23 ธ.ค.2563 - เว็บไซต์ราชกิจานุเบกษาได้เผยแพร่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 30/2563 เรื่อง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2557 เรื่อง กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว เป็นความผิด ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง หรือไม่แล้ว เมื่อช่วงค่ำวันที่ 22 ธ.ค. ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 104 ก
ทั้งนี้คำวินิจฉัยดังกล่าวมีทั้งสิ้น 10 หน้า โดยได้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.ซึ่งเป็นกรณีนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ ได้ขอให้ศาลแขวงดุสิตส่งคำโต้แย้งของตน มาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ว่าประกาศ คสช.ทั้ง 2 ฉบับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าประกาศ คสช.ฉบับที่ 29/2557 เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวตามคำสั่งของ คสช.ลงวันที่ 24 พ.ค.57 และประกาศ คสช.ฉบับที่ 41/2557 เรื่องกำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวเป็นความผิด ลงวันที่ 26 พ.ค.2557 เฉพาะในส่วนโทษทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 และมีมติเสียงข้างมากว่า เฉพาะในส่วนของประกาศ คสช.ฉบับที่ 29/2 557 เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวตามคำสั่งของ คสช.ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคหนึ่ง
อ่านรายละเอียดที่นี่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |