สสส.-มูลนิธิสังคมสุขใจชูธงขับเคลื่อนอาหารอินทรีย์สร้าง “พื้นที่อาหารสุขภาวะ” ปรับพฤติกรรมรับชีวิตวิถีใหม่ สร้างสมดุลชีวิต เพิ่มภูมิคุ้มกัน 4 มิติ ป้องกันโควิด-19 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs หนุนระบบ PGS สร้างพื้นที่เกษตรยั่งยืนทั่วทุกภาค สานพลังเครือข่ายผู้บริโภคเชื่อมโยงกับพื้นที่ผลิตอาหารอินทรีย์เพื่ออาหารปลอดภัยยั่งยืน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรงแรมสวนสามพราน บนพื้นที่ 130 ไร่ ขับเคลื่อนสามพรานโมเดลภายใต้มูลนิธิสังคมสุขใจ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยรับซื้อข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ จากเกษตรกรในเครือข่ายที่ผลิตในระบบอินทรีย์ คิดเป็นสัดส่วน 70% ของอาหารที่ปรุงให้กับแขกผู้มาใช้บริการและพนักงาน ทั้งเป็นโรงแรมแรกและโรงแรมเดียวในเมืองไทยที่ได้รับรองมาตรฐานการลดของเสียจากการให้บริการอาหารหรือมาตรฐานฟู้ดเวสท์ (Food Waste Prevention) ในช่วง 1 ปีประหยัดต้นทุนจัดซื้ออาหารได้ถึง 2 ล้านบาท โครงการฟู้ดเวสท์เสริมจุดแข็งให้กับสามพรานโมเดล สะท้อนให้เห็นถึงการใช้วัตถุดิบอินทรีย์อย่างคุ้มค่า การทำเกษตรแบบอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี และมีการซื้อวัตถุดิบโดยตรงจากเกษตรกร ที่สำคัญก็คือโรงแรมไม่มีเศษอาหารที่เหลือขายออกไปภายนอก ทำให้ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในระบบขนส่ง ทำให้ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ได้อีกด้วย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานโมเดล สวนสามพราน จ.นครปฐม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน จัดงานสังคมสุขใจครั้งที่ 7 เราปรับ...โลกเปลี่ยน ชีวิตวิถีใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์สู่ชีวิตที่สมดุลและสุขภาพดี ที่ปฐม ออร์แกนิก วิลเลจ สวนสามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ทิศทางการสร้าง “พื้นที่สุขภาวะ” มีเป้าหมายจุดประกายและสานพลังให้คนไทยรักสุขภาพมากขึ้น ด้วยการใส่ใจบริโภคอาหารอินทรีย์เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี 4 มิติ ได้แก่ กาย จิต ปัญญา และสังคม รวมถึงกระตุ้นส่งเสริมให้คนบริโภค “อาหารเพื่อสุขภาวะ” เพราะการกินอาหารที่ปลอดภัยจะเชื่อมโยงไปถึงระบบสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม สู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
อาหารเพื่อสุขภาวะ พ่อแม่เป็นตัวอย่างสำคัญในการกินผักผลไม้ของลูก ผักผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก มีกากใยสูงช่วยทำความสะอาดลำไส้ ลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่างๆ ถ้าหากกินผักผลไม้น้อยเกินไปจะส่งผลให้สมองไม่ปลอดโปร่ง ความจำไม่ดี ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต เสี่ยงระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นหวัดง่าย ติดเชื้อง่าย เสี่ยงต่อการเป็นโรคในกลุ่ม NCDs โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันและหลอดเลือดสมอง
“งานสังคมสุขใจ เน้นสร้างคุณค่าวิถีอินทรีย์ ให้ทุกคนพึ่งพาตัวเองแบบองค์รวม และสร้างแรงกระเพื่อมให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาสถานการณ์โควิด-19 และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs สิ่งสำคัญทุกคนต้องมีองค์ความรู้เรื่องอาหารเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย สสส.ยินดีอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมพื้นที่สังคมอินทรีย์ สร้างผู้บริโภคที่เข้มแข็ง ขยายการผลิตอาหารสู่ไลฟ์สไตล์วิถีอินทรีย์ จุดประกายให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยเข้ามามีส่วนร่วมเข้าใจ และนำโมเดลสามพรานโมเดลไปใช้” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา ประธานพิธีเปิดงานสังคมสุขใจ กล่าวว่า ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ช่วงโควิด-19 แนวคิด ชีวิตวิถีใหม่ ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เราปรับ...