ดูชาร์ตนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่นำเสนอเมื่อวันพุธที่ผ่านมา จะเห็นภาพการพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหน้าได้ค่อนข้างชัดเจน
จะเป็นการ “ค่อยๆ ฟื้น” ที่มีความไม่แน่นอนสูง
เพราะมีปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงและความไม่ชัดเจนจึงเป็นทักษะของทั้งรัฐบาลและคนไทยทุกคนในปีหน้าเป็นต้นไป
ตัวเลขภาพรวมเศรษฐกิจของไทยวันนี้คือคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5%
ลดเป้าจีดีพีของปี 64 เหลือโตเพียง 3.2% (จากฐานที่ลดปีนี้ไม่น้อยกว่า 6.6%)
อีกด้านหนึ่งกระทรวงพาณิชย์ประเมินการส่งออกไทยปี 64 น่าจะพลิกกลับมาขยายตัว 4% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
กุญแจสำคัญของการฟื้นตัวอยู่ที่ความสำเร็จในการใช้วัคซีนโควิด
แต่ 11 เดือนของปี 63 การส่งออกไทยหดตัว 6.92%
ภาพรวมอย่างนี้ทำให้เราต้องยอมรับความจริงว่า กว่าเศรษฐกิจไทยกลับไปสู่ระดับเท่ากับก่อนโควิดระบาดนั้นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3-5 ปี
และปัจจัยหลักอีกประการหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของแต่ละภาคส่วนด้วยเช่นกัน
เพราะมันจะเป็นการฟื้นตัวที่ไม่เสมอในระดับเดียวกัน
คุณทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ กนง. บอกว่า คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
คณะกรรมการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า
จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการจึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
คณะกรรมการคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 6.6 ในปี 2563 ดีกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวดีขึ้น
คาดว่าจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 4.8 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง
ในระยะสั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่
ในระยะถัดไปการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 และพัฒนาการของตลาดแรงงาน
ที่น่ากังวัลคือ เรายังมีจำนวนผู้ว่างงาน และ “เสมือนว่างงาน” อยู่ในระดับสูง
นอกจากนี้ การฟื้นตัวที่แตกต่างกันของแต่ละภาคเศรษฐกิจจะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ด้านระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่ยังคงมีความเปราะบางในภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ
สภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจและครัวเรือนบางส่วนที่ต้องการสภาพคล่องยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เคลื่อนไหวผันผวนสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค ทั้งนี้
พรุ่งนี้ประเมินปัจจัยกระทบสถานการณ์เศรษฐกิจปีหน้าต่อครับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |