เปิดผลประเมินโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดลดปัญหาตกหล่น30%


เพิ่มเพื่อน    

(อ.สุนี ไชยรส อธิบาย)

        อ.สุนี ไชยรส นำเครือข่ายภาคประชาสังคม 119 องค์กรเจาะลึกประเมินผลโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ชี้หากใช้ระบบคัดกรองทำให้เด็กยากจนจริงๆ ตกหล่นเข้าไม่ถึงสิทธิจำนวนมาก สุดใจ พรหมเกิดผจก.แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ผอ.โครงการหนังสือฝึกอ่าน ชี้เราต้องสร้างสังคมเกื้อกูลเอื้อเฟื้อต่อกัน

      โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเริ่มตั้งแต่ 31 มี.ค.2558 ดูแลเด็กตั้งแต่ 0-1 ปี เดือนละ 400 บาท ปี 2559 รัฐบาลขยับขึ้นให้เด็กอายุ 0-3 ปี เพิ่มเป็นเดือนละ 600 บาท แต่มีเงื่อนไขเรื่องระบบคัดกรอง และพบว่ามีเด็กตกหล่น เด็กยากจน ทุกรอบจะพบว่ามีเด็กตกหล่น 30 คน เพราะการตั้งเงื่อนไขเรื่องรายได้เฉลี่ยครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน ในขณะที่ระบบคัดกรองมีความซับซ้อนอย่างมาก แม้แต่คนจนจริงๆ ก็ตกหล่น ทั้งๆ ที่เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดควรเป็นสิทธิของเด็ก คือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้รัฐได้รับประโยชน์สูงสุด และเด็กก็ได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน คือสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าควรจะได้ตั้งแต่ 0-6 ปี เดือนละ 600 บาท หากใช้ระบบคัดกรองต่อไป เด็กจะตกหล่นเข้าไม่ถึงสิทธิอีกจำนวนมาก ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวมีงานวิจัยหลายชิ้นบอกถึงการตกหล่นของเด็ก และมีจำนวนไม่น้อยที่ควรได้รับเงินครั้งนี้โดยถือเป็นสวัสดิการพื้นฐาน

(อ.สุนี ไชยรส)

      อ.สุนี ไชยรส รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม กลุ่มผู้หญิงธรรมศาสตร์ปี 2514 อดีต ส.ส.ร.หนองบัวลำภู เป็นหัวหน้าทีม นำประชุมกลุ่มเครือข่ายการขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า โดยการขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคม เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้หญิง เครือข่ายภาคีภาคตะวันออก เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายชุมชน เครือข่ายแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ กลุ่มสลัม 4 ภาค รวม 119 องค์กร ร่วมกันสรุปจากการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า และประเมินผลเพื่อจะก้าวเดินต่อไปข้างหน้า เพื่อทำงานเกี่ยวพันกับการสร้างสวัสดิการอื่นๆ เพื่อให้เด็กเกิดความเท่าเทียมกัน

      เครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมกันผลักดันเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า ปี 2558 ให้เฉพาะเด็กยากจน ครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นยากจน 3,000 บาท/เดือน ครม.อนุมัติให้ 400 บาท/เดือน นำร่องเด็กอายุ 0-1 ปี ปี 2559 ครม.ขยายช่วงอายุ 0-3 ปี คนละ 600 บาท/เดือน ปี 2560 ครม.ให้ครอบครัวที่อยู่ในระบบประกันสังคมรับเงินอุดหนุนควบคู่กับเงินสงเคราะห์บุตรได้ แต่ในเงื่อนไขรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทเช่นกัน

      จากงานวิจัยของ TDRI กรมกิจการเด็กและเยาวชน องค์การ UNICEF มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบข้อมูลที่สอดคล้องต้องกันว่า ยังมีเด็กยากจนที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการและตกหล่นร้อยละ 30 แม้ว่าจะมีเป้าหมายให้เด็กยากจนทุกคนเข้าถึงสวัสดิการ 100% ก็ตาม และงานวิจัยยังพบว่าเด็กแรกเกิดในครัวเรือนที่ได้รับเงินอุดหนุนมีภาวะโภชนาการที่ดีกว่าเด็กจากครอบครัวที่ไม่ได้รับเงิน

      ทารกแรกเกิดและเด็กเล็กในครัวเรือนที่ได้รับเงินอุดหนุนเข้าถึงบริการหลังคลอดมากกว่า แม้ในครัวเรือนที่ได้รับเงินอุดหนุน มีอำนาจในการควบคุมรายได้ตัวเองและมีสิทธิตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับการดูแลบุตรมากกว่า เครือข่ายภาคประชาสังคมพบว่ายังมีเด็กยากจนที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการและมีการตกหล่นยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง รัฐกำหนดเกณฑ์ของคุณสมบัติจนกลายเป็นการกีดกัน เช่น ลูกจ้างในราชการหรือรัฐวิสาหกิจไม่มีสวัสดิการในระบบ และไม่อยู่ในระบบประกันสังคม เข้าไม่ถึงสิทธิ การได้รับเงินอุดหนุนที่ไม่สม่ำเสมอ ขาดช่วง แม้จะมีมติ ครม.ครอบคลุมผู้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดของผู้อยู่ในประกันสังคม และเจ้าหน้าที่คิดว่าไม่มีสิทธิ ส่งผลคือไม่มีการตรวจสอบรายได้แม้อยู่ในเกณฑ์ยากจน

(อ.สุนี ไชยรส และสุดใจ พรหมเกิด)

 

      ภายใต้ระบบของเงินถ้วนหน้า ยิ่งมีการสำรวจลึกลงไปก็จะโฟกัสเด็กตกหล่นเยอะมาก โดยเฉพาะชีวิตจริงของเด็กเล็กที่เป็นลูกของลูกจ้างของระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ มีปัญหาฐานการเงินที่ยุ่งเหยิง ค่าใช้จ่ายในชีวิตสูงมาก สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมสูงมาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ยิ่งมีระบบคัดกรอง เจาะจง มีค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการที่สูงมาก ไม่ใช่แค่ค่าตกหล่น เราใช้ตัวเลข 2.5-11% ถ้าใช้อย่างเจาะจง ความเคลื่อนไหวความเหลื่อมล้ำสูงมาก เงินอุดหนุนเด็กเล็กมีความชอบธรรมอย่างสูง เป็นสิทธิของเด็ก

      ความหวังของเด็กเล็กไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของครอบครัวเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของสังคมที่จะต้องมีสวัสดิการจากจุดเริ่มต้น 30 องค์กรประชุมกันในระยะแรก จนปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 119 องค์กร “การถอดบทเรียนจาก 119 องค์กร สหภาพแรงงาน แรงงานนอกระบบ องค์กรผู้หญิง องค์กรชาติพันธุ์ องค์กรคนพิการ มุสลิม องค์กรต้นกล้ามุกดาหาร มีการเคลื่อนไหว โครงการวิจัย การมีแนวร่วม การสร้างกระแสเชิงลึกเชิงกว้างตลอดเวลา มีการนำเสนอเรื่องราวไปขับเคลื่อนต่อในแต่ละเวที เพื่อยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี แต่เดิมมีเงินสนับสนุนจาก UNICEF แต่ช่วงหลังเงินจาก UNICEF หยุดลง ตอนนี้ใครช่วยอะไรได้ก็ช่วยกันสานต่อไปทำ มีกิจกรรมเกิดขึ้นพอสมควร อย่างที่เรียกว่าช่วยกันลงขันลงแรง

      “พวกหนูขอของขวัญวันเด็ก เป็นเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปี” เงินจำนวนนี้เด็กๆ ได้รับสมัยที่อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เคยมีการตั้งคำถามกับพ่อเด็กที่ยากจนว่าควรจะให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กกับเด็กที่มีพ่อแม่ร่ำรวยหรือไม่ พ่อเด็กตอบอย่างใจกว้างว่าให้เด็กไปเถอะ เพราะเป็นสิทธิของเด็กที่เขาควรจะได้รับ เพราะคนรวยบางครั้งก็อาจจะกลายเป็นคนจนในภายหลังก็ได้ เด็กทุกคนควรได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน

      สสส.เห็นถึงภารกิจโครงการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (มิ.ย.-ธ.ค.) ยุทธศาสตร์ในการขยายสื่อมีพลังมากขึ้น โดยเฉพาะบทบาทของเพจ Toolmorrow ขยายแนวร่วมจัดเวที 4 ภาค ด้วยงบประมาณน้อยก็จริง แต่นำเสนอข้อเท็จจริงลงในพื้นที่ มีการ update ข้อมูลใหม่ๆ แชร์ข้อมูลเห็นชอบในหลักการปี 2565 ด้วยการขับเคลื่อนเวที 4 ภาค นำข้อเท็จจริงมาสู้ต่อกรรมาธิการเด็กฯ นำเสนอข้อมูลการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรฯ ถึงกับบอก ส.ส.ในพื้นที่ว่า “เราได้แล้วเด็กเล็กถ้วนหน้าปี 2564” การตั้งคณะทำงาน 2 ส่วน คณะเตรียมงานส่งเข้า ครม. นำเสนอสถานการณ์ภาพรวม

      ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวทีภาคกลาง แรงงานท้องถูกเลิกจ้าง บรรยากาศที่สร้างสีสันบนเวที มีการหอบลูกจูงหลานเต็มเวที สื่อให้เกิดความสนใจในปัญหาที่เกิดขึ้น สื่อมวลชนลงข่าวอย่างละเอียดยิบ ภาพแม่ลูกอ่อน คุณย่า คุณตา คุณยาย เห็นพลังของสื่อในการนำเสนอข่าว มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำงานวิจัยร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีศูนย์เด็กเล็ก 100 คน สะท้อนให้เห็นว่าเด็กเล็กได้รับผลกระทบจากโควิด โดยเฉพาะพ่อแม่ที่เป็นคนจน กรรมกรคนชั้นกลางล้วนได้รับผลกระทบโดยตรง

      “งานของเรามีองค์กรหลากหลายที่กระจัดกระจายจัดงานข้อมูล จึงมีความลึก มีความหลากหลาย มีข้าราชการในภาคต่างๆ เข้าร่วมด้วย ภาคเหนือ ภาคใต้ รณรงค์สื่อกระตุ้น สิ่งที่เครือข่ายต่อสู้ เรารู้เรื่องสวัสดิการสังคมที่มีความมั่นคงด้วย การที่ผู้สูงอายุ คนพิการได้เงินช่วยเหลือทุกเดือน เด็กแรกเกิดก็ควรจะได้รับด้วย เงินสวัสดิการถ้วนหน้าตั้งแต่เกิดจนถึงตาย สวัสดิการสังคม พี่น้องผู้ใช้แรงงานประท้วง เงินประกันสังคมนำมาจ่ายโควิดจ่ายช้ากว่าเพื่อน ดังนั้นรัฐบาลต้องเข้าใจเพื่อจัดหาให้ถูกต้องด้วย”

      ขณะนี้ พม.สรุปปัญหาอุปสรรคในการรับสิทธิเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การที่ TDRI ทำตัวเลขอย่างละเอียดยิบ เป็นการนำตัวเลขมาคลี่ให้เห็นถึงปัญหาได้อย่างชัดเจน อย่าบอกว่าใช้งบประมาณแพงมากในส่วนเด็กเล็ก เพราะความเป็นจริงก็คือเด็กเกิดน้อยลง เด็กจำนวน 4.2 ล้านคน แต่ละปีเด็กจะลดจำนวนลง ใช้งบประมาณจำนวน 2.2 หมื่นล้านบาท จากงบประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ยิ่งเด็กลดจำนวนลงงบประมาณก็ลดลงตามสัดส่วนด้วย. 