โลกเปลี่ยน สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะการปรับตัวที่เริ่มจากตัวเรามีความจำเป็นอย่างยิ่ง อาจจะดูเหมือนง่าย แต่ความจริงต้องอาศัยแรงบันดาลใจ เรียนรู้ ฝึกฝน สร้างสังคมกัลยาณมิตรหนุนเสริมซึ่งกันและกันให้เป้าหมายสำเร็จ งานสังคมสุขใจปีนี้มี “คน” ทำหน้าที่เชื่อมประสานเป็นห่วงโซ่ ในรูปแบบเกษตรกรอินทรีย์ทั่วทุกภาค ได้รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้าน ถ่ายทอดการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ที่เป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญ ที่ทุกคนต้องเลือกบริโภคให้ปลอดภัย และพึ่งพาตัวเองได้
อรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ และ กก.ผจก.สวนสามพราน จำกัด ผู้ปลุกปั้นสามพรานโมเดล กล่าวว่า เกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดล และจากเครือข่ายในระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (PGS) ที่เป็นสมาชิกอยู่ทุกภาคของประเทศ กว่า 300 ราย พร้อมให้ความรู้กระบวนการทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่วันที่ 11-13 ธันวาคม รวมถึงจะเปิดตัวสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA : Thai Organic Consumer Association) ครั้งแรกในประเทศไทย คนกลุ่มนี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยง เกษตรกรอินทรีย์ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้มารู้จักกัน พร้อมเปิดรับสมัครสมาชิกและจัดกิจกรรมให้ความรู้ตลอดงาน
สุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า สถานการณ์โควิด- 19 ทำให้เรื่องเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัยได้รับความสนใจมาก ปัจจุบันพื้นที่ได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้ ทำให้มีเกษตรกรอินทรีย์และศูนย์การเรียนรู้เกิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะในเครือข่ายสามพรานโมเดลที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาหารเพื่อสุขภาวะสร้างความยั่งยืน ทำให้ทุกคนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเอง และมีภูมิคุ้มกัน ทางจังหวัดจึงอยากส่งเสริมให้ประชาชนในจังหวัดและที่อยู่ใกล้เคียงมางานสังคมสุขใจ เพื่อเรียนรู้และนำไปปรับใช้ รวมถึงเป็นทางเลือกในการเริ่มทำอาชีพใหม่ๆ เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี
สสส.มอบ ‘สมุดพกสุขภาพ’ รัฐสภาต้นแบบองค์กรสุขภาวะ
สสส.ชวนคนสภาฯ เช็กสุขภาพรับปีใหม่ มอบ “สมุดพกสุขภาพ” เป็นของขวัญ ยกย่องหน่วยงานรัฐสภา ต้นแบบองค์กรสุขภาวะครบครัน ชมรมออกกำลังกาย-โรงอาหารลดหวานมันเค็ม-คอร์สอบรมสุขภาพ ขยายผล 253 คนต้นแบบ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร, พรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เดินหน้าองค์กรต้นแบบสุขภาพต่อเนื่อง ประธานสภาฯ ยืนยันต้องทำให้ยั่งยืน ขยายไปหน่วยงานอื่น
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยโครงการพัฒนาองค์กรสุขภาวะต้นแบบ : การสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรในวงงานรัฐสภา จัดกิจกรรม “สุขภาพดีตามวิถีของบุคลากรในวงงานรัฐสภา” ที่ชั้น 1 อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 โดยชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับมอบ พร้อมกับกล่าวว่า การมีสุขภาพที่ดี มีกายและใจที่แข็งแรง จะทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความผาสุกในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล และนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งแนวทางของ สสส.
นิทรรศการชีวิตวิถีใหม่เริ่มต้นที่เรา...มีการนำเสนอพันธกิจงาน สสส. การนำเสนอความรู้เรื่องโรค NCDs ในรูปแบบอินโฟกราฟฟิก โรค NCDs หรือกลุ่มโรคที่คุณสร้างเอง เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวัน การกินอาหารตามใจปาก บริโภคอาหารที่ผ่านการปรุงรสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ขณะเดียวกันบางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงขึ้นไปอีกด้วยการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า มีโอกาสสูงทำให้เกิดโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง เบาหวาน ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกสูงมาก รวมทั้งในเมืองไทยโรค NCDs เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย 74%:ปี ของสาเหตุการตายทั้งหมด
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ NCDs 3 อ. 2 ส. อาหารเพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เพิ่มกิจกรรมทางกาย ทำความสะอาดบ้าน ขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินในระยะใกล้ๆ แทนการใช้รถ การออกกำลังกาย 30 นาที/วัน 5 ครั้ง/สัปดาห์
หยุดการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่ งดดื่มสุรา แอลกอฮอล์ ถ้าหากยังหยุดไม่ได้ให้ลดปริมาณลง ขณะเดียวกันหาวิธีการคลายความเครียด ด้วยการพูดคุยกับเพื่อน ออกกำลังกาย โยคะ ฟังเพลง เล่นดนตรี อ่านหนังสือ เดินทางท่องเที่ยว
การจัดงานในครั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพสู่การเป็นองค์กรสุขภาวะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ รวมทั้งบุคลากรเกิดความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ เกิดพื้นที่ในการสร้างเสริมสุขภาพ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวงงานรัฐสภาอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นๆ ต่อไป
โรงอาหารของรัฐสภา คนไทยไร้พุง, สสส., กทม.สนับสนุนให้มีป้ายโปสเตอร์ขนาดใหญ่ติดเต็มรอบห้องเพื่อสร้างบรรยากาศเรื่องรักสุขภาพ คิดจะลดพุง ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม แค่ขยับเท่ากับออกกำลังกายแล้ว ลดกินอาหารมันๆ ป้องกันโรคอ้วน กินกล้วยหอมให้คลายเครียดและเพิ่มพลัง ส้มตำ เมนูบ้านๆ คุณค่าเพียบ อยากสมองดีต้องกินปลา เทคนิคกำจัดหน้าท้อง รับประทานผลไม้แทนขนมหวาน พักผ่อนให้เพียงพอ ความจำดีภูมิคุ้มกันเพิ่ม
พรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า โครงการพัฒนาองค์กรสุขภาวะต้นแบบ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ สสส. มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวงงานรัฐสภา มุ่งสร้างความตระหนักรู้แนวทางการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างศักยภาพองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข ตลอดจนการปรับทัศนคติด้านสุขภาพ รวมถึงพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งหากได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสม จะเป็นการป้องกันกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือเรียกว่าโรควิถีชีวิต อาทิ ไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ให้กลับไปสู่กลุ่มที่อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากรายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปี 2562 ของบุคลากรประจำสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ร้อยละ 63 อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ร้อยละ 37 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ เหมาะสม มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และมีความเครียด โครงการพัฒนาองค์กรสุขภาวะต้นแบบ โดย สสส.ร่วมกับสำนักงานเลขาฯ จึงมุ่งสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในวงงานรัฐสภาให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่านการพัฒนา 4 กิจกรรม คือ 1.พัฒนากิจกรรม เพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ชมรมแอโรบิก ชมรมฟุตบอล ชมรมลีลาศ พร้อมจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพขององค์กร อบรมผู้ค้าอาหารปรุงเมนูลดหวาน มัน เค็ม จัดทำสื่อให้ความรู้เรื่องโภชนาการ
“กิจกรรมที่ 2 คือ พัฒนาคุณภาพชีวิต เกิดแกนนำนักสร้างสุของค์กร 253 คน นำแนวคิดสุขภาวะองค์กรไปประยุกต์ใช้ 3.พัฒนาการสื่อสารงานสุขภาพ พัฒนาคู่มือแนวทางการดูแลสุขภาพภายใต้สถานการณ์โควิด-19 พร้อมจัดเวทีเพื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพทุกเดือน และ 4.จัดทำคู่มือ “สุขภาพที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรในวงงานรัฐสภา” เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสุขภาพประจำปี ประกอบด้วย การบันทึกการตรวจรักษา ทั้งระดับความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด สุขภาพตา เท้า และคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือด พร้อมให้ความรู้เรื่องโรค NCDs ในรูปแบบ อินโฟกราฟิก 56 หน้า จำนวน 2,500 เล่ม ผ่านสำนักบริการทางการแพทย์รัฐสภา” ดร.สุปรีดากล่าว
เมื่อ 2 ปีที่แล้วในงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการพัฒนาระบบสุขภาพในองค์กร : การสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรในวงงานรัฐสภา ณ ห้องประชุม 213-216 อาคารรัฐสภา 2 ชั้น 2
สรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้นกล่าวว่า การพัฒนาสุขภาพชีวิตการทำงานในหน่วยงานรัฐสภาไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก การสร้างสมดุลชีวิตในการทำงานด้วยยุทธศาสตร์เพื่อให้สำนักเลขาธิการฯ ตระหนักรู้ เข้าใจคุณภาพชีวิต ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลตอบสนองความพึงพอใจในการให้บริการให้เป็นองค์กรที่มีความสุข สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สำรวจบุคลากรในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีบุคลากรทั้งสิ้น 2,240 คน กลุ่มเจนเอ็กซ์มีสัดส่วนสูงสุด 59% เจนวาย 24% เบบี้บูม 17% ดังนั้นต้องทำให้กลุ่มเจนเอ็กซ์และเจนวายมีความสุขในการทำงาน มีความรักความผูกพันในองค์กร ทั้งนี้ ผลจากการสำรวจของสถาบันวิจัยและสังคม จุฬาลงกรณ์ฯ สถานการณ์ความสุขคนทำงานในเมืองไทยช่วงปี 2555-2557 จะเห็นได้ว่ากลุ่มเจนวายพร้อมเปลี่ยนแปลงงานสูงสุด 80% หากมีโอกาส
ผลการสำรวจคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปี 2558 พบว่า การประเมินสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่รับประทานอาหารเช้า พักผ่อนเพียงพอ และอัตราการสูบบุหรี่อยู่ในเกณฑ์น้อย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ 52% มีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ชีวิตการทำงานมีระดับความเครียดจากการทำงาน บทบาทในการวางแผนงานที่ทำ การได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง ความรักในองค์กรพบว่าอยู่ในระดับปานกลางจนถึงดี ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในผลตอบแทน ส่วนภาระหนี้สินเป็นอันดับ 1 คือหนี้สินเพื่อที่อยู่อาศัย 48% การผ่อนชำระหนี้สินสินค้าหรือบริการ 37% ยานพาหนะ 32% ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออมนั้น ส่วนใหญ่มีการออม แต่ขาดการวางแผนถึง 51% มีเพียง 28% ที่วางแผนการออม และ 15% ไม่มีการออม การทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรแห่งความสุขจึงเป็นโจทย์ท้าทายการทำงาน ขออวยพรให้มีร่างกายสุขภาพสมบูรณ์ มีบุคลากรร่วมแรงร่วมใจขับเคลื่อนงานสู่ภารกิจต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |