3ม ค.64- ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีหัวข้อเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิต และกระจายวัคซีนในอนาคต นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว สธ.พยายามให้คนไทยมีความมั่นใจว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควรเราจะได้วัคซีนใช้ ไม่ล่าช้าไปกว่าประเทศอื่นๆ และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในฐานะที่ตนเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อน การจัดหาวัคซีนให้คนไทย ขอรายงานว่าเราได้เตรียมการ หาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน และกำหนดเป้าการฉีด ซึ่งไม่เปลี่ยน เป็นการฉีดวัคซีนให้ฟรี ไม่น้อยกว่า 50 % ของจำนวนประชากร หรือได้วัคซีน ประมาณ 70 ล้านโด๊ส และเราได้ดำเนินมาตั้งแต่ยังไม่มีผลการวิจัย ของเจ้าใดประสบความสำเร็จ ส่วนการเจรจากับบริษัท แอสตร้่า เซนเนก้า เราทำสัญญา ซื้อวัคซีน 26 ล้านโด๊ส เป็นการผลิตในประเทศ ซึ่งคาดว่าปลายเดือนพ.ค. น่าจะได้วัคซีนมาฉีดให้คนไทย 26 ล้านโด๊ส
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ก็มีการเจรจาซื้อวัคซีนอื่นๆผ่านโคแว๊กซ์มาโดยตลอดแต่เป้าหมายต้องปรับเปลี่ยน ส่วนประชากรอีก 10% เรามีต้นทุน 26 ล้านโด๊ส จากแอสตร้าเซนเนก้า หลายคนอาจมองว่ามาช้าเพราะมาเดือน พ.ค. 63 แต่เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการเจรจากับหลายบริษัท ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และ ซิโนแว๊กซ์ ของจีน ซึ่งตามที่มีการแจ้งข่าวดีไปแล้ว เราขอซื้อซิโนแว็กซ์จากจีน 2 ล้านโด๊ส โดย ปลายเดือน ก.พ.จะได้ 2 แสนโด๊ส ปลายมี.ค. 8แสนโด๊ส และปลายเม.ย.อีก 1ล้านโด๊ส
"วัคซีนในตลาดโลก ไม่ใช่สินค้าหาช้อปปิ้งหาที่ไหนก็ได้ ที่สำคัญต้องมีระบบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย ถ้าไม่มีผลทดลองเฟส 3 รองรับ เราก็จะไม่ซื้อมาฉีดให้คนไทย ดังน้ั้น ข้อมูลวิชาการเป็นเงื่อนไชที่จำเป็นต้องมี เราไม่ห้ามเอกชนนำเข้าวัคซีน แต่ต้องมาขอขึ้นทะเบียนกับอย. ซึ่งจะดุูโรงงาน ทุกล็อตการผลิต ต้องได้รับการตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การที่บอกว่าทำไม ไม่เอามาเลย เพราะเราต้องทำให้เกิดมั่นใจ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ถ้าไม่ทำให้เกิดความมั่นใจ แม้แต่หมอก็อาจไม่ยอมฉีด"นพ.ศุภกิจกล่าว
นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ทั่วโลกมีวัคซีน4 ชนิด จากผู้ผลิต 9 ราย เป็นเทคโนโลยี เอ้มอาร์เอ็นเอ ไวรัลเว็กเตอร์ ซัพยูนิต และทำให้เชื้ออ่อน ของประเทศไทยจะยอมรับขึ้นทะเบียนเฉพาะวัคซีนที่มีการทดลองเฟส 3 เท่านั้น ส่วนวัคซีนที่ผลการทดลองอยู่ในขั้นตอนเฟส 2 เช่นของซิโนฟาร์ม ของจีน และของรัสเซี่ย ซึ่งยังไม่มีการรายงานการทดลองเฟส 3 ก็จะไม่อยู่ในข่ายอนุมัติ
