5จว.ใต้น่าห่วงน้ำท่วมฉับพลัน


เพิ่มเพื่อน    


    ปภ.เตือน 5 จังหวัดเตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 4-8 ม.ค. พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ 24 ชั่วโมง เตรียมพร้อมชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ ประสานท้องถิ่นแจ้งเตือนพร้อมอพยพประชาชนในพื้นที่ 
    เมื่อวันที่ 3 ม.ค. นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะผู้อำนวยการกลาง กล่าวว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 3 (4/2564) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนเข้าปกคลุมสหพันธรัฐมาเลเซีย ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ 
    นายบุญธรรมกล่าวต่อว่า สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสาน 5 จังหวัดภาคใต้เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 4-8 มกราคม 2564 
    นายบุญธรรมระบุว่า ได้แก่ พัทลุง (11 อำเภอ : อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน อำเภอตะโหมด อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม และอำเภอศรีนครินทร์) สงขลา (13 อำเภอ : อำเภอเมืองสงขลา อำเภอสทิงพระ อำเภอจะนะ อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอรัตภูมิ อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอควนเนียง อำเภอบางกล่ำ อำเภอสิงหนคร และอำเภอคลองหอยโข่ง) 
    อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุต่อว่า จ.ปัตตานี (6 อำเภอ : อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก อำเภอมายอ อำเภอทุ่งยางแดง และอำเภอแม่ลาน) ยะลา (4 อำเภอ : อำเภอเมืองยะลา อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา และอำเภอเบตง) นราธิวาส (9 อำเภอ : อำเภอตากใบ อำเภอบาเจาะ อำเภอระแงะ อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ และอำเภอเจาะไอร้อง) 
    "รวมถึงสั่งการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าว โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและแนวโน้มสถานการณ์ภัยต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ริมแม่น้ำลำคลอง ที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล อีกทั้งจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤติ (ERT) รถปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที" อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุ 
    นายบุญธรรมกล่าวด้วยว่า ตลอดจนประสานหน่วยงานในพื้นที่ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบสถานการณ์ภัย แนวทางการปฏิบัติตน และการอพยพไปยังจุดปลอดภัยผ่านทุกช่องทาง รวมถึงเน้นย้ำให้เตรียมความพร้อมในการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัย ส่วนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล และนักท่องเที่ยวที่ทำกิจกรรมหรือท่องเที่ยวทางทะเลให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง สำหรับชาวเรือและผู้ประกอบการเดินเรือโดยสารควรเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยให้พร้อม และเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง 
    "ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศและสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป" นายบุญธรรมระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"