังภาครัฐตั้งแต่ปี 2555 และทางเหมืองก็มีความพยายามที่จะขยายพื้นที่ เราก็คัดค้านอีก หลังต่อสู้คัดค้านจนถึงปี 2556 มีการใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วม 1 พันนาย มาปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้าน เข้าร่วมแสดงเวทีความคิดเห็น ที่วัดโพนทอง ต.นาโป่ง หลังจากนั้นมีการฟ้องร้องชาวบ้าน จำนวน33 คนทั้งคดีแพ่งและอาญา และหนักสุดคือเมื่อปี 2557 มีกองกำลังติดอาวุธร่วม 300 คนจับชาวบ้านมัดมือ ทำร้ายร่างกาย และทำลายกำแพงเพื่อขนสินแร่ออกจากพื้นที่  จากเหตุการณ์นี้เราบอบช้ำมามากพอแล้ว แสดงให้เห็นถึงภาครัฐยังไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ส่วนแผนฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบ เรายืนยันว่าเราไม่อยากให้มีเหมืองในชุมชนอีกต่อไป ที่เราสู้จนเหมืองปิด เราอยากให้มีการฟื้นฟูธรรมชาติ โดยให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะคนในพื้นที่จะรู้ว่าอะไรมีประโยชน์ต่อชุมชนมากที่สุด

ขณะที่ น.ส.รจนา กล่าวว่า หลังมีการเรียกร้องปิดเหมืองของชาวบ้าน ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า เราถูกคุกคามมาโดยตลอด มีการต่อสู้จนได้คดีเพิ่มมา  9 คดี ที่ส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวข้อพิพาทระหว่างเหมืองกับชาวบ้าน เกี่ยวกับการเอาสินแร่ออกมา มาปี 2559-2560 มีการขออนุญาตเพื่อที่จำเหมืองแร่ต่อ เราต่อสู้ที่อบต.หนักมาก เนื่องจากที่อบต.ของเรามีโซนบนและโซนล่าง โดยโซนบนได้รับผลกระทบน้อยกว่าโซนล่าง แต่กลับมีเสียงมากสุด การโหวตจึงแพ้ทุกครั้ง จากตรงนี้เราไม่ท้อ เราก็สู้ต่อ จนได้คดีเพิ่มมากว่า 20 คดี เรียกว่าเราไปศาลกันเป็นว่าเล่น เมื่อเรื่องถึงศาลเราชนะและทำการฟ้องกลับปี 2561และศาลก็พิพากษาว่า ให้บริษัทเหมืองฟื้นฟูเยียวยาชาวบ้าน จำนวน 150 ล้านบาท แต่ในที่สุดบริษัทเหมืองก็ล้มละลาย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินเยียวยาในส่วนนี้มาจากใคร  ส่วนการฟื้นฟู เรามีหมุดหมายเดียวกันของชาวบ้านคือต้องไม่มีเหมืองในพื้นที่ รวมทั้งภาครัฐเองต้องเปิดให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในส่วนของข้อกฎหมายก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่กฎหมายต้องทำการคุ้มครองประชาชนจริงๆ เป็นไปได้หรือไม่ที่ต้องมีการแก้กฎหมาย ที่เหมืองปิด เป็นหน้าที่รัฐต้องฟื้นฟู ที่ผ่านมาภาคประชาชนมีส่วนร่วมยากมาก ทำไมกฎหมายไม่เปิดช่องให้เรา  อยากให้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อความศรัทธาในกฎหมาย

ขณะที่ น.ส.ชฎาพร กล่าวว่า ภายหลังจากที่บริษัททุ่งคำจำกัดโดนพิพากษาจากศาลจังหวัดเลยให้มีสถานะล้มละลายและให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในปีพ.ศ. 2562 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์จากกรมบังคับคดีได้ดำเนินการตีตรายึดทรัพย์เพื่อที่จะนำสินทรัพย์ไปขายทอดตลาด ซึ่งตัวสินทรัพย์ของบริษัทมีสองส่วน คือ สินแร่ในถุงบิ๊กแบ็ค 190 ถุง และส่วนที่สองคือโรงงานอาคารสำนักงานต่าง ๆ ในเบื้องต้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จากกรมบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดสินแร่จำนวน 190 ถุง ส่วนตัวโรงงานยังติดเงื่อนไขว่าต้องมีการฟื้นฟูซึ่งยังไม่มีข้อกำหนดของ กพร.ออกมา

 แต่สถานการณ์ก่อนการประมูลขายสินแร่รอบแรกมีความผิดปกติไม่ชอบมาพากลในพื้นที่มาโดยตลอด โดยในปี พ.ศ.2562 จนถึงกลางปี 2563  ซึ่งจะมีชายที่บางคนเรียกว่าพ่อค้าที่สนใจสินทรัพย์ต่าง ๆ มาขอเจรจาพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยไม่เข้ากระบวนการประมูลสินทรัพย์ของกรมบังคับคดีจึงมาเจรจากับชาวบ้านตลอดเวลา โดยอ้างว่าตัวเองเคลียร์ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เคลียร์กับบริษัทแล้ว เคลียร์อะไรต่าง ๆ แล้วแต่ชาวบ้านก็พยายามเฝ้าระวังเรื่องนี้จนนำไปสู่การเฝ้าเวรยามกลางปี 62 เนื่องจากมีการลักขโมยทรัพย์สินเกิดขึ้น

น.ส.ชฎาพร กล่าวต่อว่า ต่อมาบริษัทแห่งหนึ่งเข้ามาประมูลสินแร่ได้ในรอบที่สาม ซึ่งก็ได้รับสินแร่ 190 ถุง และบริษัทไปดำเนินการกับอุตสาหกรรมและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการติดต่อมาที่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดว่าอยากขอเอารถเทเลอร์เข้าไปขนสินแร่ในวันที่ 4 ม.ค.นี้ แต่ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเกิดขึ้นในวันที่ 2 มกราคม ได้มีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งซึ่งหนึ่งในนั้นอ้างตัวว่าเป็นทนายของบริษัททุ่งคำจำกัด เข้าไปหาชาวบ้านและบอกว่า จะเข้ามาทำการฟื้นฟูพื้นที่ขอเข้าไปในพื้นที่เหมืองเพื่อสำรวจพื้นที่ในการฟื้นฟู แต่ชาวบ้านที่อยู่บริเวณประตูแดง ซึ่งเป็นที่ดินที่ชาวบ้านร่วมหุ้นซื้อมา ไม่ยอมให้เข้าไป เนื่องจากมีท่าทีไม่น่าไว้ใจ โดยชาวบ้านระบุว่า ชายกลุ่มนี้เป็นทหารมาจากค่ายหนึ่ง  มีการขับรถตระเวนดูรอบ 6 หมู่บ้านและเช็คชาวบ้านที่มาเฝ้าเวรยามอยู่ตลอดว่ามีกี่คน ซึ่งชายกลุ่มนี้มีท่าทีที่ไม่อยากให้บริษัทที่ประมูลสินแร่ได้ เข้าไปขนสินแร่ หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินบนเหมือง ซึ่งชาวบ้านก็กังวลว่าสถานการณ์ไม่ปกติและเกรงว่าจะเกิดการปะทะขึ้นในหมู่บ้าน

เธอระบุว่า ทั้งนี้ตนเองได้วิเคราะห์สถานการณ์ ว่าความรุนแรงระลอกใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้าน จะเกิดขึ้นจากคน สามกลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มผู้มีอิทธิพลในจ.เลย ชื่อย่อ ทสว. ซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ของที่นี่ มีทั้งนักการเมืองในท้องถิ่น รวมทั้งมีส.ส.ในสภาด้วย  ความรุนแรงนี้ที่จะเกิดขึ้นใหม่อาจจะโยงใยกับตัวละครการสังหารนาย ประเวียน บุญหนัก ที่ออกมาคัดค้านโรงโม่หินในอดีต รวมถึงเราต้องไปดูว่าใครมีบทบาทสำคัญในการผลักดันออกใบอนุญาตให้จัดทำเหมืองทองคำของบริษัท ทุ่งคำด้วย กลุ่มที่สอง คือบทบาทของบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ที่เป็นบริษัทแม่ของบริษัททุ่งคำ ตอนนี้ก็เป็นทั้งเจ้าหนี้ของบริษัททุ่งคำด้วย  หากมีความรุนแรงในพื้นที่  ก็ต้องมีการถามหาความรับผิดชอบของบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ด้วย

และกลุ่มที่3 คือบริษัทที่มาประมูลสินแร่ได้ที่อาจจะมีความขัดแย้งกับตัวบริษัทเองที่มีกระบวนการฮั้วประมูลเกิดขึ้นจากการขายสินแร่ในพื้นที่ เพราะว่าก่อนหน้านี้เราเคยได้ยินว่าในหลายๆ พื้นที่ที่การประมูลก็จะมีการฮั้วประมูล ซึ่งจากที่เคยได้ยินข่าวลือในพื้นที่เราก็ได้ยินจากชาวบ้านว่ามีการพูดคุยของพ่อค้าก่อนที่จะมีการมาประมูลสินแร่ ซึ่งพ่อค้ามีการไปตกลงกับว่าจะไปประมูลรอบสุดท้ายคือรอบที่ 4 ในวันที่ 15 มกราคม  แต่เขาไม่คิดว่าบริษัทนี้จะมาประมูลในรอบที่ 3 เป็นบริษัททุกบริษัทที่เป็นกลุ่มอิทธิพลที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงในรอบนี้ของพื้นที่ซึ่งเป็นความเสี่ยงของชาวบ้านที่ต้องแบกรับอยู่ตลอดเวลา โดยที่กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะได้รับประโยชน์จากการที่ชาวบ้านเฝ้าเวรยามอยู่นี้คือคณะกรรมการเจ้าหนี้ที่แทบจะไม่ได้  มารับผิดชอบชาวบ้านที่มารับความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา

น.ส.ชฎาพร กล่าวด้วยว่า อย่างเจ้าหนี้ ที่ประกอบไปด้วย ดอยซ์แบงก์ธนาคารประเทศเยอรมัน รวมทั้งหน่วยงานรัฐของไทย ที่ประกอบด้วย สปก.กพร.กรมสรรพากร ก็ไม่เคยมาเหลียวแลชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านต้องแบกรับภาระความเสี่ยง และอาจจะรับเงินเป็นลำดับสุดท้าย ในฐานะเจ้าหน้าหนี้   แต่เจ้าหนี้ที่เป็นหน่วยงานอาจจะได้รับเงินก่อนไม่เท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่อยู่กรมบังคับคดีภายใต้กระทรวงยุติธรรม ก็ไม่เคยมาแสดงความรับผิดชอบการดำเนินการในพื้นที่ โดยเอางานของตัวเองมาให้ชาวบ้านรับผิดชอบแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งอันนี้ไม่ถูกต้องและไม่ควรปฏิบัติในฐานะที่ตัวเองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เกิดเป็นความกดทับและเหลื่อมล้ำชัดเจน
ซึ่งสถานการณ์นี้เองทำให้ความปลอดภัยของชาวบ้านในพื้นที่อยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงเหมือนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคน 57 ที่ชาวบ้านถูกนายทหาร สองพ่อลูกนำกลุ่มชายฉกรรจ์ 200 คนบุกมาทำร้ายชาวบ้านเพื่อทำการขนสินแร่ออกจากพื้นที่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นทหารจากค่ายลพบุรี แต่ครั้งนี้ก็มีความเป็นไปได้ว่าเข้าจะไปจ้างทหารมาจากค่ายอื่น

ขณะที่นายเลิศศักดิ์ กล่าวว่า การทำเหมืองจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ช่วง คือ ช่วงที่ขอใบอนุญาตทำเหมือง ช่วงที่ได้รับในอนุญาตทำเหมือง และช่วงหลังจากทำเหมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องทำการฟื้นฟูตามหลักสากล ซึ่งช่วงระหว่างก่อนการทำเหมืองกับช่วงการทำเหมืองเป็นสองช่วงที่สำคัญที่จะนำความขัดแย้งความรุนแรงความเห็นไม่ลงรอยกันในชุมชนมามากมาย ส่วนช่วงสุดท้ายคือช่วงหลังจากใบประทานบัตรหมดและไม่มีการทำเหมืองแล้วที่จะต้องฟื้นฟูทุกสิ่งทุกอย่างกลับคืนมาสู่ชุมชนเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่จะต้องฟื้นฟูทุกสิ่งทุกอย่างกลับมา ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านนาหนองบงได้คิดและจัดทำแผนฟื้นฟูภาคประชาชนขึ้นมาเพราะเห็นข้อจำกัดของหน่วยงานรัฐและข้อจำกัดของผู้ประกอบการและกฏหมายก็ไม่สามารถบังคับให้หน่วยงานเล่านี้มีมาตรการที่ชัดเจนว่าจะต้องฟื้นฟูเหมืองอย่างไรและจะมีบทลงโทษหรือไม่ถ้าไม่ถ้าไม่มีการทำการฟื้นฟู