ส่วนกระแสข่าวที่มีคนสงสัยว่าวัคซีนของ แอสตร้า เซนเนก้า ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง ต้องขอบอกว่า ขณะนี้วัคซีนทุกชนิดที่ฉีด ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง เพราะให้ใช้แบบมีเงื่อนไข ต้องมีการติดตามดูผล ส่วนการที่ไทยมีการจองซื้อวัคซีนไม่นาน อาจมีผลดี แม้ว่าขณะนี้ ทุกบริษัทในโลก กำลังขยายกำลังการผลิตวัคซีน แต่ขณะเดียวกัน ก็มีข้อมูลใหม่ๆออกมา เช่น อังกฤษ รายงานว่าถ้าใครมีประวัติแพ้ยา แพ้วัคซีนหรือเป็นโรคภูมิแพ้รุนแรง ก็มีข้อห้ามการฉีด ซึ่งข้อมูลนี้ ไม่มีอยู่ในรายงานการวิจัยภาคสนามของและบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี ที่เรานำมาระมัดระวังการใช้ได้
นพ.นคร กล่าวอีกว่า ในประเด็นว่าประเทศไทยมุ่งแต่เอาเฉพาะวัคซีนจากบริษัท แอสตร้า เซนเนก้า จริงหรือไม่ ขอบอกว่าเราจะต้องหาวัคซีนให้ได้ 66 ล้านโด๊ส หรือครึ่งหนึ่งของประชากร และเราจะซื้อจากแอสตร้า เซนเนก้า เป็นชุดแรก นอกจากนั้น เรายังหาวัคซีนจากทุกช่องทาง มีการเจรจากับอีกหลายบริษัท มีการเก็บข้อมูล และลงนามข้อมูลความลับต่อกัน ทั้งกับไฟเซอร์ จอห์นสันแอนด์จอห็นสัน ซิโนแว็ก ซิโนฟาร์ม แต่ขอเรียนว่าวัคซีนล็อตใหญ่ ที่เราอยากได้เพื่อมาใช้ในวงกว้าง กับบริษัทอื่นๆ เขาจะสามารถส่งมอบได้ในไตรมาสสุดท้าย ปี 64 เทียบกับแอสตร้า เซนเนก้า ที่จะได้วัคซีนใช้ในวงกว้างเร็วกว่าในเดือนพ.ค.
"บทบาทของแอสตร้า เซนเนก้า คือเขาไม่ปิดกั้นเทคโนโลยี แต่การซื้อจากเขาต้องมีการขึ้นทะเบียนและเป็นไปตามระเบียบตามกฎหมายที่ อย..กำหนด ซึ่งขณะนี้ อย. มีแผนการขึ้นทะเบียนฉุกเฉินไว้แล้ว ทั้งวัคซีนที่ผลิตในต่ละประเทศ รวมทั้งงานวิจัยในบ้านเราด้วย อย.ได้มีการเตรียมรูปแบบการขอขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ส่วนการที่มีบริษัทเอกชน โฆษณาให้จองซื้อวัคซีน เราไม่ปิดกั้น แต่เขาทำผิดระเบียบการโฆษณาของอย. เพราะยังไม่มีวัคซีนอยู่ในมือ ทางอย.ก็ได้ตักเตือน เอกชนรายนั้นไปแล้ว นอกจากนี้ ทางสถาบันวัคซีนฯ ยังทำความร่วมมือกับ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) อีกทั้งหาวัคซีนเพิ่มจากภาคประชาชนอื่นที่มีโครงการทดลองวิจัยด้วย"
นพ.นครเตือนทิ้งท้ายอีกว่า แต่ถึงจะมีวัคซีนไว้ฉีดแล้ว แต่คนไทยต้องการ์ดไม่ตก ยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ปฎิบัติตัวตามที่สธ.แนะนำ ซึ่งจะเป็นวัคซีนทีดีที่สุด เพราะจะเห็นได้ว่าวัคซีนแต่ละตัวขณะนี้ มีประสิทธิผลระดับ 70 - 80-90 % แสดงว่าถึงฉีดแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ซึ่งถ้าเรายังดำรงชีวิตประมาท วัคซีนก็อาจจะไม่ได้ป้องกันอะไร ยิ่งถ้ามีการรับเชื้อมากๆ ดังที่มีข่าวมีคนฉีดวัคซีนได้ไปเข็มหนึ่ง แต่ไม่่ดูแลตัวเอง ไม่ใส่หน้ากากอนามัย ไปโน่นไปนี่ ก็ทำให้ติดเชื้อได้ และที่ต้องไม่ลืมคือการฉีดเพื่อให้เกิดประสิทธิผล จะต้องฉีดให้ครบ 2เช็ม
ดร. ทรงพล ดีจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด กล่าวว่า การผลิตวัคซีน 26 ล้านโด๊ส ของสยามไบโอไซเอนซ์ ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทแอสตร้า เซนเนก้า เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่กลางปี จุดเริ่มต้นทางบริษัท เอสซีจี ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้แนะนำให้ทางสยามไบโอไซเอนซ์ ได้รู้จักกับทางแอสตร้า เซนเนก้า เพื่อให้แอสตร้า เซนเนก้า ดูว่าบริษัทสยามไบโอฯ สามารถผลิตวัคซีนได้หรือไม่ หลังจากนั้นทางแอสตร้าเซนเนก้าได้มีการเข้ามาตรวจโรงงานและศักยภาพของโรงงาน เนื่องจากเขาต้องการโรงงานที่สามารถผลิตวัคซีนได้ตั้งแต่ต้นน้ำ -ปลายน้ำ และมีกำลังการผลิตมาก 200 ล้านโด๊สต่อปี หรือ 15 ล้านโด๊สต่อเดือน เนื่องจาก เขาได้เลือกไทยให้เป็นฐานการผลิตวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า ในอาเซียน
ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เริ่มเมื่อวันที่ 7 ต .ค. 63 เป็นวันแรก แอสตร้าเซนเนก้า ได้ส่งเซลล์วัคซีนมาให้ 1 ซีซี เพื่อให้ทางสยามไบโอฯ มาขยายการผลิตให้ได้จำนวน 2พันลิตร และภายใต้เงื่อนไขอีกว่า วัคซีนที่สยามไบโอฯ ผลิตได้ในอีก 6เดือนข้างหน้า จะต้องมีคุณภาพเดียวกับที่แอสตร้า เซนเนก้า ผลิตได้ในโลก
ดร.ทรงพลกล่าวต่อว่า ส่วนผนการผลิตวัคซีน จะมีการทดสอบ 5รอบการผลิต หลังจากนั้น นำผลที่ได้ไปยื่นต่อ อย. เพื่อขึ้นทะเบียน ซึ่งตามเกณฑ์จะต้องผลิตได้มาตรฐาน 3 รอบติดต่อกันถึงจะขึ้นทะเบียนได้ โดยคาดว่าจะสามารถส่งข้อมูลให้ อย.ตรวจสอบได้ราวต้นเดือน เม.ย. ซึ่ งเป็นการทำอย่างเร่งด่วนเต็มที่ แต่ต้องอยู่บนพื้นบานประสิทธิภาพพื้นฐานความปลอดภัย และได้วัคซีนออกมาในเดือนพ.ค.ปีนี้
"แต่ละรอบจะใช้เวลา 120 วัน แบ่งเป็นกระบวนการผลิต 60 วัน อีก 60 วัน เป็นการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพ และเราแบ่งทำออกเป็น5 รอบการผลิต แต่ละรอบห่างกัน 14 วัน เราเริ่มผลิตรรอบแรก16 ธ.ค.ที่ผ่านมา รอบ 2 ก็เริ่มไป และวัคซีนที่เราขยายได้ 2พันลิตร ทำให้อีก 20 วัน เราจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 3.5-4 ล้านโด๊สต่อล๊อต ซึ่งจะต้องส่งกลับวัคซีนไปให้แอสตร้า ฯ วิเคราะห์ ว่าคุณภาพตรงกับทุกแหล่งที่ผลิตในประเทอื่นๆหรือไม่ ซึ่งเราทดสอบที่ได้พบว่า มีคุณภาพเหมือนกับที่แอสตร้า เซนเนก้ากำหนด " ดร.ทรงพลกล่าว
ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า หลังได้วัคซีนแล้วจะมีการเก็บข้อมูลจากประชาชน โดยกรมควบคุมโรค จะประสานหน่วยงานหลายหน่วยงานเพื่อทำระบบทะเบียน เช่นเดียวกับการทำระบบทะเบียนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยร่วมมือกับสปสช. ธนาคารกรุงไทย เกี่ยวกับการทำฐานข้อมูลประชาชน โดยลิงค์กับแอพพิเคชั่น กระเป๋าตัง เพื่อดูว่าใครต้องการฉีด และแอพฯนี้ จะเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลอื่น ๆในการติดตามผลระยะยาว หลังการฉีด เช่น ติดตามดูอาการไม่พึงประสงค์ หรือมีการติดเชื้่ออีกหรือไม่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |