ว่าด้วยการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ สี่แยกเกียกกาย ถือว่าใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานมากเป็นพิเศษ แต่เดิมกำหนดสร้างเสร็จตั้งแต่ปลายปี 58 แต่จวบจนวันนี้ยังก่อสร้างไม่เรียบร้อย ปัจจุบันบุคลากรของรัฐสภาได้เข้าไปใช้งาน พร้อมๆ กับมีกการก่อสร้างด้วย
ปัญหาในตอนแรกเกิดจากความล่าช้าในการเวนคืนที่ดิน และปัญหาการขนดิน จนนำไปสู่การขยายสัญญาการก่อสร้างออกไปถึง 4 ครั้ง รวมแล้ว 1,864 วัน ดังนี้ การขยายเวลาครั้งที่ 1 จำนวน 378 วัน การขยายเวลาอีกเป็นครั้งที่ 2 จำนวน 421 วัน ครั้งที่ 3 จำนวน 678 วัน และการขยายเวลาครั้งที่ 4 จำนวน 382 วัน
ทั้งนี้ ยังไม่นับกำหนดระยะเวลาการสร้างเดิม อีก 900 วัน โดยจะเห็นว่าการขยายสัญญามีระยะเวลาที่มากกว่าสัญญาก่อสร้างเดิมด้วยซ้ำไป ถือว่าน้อยครั้งนักที่จะมีการขยายสัญญาในลักษณะเช่นนี้
การขยายสัญญาจะไม่มีประเด็นเลยแม้แต่น้อย หากไม่มีการเสียค่าปรับ หรือไม่มีการฟ้องร้องระหว่างเอกชนผู้รับเหมากับส่วนราชการรัฐสภา
ในระหว่างที่อยู่ในช่วงการขยายสัญญาครั้งที่ 4 ปรากฏว่าบริษัทเอกชนผู้รับเหมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ศาลปกครองกลางมากถึง 1,600 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า หากสำนักงานเลขาสภาฯ เป็นฝ่ายแพ้คดี จำนวนเงินที่ต้องเสียให้กับเอกชน คือภาษีประชาชนทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การก่อสร้างรัฐสภาอยู่ในช่วงการขยายสัญญาครั้งที่ 4 ซึ่งกำลังจะครบกำหนดการต่ออายุในวันที่ 31 ธันวาคมนี้
ฉะนั้น จึงเกิดคำถามว่าควรต่อสัญญาเป็นรอบที่ 5 จำนวน 133 วัน หรือไม่
แน่นอน “วัชระ เพชรทอง” อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ติดตามเรื่องนี้มาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ต้น ประกาศลั่นว่าขอคัดค้าน อีกทั้งยังมีเอกสารสำคัญจากสำนักกฎหมายของสำนักงานเลขาสภาฯ มาแสดง เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับคำคัดค้านของตนเองด้วย
ในเอกสารสำนักกฎหมายระบุว่า ข้อกล่างอ้างของบริษัทผู้รับเหมาที่ขอขยายสัญญาครั้งที่ 5 ไม่มีความสมเหตุสมผลและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ
ด้วยเหตุผล ดังนี้ 1.ผู้รับเหมาไม่เคยกล่าวอ้างถึงปัญหาความล่าช้าในการจัดหาผู้รับจ้างอื่นแต่อย่างใด จึงอาจแสดงให้เห็นถึงเจตนาไม่สุจริตของผู้รับจ้าง
2.งานของผู้รับเหมายังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เป็นงานส่วนภูมิสถาปัตยกรรม ดังนั้นเหตุที่ผู้รับจ้างกล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลา กรณีนี้จึงอาจไม่มีส่วนสัมพันธ์ และมีผลกระทบโดยตรงกับงานตามสัญญา อันเป็นเหตุให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา
3.สัญญาก่อสร้างอ้างเหตุจากการดำเนินการตามสัญญาของสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีผู้รับจ้างเป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อเรียกร้องประโยชน์ทางหนึ่งทางใดจากสำนักงานฯ ผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมเป็นการไม่เหมาะสมและใช้สิทธิ์ไม่สุจริต
ที่สำคัญ เหตุผลข้อสุดท้าย “4.ขณะนี้บริษัทผู้รับเหมายื่นฟ้องสำนักงานฯ เป็นเงิน 1.59 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้นการที่สำนักงานฯ จะพิจารณาต่อสัญญาครั้งที่ 5 หรือไม่ อาจส่งผลต่อรูปคดีได้”
หรืออาจหมายความได้ว่า หากสำนักงานเลขาฯ สภาฯ ตัดสินใจเซ็นอนุมัติให้ขยาย สัญญาครั้งที่ 5 เท่ากับสภาฯ เป็นฝ่ายยอมรับผิด และทางบริษัทผู้รับเหมาก็อาจนำไปเป็นหลักฐานในศาลปกครองได้อีก ดังนั้นสภาฯ ก็ต้องเสียค่าโง่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภาษีของประชาชนทั้งนั้น
ไม่เพียงเท่านี้ ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภามูลค่าหมื่นล้านหลังนี้ ทางสภาฯ ได้จ้างสองบริษัท เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและควบคุมงาน คือ กลุ่มบริษัทผู้ควบคุมงาน ATTA และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา CAMA ซึ่งในการต่อสัญญาครั้งที่ 5 ที่จะถึงนี้ ทางกลุ่มบริษัทผู้ควบคุมงาน ATTA ได้ประชุมและมีมติไม่เห็นชอบการขอขยายเวลาครั้งที่ 5
ล่าสุด ด้วยความพยายามของทุกฝ่ายที่คัดค้านการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 5 นี้ บอร์ดกรรมการตรวจการจ้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ที่มี “สาธิต ประเสริฐศักดิ์” เป็นประธานคณะกรรมการตรวจการจ้างโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีมติ 6 ต่อ 2 ไม่อนุญาตให้มีการขยายเวลาก่อสร้างครั้งที่ 5 ตามที่ผู้รับเหมาร้องขอ
“เดอะแจ๊ค วัชระ” เปิดเผยว่า ขั้นตอนต่อไปคือ การแจ้งผลลงมติของบอร์ดตรวจการจ้างฯ ต่อ “พรพิศ เพชรเจริญ” เลขาธิการสภาฯ เพื่อรับทราบ ในส่วนบริษัทผู้รับเหมาก็จะต้องก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จตามสัญญาก่อสร้างอาคารรัฐสภานี้มีวงเงิน 12,280 ล้านบาท สัญญาก่อสร้าง 900 วัน หากสร้างไม่เสร็จ ผู้รับเหมาต้องจ่ายค่าปรับ วันละประมาณ 12 ล้านบาทเศษ
บทสรุปเรื่องนี้ ถ้าจะให้สะเด็ดน้ำแบบชัวร์ๆ ก็ต้องรออนุมัติจากเลขาฯ สภาฯ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |