ประธานทีดีอาร์ไอชี้'หมอชนะ'ไม่ทำให้เกิดการใช้จริงในวงกว้างความสำเร็จเกิดจากการร่วมมือของทุกฝ่าย


เพิ่มเพื่อน    


8 ม.ค.64 - ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) โพสต์เฟซบุ๊ก Somkiat Tangkitvanich Page  มีเนื้อหาดังนี้

เพื่อนๆ ครับ  วันนี้ ศบค. แถลงว่า ประชาชนในพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ต้องมีแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ในโทรศัพท์มือถือ นอกจากแอปพลิเคชันไทยชนะที่มีอยู่แล้ว และหากพบว่าผู้ติดเชื้อโควิด ไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ ก็จะถือว่าทำผิดกฎหมาย แต่ภายหลังก็ออกมาชี้แจงว่า เพียงต้องการให้ประชาชนให้ความร่วมมือเท่านั้น

ผมเข้าใจว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยในขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และ ศบค. ก็น่าจะมีความมุ่งมั่นที่จะควบคุมการระบาดให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้  อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า แม้ว่าแอปพลิเคชันหมอชนะจะมีประโยชน์ในการช่วยติดตามผู้ติดเชื้อ แต่น่าจะไม่สามารถทำให้เกิดการใช้จริงในวงกว้างได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือหลายรุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่พร้อมที่จะรองรับการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์รุ่นเก่า ซึ่งมีหน่วยความจำไม่พอ หรือแบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่นาน ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงความเป็นห่วงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แม้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ออกแบบอย่างระมัดระวังเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

ความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 รอบแรกในประเทศไทย ไม่ได้เกิดจากการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง แต่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างหนักของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับต่างๆ การสื่อสารที่ดีของรัฐ และการให้ความร่วมมือของประชาชน   ที่ผ่านมาก็ไม่ปรากฏว่า มีประเทศไหน นอกจากประเทศจีนที่รัฐบาลมีขีดความสามารถสูงและปกครองในระบอบเผด็จการ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวคน เช่น สิงคโปร์หรือหลายประเทศในยุโรปก็มีผู้ใช้แอพในลักษณะเดียวกันไม่เกิน 20%    

ผมเชื่อว่า การระบาดของโควิด-19 รอบนี้กว้างไกลและจะยาวนานกว่าการระบาดรอบแรกมาก  และเห็นว่า แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาให้ได้ผล ไม่สามารถทำได้จากการสั่งการจากรัฐฝ่ายเดียว แล้วกำหนดให้ประชาชนทำตามอีกต่อไปแล้ว  แต่ต้องอาศัยการกำหนด “โรดแมพ” ที่ร่วมกันของหลายฝ่าย และใช้การสื่อสารที่ตรงไปตรงมา คงเส้นคงวาและเข้าใจง่าย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริง และให้ร่วมมือกันในการแก้ปัญหา ซึ่งไปไกลกว่าการล้างมือ ใส่หน้ากากและรักษาระยะห่างทางสังคมเท่านั้น

ในรูปธรรม ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีการระบาดรุนแรง เช่น สมุทรสาคร ควรมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล องค์กรธุรกิจ ประชาสังคมและประชาชน เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะในพื้นที่ และถอดบทเรียนไปปรับใช้ในพื้นที่อื่น    จากการได้หารืออย่างไม่เป็นทางการในหลายๆ เวทีที่ผ่านมา ผมพบว่า ภาคธุรกิจและประชาสังคมจำนวนมากอยากช่วยกันหาทางออกให้ตนเองและให้ประเทศ แต่ไม่รู้ว่า รัฐบาลมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร และจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร ทำให้ไม่สามารถระดมสรรพกำลังมาช่วยได้

ผมเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนเช่นการระบาดของโควิด-19 ให้ได้ผล ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของทุกฝ่ายเท่านั้นครับ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"