ชาวบ้านริมโขงเดือดร้อนอีก ระดับน้ำลดฮวบกว่า 1 เมตร 'เขื่อนจีน' กักน้ำ-หาปลาไม่ได้


เพิ่มเพื่อน    

7 ม.ค.64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 มกราคม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์คำสัมภาษณ์ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ซึ่งระบุว่า กอนช.ได้ออกประกาศแจ้งเตือน เรื่อง ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงจากลดการระบายน้ำของเขื่อนจิ่งหง ตามที่กระทรวงทรัพยากรน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีหนังสือถึง สทนช. ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงฝ่ายไทย ลงวันที่ 5 มกราคม 2564 เรื่อง แจ้งปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนจิ่งหง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน จากเดิมระบายน้ำวันละ 1,904 ลบ.ม./วินาที เหลือวันละ 1,000 ลบ.ม./วินาที เพื่อบำรุงรักษาสายส่งโครงข่ายระบบไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 5-24 มกราคม หลังจากนั้นจะปรับเพิ่มการระบายน้ำและกลับเข้าสู่สถานะการทำงานปกติ  

ดร.สมเกียรติกล่าวว่า กอนช.ได้ประเมินระดับน้ำในแม่น้ำโขงจากการลดการระบายน้ำของเขื่อนจิ่งหง พบว่า ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว บริเวณสถานีเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระดับน้ำลดลง 60 เซนติเมตร ในช่วงวันที่ 2 – 4 มกราคมที่ผ่านมา และระหว่างวันที่ 5 – 28 มกราคม ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงประมาณ 30 เซนติเมตร ขณะที่ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว บริเวณสถานีเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สถานีหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สถานีนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สถานีมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงประมาณ 30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนไซยะบุรี

ดร.สมเกียรติกล่าวว่า ขณะเดียวกัน สทนช.ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย นครพนม หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เพื่อรับทราบสถานการณ์ และเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งจะมีการติดตาม ประเมินสถานการณ์ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบประชาชนอย่างใกล้ชิด

นายวาน ชาวประมงในอำเภอเชียงแสน กล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงแห้งลงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เนื่องจากการปิดเขื่อนของจีน ประกอบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำกกที่แห้ง ทำให้แม่น้ำโขงยิ่งแห้งหนัก จนไม่สามารถหาปลาได้และเรือประมงของชาวบ้านหลายลำต้องติดอยู่บนตลิ่ง ขณะที่ชาวบ้านต้องหันไปเก็บผักเพื่อมาทำอาหารกินแทนปลา เชื่อว่าในเดือนมีนาคมและเมษายนปริมาณน้ำจะแห้งกว่านี้ 

ด้าน น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการรณรงค์และสื่อสาร (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) องค์กรแม่น้ำนานาชาติ กล่าวว่าประกาศฉบับนี้สะท้อนให้เห็นอย่างน้อย 2 ประเด็น ได้แก่ 1. ผลกระทบจากเขื่อนจีน 11 แห่ง ซึ่งเขื่อนจิงหง อยู่ใกล้ชายแดนไทยมากที่สุด ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องแก่ระบบนิเวศแม่น้ำโขง ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจีนจะมีข้อตกลงกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เมื่อเดือนตุลาคม 2563 แต่ก็ไม่ได้นำมาซึ่งกลไกการแก้ไขปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน ที่ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี การแจ้งและเปิดเผยข้อมูลอาจเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ เท่านั้น ข้อมูลก็คือข้อมูล แต่หัวใจสำคัญคือธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแม่น้ำโขงร่วมกันอย่างเป็นธรรม ทั้งประเทศต้นน้ำ คือ จีน และประเทศท้ายน้ำทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเขื่อนจีนกักเก็บน้ำและใช้งานเขื่อนโดยไม่คำนึงถึงวงจรแม่น้ำโขงที่เป็นไปตามฤดูกาล

“ทุกวันนี้ในฤดูฝน น้ำโขงแทบไม่หลากท่วมอีกแล้ว นั่นหมายถึงการพัดพาตะกอนแร่ธาตุในล้ำน้ำโขง ลำน้ำสาขา และป่าชุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ wetlands ต่างๆ รวมทั้งทะเลสาบเขมร หายไปหมด ปลาแม่น้ำโขงไม่สามารถเข้าไปวางไข่ตามลำห้วย หนอง บึงต่างๆ ระยะยาวคือการสูญพันธุ์ และการสูญเสียรายได้และแหล่งอาหารของประชาชนนับล้าน ส่วนในฤดูแล้งก็พบว่าแม่น้ำโขงมีระดับน้ำขึ้นๆ ลงๆ ชัดเจนมากที่ อ.เชียงแสน สัปดาห์นี้ระดับน้ำโขงเพิ่มเล็กน้อยแล้วขึ้นแล้ววูบก็ลงทันที 1 เมตรในเวลา 2 วัน” น.ส.เพียรพร กล่าว    

น.ส.เพียรพร กล่าวว่า 2.ประเด็นผลกระทบจากการใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ไม่ไกลจากพรมแดนไทย ที่อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งซ้ำเติมความเสียหายต่อระบบนิเวศให้รุนแรงยิ่งขึ้น แต่กลับไม่มีกลไกในการศึกษา ติดตาม และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงกับชุมชนตลอดสองฝั่งโข แม้ว่าศาลปกครองสูงสุด จะรับฟ้องที่เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงได้ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐไทยในประเด็นผลกระทบข้ามพรมแดนไว้ตั้งแต่ปี 2556 แต่ก็ยังไม่มีคำพิพากษา ข้อมูลอุทกวิทยา ปริมาณน้ำ การระบายน้ำจากเขื่อนไซยะบุรี ก็ยังไม่พบว่ามีการเปิดเผยต่อสาธารณะ หรือแจ้งเตือนแก่รัฐบาลประเทศในลุ่มน้ำแต่อย่างใด แม่ว่าจะเป็นการใช้งานเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าส่งขายให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ตาม

น.ส.เพียรพรกล่าวว่า ชาวบ้านริมโขง ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ต่างแจ้งเหมือนๆ กันว่าแม่น้ำโขงมีระดับผันผวน ขึ้นๆ ลงๆ ผิดธรรมชาติ บางครั้งปักเบ็ดตกปลาไว้ริมตลิ่ง ตอนเช้าไปดูกลับพบว่าเบ็ดลอยเหนือน้ำเพราะน้ำลงวูบชั่วช้ามคืน พืชพรรณริมน้ำและตามเกาะแก่งต่างทยอยพากันตายเพราะขาดตะกอนแร่ธาตุ ระยะยาวหมายถึงการสูญเสียคุณค่านิเวศแม่น้ำโขงไปอย่างถาวร ในขณะที่ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศไทยเหลือล้นกว่าครึ่ง โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในยุคโควิด

“ประเด็นเขื่อนจีนที่ลดการระบายน้ำครั้งนี้ กำลังได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนนานาชาติหลายสำนัก และได้มีการสอบถามเข้ามามาก เพราะมีข้อมูลประจัก ทั้งข้อมูลของ MRC และภาพถ่ายดาวเทียมของศูนย์วิจัย Stimson ของสหรัฐอเมริกา”น.ส.เพียรพร กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"