 

 

 

(ล้อมกรอบ)

พลังหนุนของคนทำงานด้านเด็ก

“เราต้องสร้างสังคมเกื้อกูล”

(สุดใจ พรหมเกิด)

        สุดใจ พรหมเกิด หรือ “เจ” ผจก.แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ผอ.โครงการหนังสือฝึกอ่าน เจ้าของไอเดียเด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรยุ่งกับจอใส

      ด้วยประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการอ่าน เด็กเล็ก 90% ได้รับการบ่มเพาะ การตั้ง Mind Set ให้สังคม มีการตั้งคำถามด้วยเงิน 600 บาท มีการถกเถียงกันอยู่ แต่เมื่อศึกษางานวิจัยที่มีการทดลองทำกับลูกแมวปิดตาข้างเดียว 2 สัปดาห์ ปรากฏว่าแมวตาบอดสนิท เป็นข้อมูลน่าตกใจ เราต้องสร้างสังคมเกื้อกูลเอื้อเฟื้อต่อกัน มีปัจจัยแวดล้อม แม่เอาเงินที่ได้ไปซื้อหนังสือให้ลูกได้อ่านมีความรู้ เด็กได้รับรู้ว่าเด็กเติบโตด้วยสังคมโอบอุ้มเขา เราทำงานแก้ไขปัญหาของเด็กตลอดเวลาในการวางรากฐานแก้ไขปัญหาทั้งระบบด้วย

      หากจะวัดกันถึงเรื่องความประทับใจ คนเราเข้มแข็งได้เพราะการทำงานบนพื้นฐานของการใช้ความรู้ ข้อเท็จจริง ในประเทศและต่างประเทศมีการพูดกันในรัฐสภา งานวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำ แม้ไม่มีเงิน แต่เขาก็ทำงานร่วมกันและยังทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วย ดังนั้นขอยกย่อง อ.สุนี ไชยรส แม้จะไม่มีสตางค์ก็จริงอยู่ แต่เป็นการทำงานด้วยจิตวิญญาณอย่างแท้จริง เราจะไม่ช่วยก็คงจะไม่ได้

      เรื่องการประนีประนอมสูงสุดด้วยข้อต่อภาครัฐ โครงสร้าง จะต้องไม่ละทิ้งเครือข่าย ทุกหมุดหมายการขับเคลื่อน มีเพื่อนร่วมทางให้การสนับสนุน ตลอดระยะเวลา 11 ปี 10 รัฐบาล องค์กร OECD เป็นองค์กรเศรษฐกิจระดับโลก เชิญชวนเด็กให้มีการพัฒนาการการเรียนรู้ 10-30% เด็กยากจน เด็กด้อยโอกาส ที่ผ่านมานั้นรัฐแตะเรื่องเด็กน้อยมาก เราต้องทำ The Must ให้ทุกคนก้าวไปพร้อมกันทั้ง 119 องค์กร ยังมีอีกหลายองค์กรอยากเคลื่อนขบวนไปพร้อมๆ กัน ก็ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในสังคมด้วย    

      “ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุด ทำให้ผู้หญิงมีสิทธิมีเสียงในการเลี้ยงลูก เด็กยากจนมีนมดื่ม ได้รับเครื่องนุ่งห่ม มีผ้าอ้อมสำเร็จรูปใช้ เงินสนับสนุน 600 บาท ใช้เป็นค่ารถไปหาหมอ เงินใช้ในยามฉุกเฉิน พื้นฐานของคน การโอบอุ้มด้วยความรัก ค่าของความเป็นมนุษย์ ด้วยการเกื้อกูลกัน การดูแลพ่อแม่ เอื้อให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายายไม่ขัดสน เราเชื่อมั่นในพลังแห่งความดี เป็นพลังแห่งความรู้ ไม่ได้เป็นการทำแบบสังคมสงเคราะห์ แต่เป็นการสร้างบรรทัดฐานของสังคม

      “ในช่วงที่ UNICEF ไม่มีงบประมาณ พี่สุนีดูแล facebook เขียนข่าวเอง เจรจากับ สสส. เพื่อ support โครงการขับเคลื่อนนโยบาย เด็กปฐมวัยควรได้อ่านหนังสือดีๆ 3 เล่ม สมองเด็กต้องเติบโตทุกวัน เราต้องทำให้สำเร็จ การสร้างชุมชนเล็กๆ เราจะทำอย่างไรให้หมู่บ้านในชุมชนของเด็กๆ มีหนังสือดีๆ ให้เด็กได้อ่านกันอย่างทั่วถึงให้ทุก อบต.ทำได้ เงิน สปสช. เงินสุขภาพระดับตำบลดูแลสุขภาพเด็กทุกคนได้เป็นอย่างดี”

 

 

ข้อมูลTDRIฐานความรู้เด็กวัย 0-6 ปี

      TDRI เป็นฐานความรู้ที่นำเสนออย่างง่ายๆ เด็กวัย 0-6 ปี จำนวน 4.3 ล้านคน มีเด็กจำนวน 30% เข้าไม่ถึง ตัวเลข 3 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยผู้สูงอายุขยับเหนือเส้นความยากจน 12 ล้านคน เป็นเงิน 3-4 แสนล้านบาท ใช้งบประมาณสูงกว่างบประมาณสนับสนุนเด็ก

 

(เชษฐา มั่นคง ผจก.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก)

 

เชษฐา มั่นคง หรือ “พี่ท่อม ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)

      “พี่สุนีเป็นนักล็อบบี้ เมื่อโลกหมุน มีความสุข ความพอใจ โครงการนี้ไม่มีเงินขับเคลื่อน ด้วยขอบเขตจำกัดจึงมีการขับเคลื่อนด้วยใจเกิดขึ้นเป็นจริงได้ เด็กเล็กได้รับผลประโยชน์ ในสังคมไทยเป็นจุดเริ่มต้นมีการดึงเครือข่ายเข้ามาทำงาน แต่เดิมเป็นเพียงกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น พี่สุนีดึงสายแรงงานเข้ามาทำงานด้วย สมานฉันท์กับกลุ่มบูรณาการสตรี กลุ่มสลัม 4 ภาค ขยายฐานออกไปไม่เพียงเฉพาะเด็กเท่นั้น เป็นฐานวิถีสำคัญทั้งสังคม ทั้งประเทศ ทำให้คนที่เราขับเคลื่อนเกาะเกี่ยวร้อยเรียงกัน ในฐานะที่ผมถึงไหนถึงกัน เราอยากให้เกิดขึ้นเป็นจริงได้ มีการนำตัวเลขไปพูดคุยกับ TDRI เงินงบประมาณ แต่ทำได้ไม่ถึงก็ให้ไม่ได้ มีการตั้งคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เด็กเกิดมาช่วยเหลือจุนเจือในครอบครัวจากเงิน 400 บาท เพิ่มเป็น 600 บาทในครอบครัว”

      บทบาทความประทับใจขับเคลื่อนเพื่อเด็กเล็กโดยถ้วนหน้า บทบาทที่เรามองสิทธิเด็ก เด็กที่เกิดมานั้นไม่ว่าจะเป็นเด็กไทยหรือเด็กต่างชาติควรจะอยู่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน การที่รัฐตั้งเงื่อนไข เด็กยากจน เด็กรวย ประเด็นที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมต้องเอาเงินช่วยเหลือคนรวยในเมื่อครอบครัวเขาก็มีกินแล้ว เราต้องมองกันถึงความเท่าเทียมกันในสิทธิของเด็กด้วย

      เรามองในเรื่องความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิเด็กที่เกิดมาแล้ว เด็กจะรวยหรือจะจนก็ควรได้รับเงินช่วยเหลือเท่าๆ กัน ไม่ใช่เรื่องการตีตราในสังคม สังคมไทยมีการสร้างวาทกรรมรากหญ้า เราต้องมองถึงเรื่องสิทธิของเด็กเป็นพื้นฐาน ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด ข้อที่ท้าทาย เงินที่พ่อแม่เล่นหวย ซื้อเหล้า ดูมวยตู้ตามหมู่บ้านต่างๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น UNICEF สสส. องค์กรทำงานด้านเด็ก ได้นำเสนอมุมมองความคิดของแต่ละคนเมื่อปี 2558 เพื่อนำเสนอ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อทำงานง่ายขึ้น แม้จะมีปัญหาในการเก็บข้อมูล การวัดฐานะความยากจนวัดจากอะไร บางคนมีรถกระบะใช้ก็จริงอยู่ แต่ด้วยความจำเป็นของอาชีพ เขาไม่ได้มีเงินแต่อย่างใด    

      ทุกคนมุ่งหวังให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด เราอยู่กับชุมชน มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการดีอยากให้เกิดกับกลุ่มเด็กและครอบครัวได้รับอย่างเท่าเทียมกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"