'หมอธีระ'เตือนระบาดซ้ำหนนี้ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเสี่ยงอีกต่อไปแต่กระจายไปทุกกลุ่มได้โดยไม่รู้ตัว


เพิ่มเพื่อน    



8 ม.ค.64 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความรายงานสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก 8 มกราคม 2564 มีรายละเดียดดังนี้

ภาพรวมติดกันงอมมากขึ้น สูงมากเกือบเก้าแสนคน น่าจะเป็นผลจากช่วงปีใหม่ที่มีการเฉลิมฉลองพบปะกันหรือไปท่องเที่ยว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 898,964 คน รวมแล้วตอนนี้ 88,345,544 คน ตายเพิ่มอีก 16,668 คน ยอดตายรวม 1,903,511 คน
อเมริกา วิ่งผ่าน 22 ล้านไปอย่างรวดเร็ว เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 283,783 คน รวม 22,049,820 คน ตายเพิ่มอีก 4,401 คน ยอดตายรวม 372,968 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 18,106 คน รวม 10,414,044 คน
บราซิล ติดเพิ่มถึง 94,517 คน รวม 7,961,673 คน กำลังจะทะลุแปดล้าน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 23,541 คน รวม 3,332,142 คน
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 52,618 คน รวม 2,889,419 คน ถือว่าติดเชื้อต่อวันเกินห้าหมื่นมาอย่างต่อเนื่องถึง 10 วันแล้ว


แม้ตอนนี้สหราชอาณาจักรจะเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังระดมทรัพยากรเพื่อจัดหาวัคซีนและมาฉีดให้ประชาชน แต่ตอนนี้มีการวิเคราะห์ว่าปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้จากแหล่งต่างๆ นั้น จะไม่มีทางเพียงพอกับความต้องการของทั้งโลก มีคนชงนโยบายเพื่อเลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มที่สองจากเดิมที่ต้องฉีดตอน 4 สัปดาห์หลังเข็มแรกไปเป็น 12 สัปดาห์ เพื่อหวังจะเอาวัคซีนที่มีไปฉีดให้กับคนอื่นๆ ให้ได้จำนวนมากขึ้น โดยหวังเชิงจำนวนคนที่ได้วัคซีน แม้จะมีโอกาสป้องกันได้น้อยลง ทั้งนี้แนวคิดนโยบายดังกล่าวก็กำลังได้รับการทักท้วงจากแพทย์และอีกหลายฝ่าย เพราะขัดต่อหลักจริยธรรมทางการแพทย์เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับการเลื่อนฉีดไปถึง 12 สัปดาห์ว่าจะได้ผลอย่างไร...คงต้องเอาใจช่วย ติดตามกันต่อไป

อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักหมื่นต่อวัน
ฝั่งอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายหมื่น
ญี่ปุ่น ติดเพิ่มทำลายสถิติอีกครั้งมากถึง 6,076 คนในวันเดียว ขณะนี้ตายเพิ่มวันละกว่าเจ็ดสิบคน อัตราตาย 1.5% สูงกว่าไทยสองเท่า
แถบสแกนดิเนเวีย รอบทะเลบอลติก และแถบยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
เมียนมาร์ เกาหลีใต้ และไทย ติดเพิ่มหลายร้อย ส่วนจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่เวียดนาม นิวซีแลนด์ และกัมพูชามีติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...สถานการณ์ในเมียนมาร์ เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 594 คน ตายเพิ่มอีก 14 คน ตอนนี้ยอดรวม 128,772 คน ตายไป 2,799 คน อัตราตายตอนนี้ 2.2%...
วิเคราะห์สถานการณ์ของไทยเรา...

1. จะเห็นกันได้ชัดจากไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อว่า ตอนนี้ทุกที่มีความเสี่ยง และทำให้ทุกคนเสี่ยงเช่นกัน..."Everywhere is riskier and everyone is at risk"
ทางเหนือ บางรายเราจะเห็นทั้งสวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ สวนผลไม้ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ตลาดสด ตลาดนัด วัด โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวที่นิยม งานแต่งงาน รวมถึงสถานบันเทิงมากมายหลายแห่ง แค่คนเดียวก็เดินทางไปเพียบ...
วันก่อนทางภาคตะวันออก คนติดเชื้อจากการไปเล่นพนัน ตรวจแยงจมูกแล้ว แทนที่จะกักตัว กลับไปตระเวนตามวัดต่างๆ อีก 9 วัด เป็นต้น
เฉกเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกระจายไปทุกที่ที่เราใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการไปติดกันในครัวเรือนแก่สมาชิกในครอบครัว เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วย
สรุป: ระบาดซ้ำนี้ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเสี่ยงอีกต่อไป แต่กระจายไปทุกกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเป็นผู้แพร่เชื้อ หรือผู้รับเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น"มายาคติ"ที่จะยึดติดกับการตรวจกลุ่มเสี่ยง เพื่อหวังจะควบคุมโรคจึงใช้ไม่ได้อีกต่อไป จำเป็นต้องตรวจพื้นที่เสี่ยง และกิจกรรม/กิจการเสี่ยงด้วย ควบคู่ไปกับการปลดล็อคกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างถ้วนทั่ว ไม่จำเป็นต้องมีอาการ หรือประวัติแบบเป๊ะๆ
ยุทธวิธีที่จะจัดการระบาดซ้ำแบบนี้ได้คือ "ตรวจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" โดยใช้ทุกวิธีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เช่น การแยงจมูก ร่วมกับการตรวจน้ำลายแบบรวมกลุ่มตรวจ การตรวจน้ำเสียจากชุมชนหรือสถานประกอบกิจการ

2. Contact tracing system overload
คงต้องยอมรับว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากในช่วงระบาดซ้ำนั้นจะทำให้ระบบการสอบสวนโรคและติดตามโรคทำงานหนักมาก และอาจไม่สามารถรับมือไหว หลายประเทศก็โชว์ให้เห็นแล้วว่าตามไม่ไหว เช่น สหราชอาณาจักร เป็นต้น
ดังนั้นหัวใจสำคัญที่สุดคือ มาตรการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อที่เคร่งครัด เพื่อลดการติดเชื้อให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานรัฐที่ผลักดันเรื่องการใช้แอพในมือถือเมื่อวานนี้นั้น เราทุกคนคงเข้าใจถึงประโยชน์หรือความจำเป็นที่จะติดตามคนติดเชื้อหรือสัมผัสความเสี่ยงให้ได้ แต่อีกนัยหนึ่งนั้น แปลได้กลายๆ ว่า ระบบที่มีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น เอาไม่อยู่จริงๆ กับการระบาดซ้ำครั้งนี้ เป็นไปอย่างที่อธิบายไว้ตอนต้นว่า ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป แต่เป็นทุกคนที่มีความเสี่ยง ดังนั้นพอจะคาดการณ์ได้ว่า แม้จะรณรงค์ใช้แอพ แต่โอกาสเกิดประสิทธิภาพดังที่หวังคงไม่มากนัก
สรุป: ระบบการสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัสความเสี่ยงนั้น เป็นกระบวนการมาตรฐานที่จำเป็นต้องทำ แต่ในภาวะระบาดซ้ำ ให้ทำใจยอมรับความจริงว่า หากนโยบายและมาตรการป้องกันโรคระบาดไม่เข้มแข็งเข้มข้นหรือเคร่งครัดเฉียบขาดเพียงพอ ก็จะไม่สามารถระงับการแพร่กระจายได้ จึงมีโอกาสที่หากการติดเชื้อมีจำนวนมากไปอย่างต่อเนื่อง ระบบการสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัสความเสี่ยงนั้นก็จะหมดแรงได้
ดังนั้น ระบาดซ้ำ หากเยอะและกระจายไปทั่วภูมิภาคเช่นนี้ หลักการสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขคือ การทำให้อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวไปมาหาสู่กัน ควบคู่กับการป้องกันตัวบุคคลไม่ให้ติดเชื้อด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันและสุขนิสัย และเร่งหาผู้ติดเชื้อเพื่อนำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา
แต่ตอนนี้เราไม่ได้ทำอย่างครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น

3. สิ่งที่ควรระวัง
หนึ่ง ตั้งแต่ปลายสัปดาห์นี้ คาดว่าจะเป็นช่วงที่คนที่ไปท่องเที่ยวปีใหม่หรือกลับจากเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ช่วงปีใหม่ แล้วได้รับเชื้อมา จะเริ่มมีอาการครับ เพราะระยะฟักตัวเฉลี่ยจะประมาณ 5 วัน (อยู่ระหว่าง 2-14 วัน) ดังนั้น ขอให้คอยสังเกตอาการให้ดี หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ดมไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสไม่ได้ หรือท้องเสีย...ขอให้รีบปรึกษาแพทย์และไปตรวจโควิด-19
สอง ตราบใดที่การเดินทางไปมาในพื้นที่อื่นๆ นอกจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ยังดำเนินไปเช่นนี้ ร่วมกับกิจกรรมหรือกิจการที่ผู้คนยังติดต่อกันได้มาก ตามหลักวิชาการแพทย์ก็ยังยืนยันว่า คงจะมีการติดเชื้อกันไปเรื่อยๆ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของคน และโอกาสแจ็คพอตที่แต่ละคนจะมี

เน้นย้ำว่า ตอนนี้จำเป็นต้อง"อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อตัวคุณเอง" ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น หากออกจากบ้านก็ใส่หน้ากากเสมอให้ปิดทั้งจมูกและปาก พกเจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แขวนคอไว้เพื่อใช้ทั้งวัน
และขอขีดเส้นใต้ชัดๆ ว่า "ไม่ควรกินในร้าน ควรซื้อกลับไปกินที่บ้าน หรือหากเป็นช่วงกลางวันที่ทำงานก็ซื้อใส่กล่องกลับไปแยกกินคนเดียวที่ที่ทำงาน" นี่ไม่ใช่เวลาที่เหมาะแก่การสังสรรค์กับสังคม ตอนนี้ระบาดหนัก
เชื้อนี้ติดง่าย...88 ล้านทั่วโลกคือสิ่งที่เราเห็น ใครบอกติดไม่ง่ายนั้นโกหก

เชื้อนี้ติดแล้วตายได้...1.9 ล้านทั่วโลกเป็นหลักฐาน ใครบอกว่าติดแล้วไม่ตาย มียารักษาหายหมด มันโกหกครับ
ระบาดซ้ำนั้น แพร่กระจายวงกว้างโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย เกิดมาแล้วทั่วโลก ทั้งในงานแต่งงาน งานศพ วัด โบสถ์ บ้าน โรงเรียน โรงแรม ตลาด สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ
ขอให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดนะครับ
ด้วยรักต่อทุกคน
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"