ตั้งกรรมการ4ชุด "วิจัยกัญชา"ต้นน้ำ-ปลายน้ำ"เพื่อประโยชน์การแพทย์


เพิ่มเพื่อน    

ประชุมคณะกรรมการการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ตั้ง 4 ชุด  ศึกษาวิจัยว่ารักษาโรคชนิดใดได้ ทั้งมะเร็ง อัลไซเมอร์ ออทิสติก  ลมชัก  และจะพัฒนาครบวงจรตั้งแต่สายพันธุ์ การปลูก การสกัด ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  พร้อมอนุญาตม.รังสิต วิจัยในสัตว์ แต่ยังไม่ถึงขั้นทดลองในคน

    วันที่ 10 พ.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดย นพ. โสภณ เมฆธน ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.)ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาฯ กล่าวว่า  ในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  อย่างครบวงจร ตั้งแต่ 1. การพัฒนาสายพันธ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เคยพัฒนาของกัญชงมาเป็นคณะกรรมการ 2. การสกัด โดยอภ. สวทช กรมวิทยาศาตสตร์การแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และเภสัชศาตร์มหาวิทยาลัยรังสิต  และ 3. การนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทย ซึ่งจะร่วมกันระหว่างกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย นอกจากนี้ก็จะ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองมาช่วยด้วย  4. อย.จะทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ  รวมทั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)มาช่วยวางระบบเพื่อบูรณาการ และ 5. อย. จะเป็นผู้ดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ ว่าจะออกมารูปแบบใดและจะอนุญาตให้ใช้อย่างไร 


    นพ. โสภณ  กล่าวว่า ส่วนการพิจารณาตั้งแต่การสกัดและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ได้มอบหมายให้ผอ.อภ.เป็นประธานในคณะ 1 และ2 ในการสกัด  อธิบดีกรมการแพทย์เป็นประธานคณะที่ 3 พิจารณาเรื่องการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และเลขาอย.เป็นประธานคณะที่ 4 ในเรื่องการควบคุมแนวทางต่างๆ ร่วมกับ ป.ป.ส ซึ่งการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทยมีโรคอะไรที่ใช้กัญชาในการรักษาได้บ้าง และควรมีสัดส่วนของสารสำคัญ THC และ CBD เท่าไร  โดยส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะใช้กันในเรื่องของลมชัก พากินสันต์ การเจ็บปวดเรื้อรัง  ที่เกิดจากโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และอาจจะมีการวิจัยต่อในเรื่องของอัลไซเมอร์ และมะเร็งชนิดต่างๆ รวมไปถึงออทิสติกด้วย


    นพ. โสภณ  กล่าวอีกว่า ส่วนการพิจารณาในแง่กฎหมายนั้นจะมองในประเด็น คือ 1.พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2522สามารถอนุญาติปลูก การสกัดได้  และทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ ยกเว้นการเสพหรือใช้ในคนไม่ได้ 2. ในอนาคตจะมีการปปรับปรุงกฎหมายยาเสพติด  คาดว่าจะเข้า ครม. ในสัปดาห์หน้า และมีการเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ 180 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหากมีการพิจารณาข้อกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยในคนได้


    ส่วนเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์นั้นก็ได้มีการพูดคุยกันว่า บางแห่ง บางจังหวัดจะขอไปปลูกเลยได้หรือไม่ โดยขณะนี้ได้มองพื้นที่ไว้ในตึกของ อภ. ที่พระราม6  1,100 ตารางเมตร ปลูกเป็นระบบปิด คาดว่าจะใช้กัญชาแห้ง  500 กก.ต่อปี เพื่อสกัดออกมาเป็นน้ำยากัญชา ประเมินว่าผู้ป่วย1 คนต่อกัญชา 1กก.  จะดำเนินการหลังกฏหมายอนุมัติ   โดยกระบวนการทั้งหาดเบื้องต้นคาดว่าจะใช้ประมาณ 10-20 ล้านบาท


    "อย่างไรก็ตาม  ในขณะนี้ก็คุยกันในเรื่องสายพันธ์ว่าจะทำอย่างไร โดยทาง ม.รังสิตก็ได้มีการขอของกลาง โดยในช่วงแรกเราก็ต้องมองว่าของกลางทำได้หรือไม่ อาจต้องเดินสำรวจตามรรมชาติได้หรือไม่เพื่อเอาสายพันธุ์ไทย เพราะถือว่าเป็นสายพันธ์ที่ดีที่สุดในโลก หรือเอาสายพันธ์จากต่างๆประเทศ เพื่อมาพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องแล้วแต่ทีมวิจัยที่จะไปดำเนินการ โดยจะมีการประชุมภายในกันเร็วๆนี้ ทั้งนี้หากหน่วยงานใดต้องการศึกษาวิจัยก็สามารถร้องขอมาได้ ซึ่งก็อยากทำให้เร็วที่สุดเพราะหาก ฏหมายทำได้ก็อยากนำมาใช้วิจัยในมนุษย์ได้เลย โดย ก็ต้องประมาณการว่าจะใช้ระยะเวลากี่เดือน” นพ.โสภณ กล่าว.


    นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการอย.  กล่าวว่า ในการกำกับดูแลของ อย. นั้นก็ต้องกำกับดูแลตั้งแต่ต้นทางการขออนุญาตการปลูก การควบคุมการกระจายไม่ให้หลุดลอดไป และหากใช้สกัดก็ต้องนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ร้องของจริงๆ ไม่ใช่ไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด โดยในช่วงแรกยังใช้วิจัยในมนุษย์ไม่ได้ แต่สามารถวิจัยและทดลองในสัตว์ได้  โดยในขณะนี้ได้มีการอนุญาตให้ มหาวิทยาลัยรังสิตนำไปสกัด และวิจัยในสัตว์ รวมผลิตเป็นยาออกมา แต่ยังไม่สามารถทดลองในคนได้


    ผศ.วิเชียร กีรตินิจกาล นักปรับปรุงพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ช่วงแรกอาจจะมีการนำเข้ากัญชา 20 สายพันธุ์ จากต่างประเทศ เช่น แคนาดา แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีการนำเข้าเท่าไร เพราะหากซื้อเมล็ดพันธ์เข้ามาจำนวนมากก็จะเป็นการสิ้นเปลือง โดยจะนำเข้ามาเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆและปรับปรุงสายพันธ์เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะการนำเข้ามาบางทีสายพันธ์มีการปรับตัวได้ไม่ดี ต้องมาทำระบบรองรับอีก อาจจะมีการปรับเป็นสายพันธ์ลูกผสมกับของไทยก็ได้ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนได้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"