 นายเลิศศักดิ์ กล่าวว่า ชาวบ้านนาหนองบงจึงได้พยายามผลักดันแผนฟื้นฟูภาคประชาชนที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งในแผนนี้ได้ระบุชัดเจนว่าสิ่งแรกที่จะต้องทำในการฟื้นฟูเหมืองคือการฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  โดยต้องเริ่มการฟื้นฟูความขัดแย้งของชาวบ้านในพื้นที่ตลอด10 ปี ที่ผ่านมา ก่อนที่จะฟื้นฟูทางด้านเทคนิควิชาการ การฟื้นฟูด้านสังคมจะต้องมาก่อน   หากนำกรณีเหมืองทองจ.เลย ไปเปรียบเทียบกับการทำเหมืองที่หมู่บ้านคลิตี้ ในส่วนของการฟื้นฟู   ตัวละครที่เกี่ยวข้องกับการได้รับประโยชน์ อาทิ  ผู้รับเหมา  พวกนายทุนท้องถิ่น ที่มีธุรกิจถมดิน ซึ่งเราจะเห็นชัดเจนว่า ตัวละครที่เคยทำเหมืองมาก่อนก็มาเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเหมืองด้วย เพราะไปรับช่วงจากผู้ที่ได้รับการประมูลฟื้นฟูเหมือง ซึ่งนายทุนเป็นกลุ่มเดียวกัน ดังนั้นอุปสรรคขั้นแรกในการฟื้นฟู ถ้าเราไม่กำจัดอิทธิพลนี้ทิ้งไปก็ไม่สามารถฟื้นฟูเหมืองให้สำเร็จได้

 นายเลิศศักดิ์ ระบุด้วยว่า กรณีของเหมืองทองจ.เลย เป็นที่น่าสังเกตว่า บ.ทุ่งคำจำกัด ที่จะต้องเข้ามามีส่วนในการฟื้นฟู ตามคำสั่ง ก่อนหน้านี้ ไม่เคยปรากฏตัวพอศาลมีคำสั่งให้บริษัททุ่งคำจำกัดเป็นบริษัทล้มละลายก็หายไปเลยไม่ต้องรับผิดชอบไม่ต้องชดใช้อะไรทั้งสิ้น แต่วันนี้พอให้มีการเปิดประมูลสินแร่ ก็ได้มีผู้ประมูลรายหนึ่ง ประมูลสินแร่จำนวน  190 ถุงไปได้ กลับมีการปราฏตัวขึ้นของกลุ่มชายฉกรรจ์ที่อ้างว่าเป็นคนของบริษัททุ่งคำ คำถามคือบริษัททุ่งคำกำลังจะทำอะไร มันเป็นการแย่งชิงอะไรบางอย่างไรหรือไม่ และรูปแบบของการแย่งชิงในครั้งนี้มันคล้ายกับความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นกับบ้านเมื่อปีพ.ศ.2557 ที่มีการนำทหารเข้ามาแล้วเริ่มข่มขู่คุกคามชาวบ้าน  นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือยังมีทรัพย์สินนอกรายการอีกมากมาย ที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ยังขึ้นทะเบียนบัญชีทรัพย์สิน ตนเองอยากถามไปถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยว่า ทำไมถึงยังไม่ขึ้นทะเบียนบัญชี ทรัพย์สินที่อยู่นอกเหนือจากสินแร่ 190 ถุง จะไปเห็นว่ามันเป็นอิฐหินดินทรายธรรมดาได้อย่างไรเพราะมันเป็นสินแร่ทั้งนั้น นี่คือความรับผิดชอบโดยตรงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"