มะเร็งรังไข่ภัยเงียบแนะตรวจภายในทุกปีหญิงไทยป่วยอันดับ3 กลุ่มโรคสตรี     


เพิ่มเพื่อน    

                 

สมาคมมะเร็งนรีเวชไทยจับมือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดโครงการ Whisper of Ovary “มะเร็งรังไข่เป็นภัยเงียบ ควรใส่ใจตรวจภายในทุกปี” เหตุมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ ปวดท้อง ท้องอืด พบหญิงไทยป่วยเป็นอันดับ 3ของโรคจำเพาะสตรี หรือวันละ 7ราย ชี้ตรวจพบเร็วมีโอกาสหายขาดสูง

วันที่ 7 พ.ค. ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน สมาคมมะเร็งนรีเวชไทยจับมือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดโครงการ Whisper of Ovary “มะเร็งรังไข่เป็นภัยเงียบ ควรใส่ใจตรวจภายในทุกปี” โดย ศ.นพ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ นายกฯสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยมะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งทั่วไปที่พบในผู้หญิงเป็นอันดับที่ 6 และเป็นอันที่ 3 ของมะเร็งจำเพราะที่พบในผู้หญิง รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จากสถิติพบว่าผู้หญิงไทยมีอุบัติการเกิดมะเร็งโรคดังกล่าวในผู้ป่วยรายใหม้ประมาณปีละ 2,700คน หรือวันละ 7 ราย หรือใน 100,000คนจะพบผู้ป่วย 6คน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ1 ของมะเร็งนรีเวชทั่วโลกและเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 53 ของการเสียชีวิตในมะเร็งนรีเวชในประเทศไทย สาเหตุของการที่มีอุบัติการสูงจากมะเร็งรังไข่สูงมาจากโรคดังกล่าวเพราะเป็นภัยเงียบไม่มีข้อบ่งชี้ของโรคที่ชัดเจน โดยจะมีอาการคล้ายๆกับโรคอื่นๆ เช่น ปวดท้อง ท้องอืดท้องบวม ดังนั้นเมื่อเป็นคนไข้มักไปพบแพทย์ตามอาการ กว่าจะได้รับการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าเป็นประมาณร้อยละ 64 ก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว อีกทั้งมะเร็งรังไข่ยังไม่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน การส่งเสริมให้มีการตระหนักถึงภัยเงียบดังกล่าวที่ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ โดยการรณรงค์ให้ผู้หญิงมีการตรวจภายในทุกปีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะหากตรวจได้เร็วก็จะมีโอกาสหายขาดสูง 


นพ.ณัฐวุฒิ กันตถาวร แพทย์เฉพาะทาง สาขามะเร็งวิทยานรีเวช ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า มะเร็งรังไข่เกิดจาดหลายๆปัจจัย  ปัจจุบันพบว่าความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรมยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ จากสถิติพบว่าผู้หญิงที่มีความผิดปกติ หรือการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1และ BRCA 2จะมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่สูงถึง 35-70% และ 10-30%ตามลำดับในขณะที่คนทั่วไปมีความเสี่ยงเพียง 1-2 % โดยการตรวจหาความผิดปกติของยีนส์ดังกล่าวสามารถตรวจได้ที่ รพ.รัฐชั้นนำ แต่มีค่าใช้จ่ายสูง จึงแนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่น ผู้ป่วงมะเร็งรังไข่ทุกราย  มีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความผิดปกติของยีนส์ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งรไข่เสมอไป เพียงแต่จะมีความเสี่ยงสูงกว่าเท่านั้น ดังนั้นหากมีญาติสายตรงในการตรวจควรบอกแพทย์ทุกครั้ง เพราะอพทย์จะได้มีการตรวจแบบจำเพาะได้ 


นพ.ธัช อธิวิทวัส อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา รพ.รามาธิบดีกล่าวว่าโดยปกติแล้วโรคมักเกิดใน ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ เนื่องจากโรคมีความคลุมเครือ หากมีอาการของโรคใดโรคหนึ่งเป็นเวลานาน เช่น เป็นโรคกะเพราะไปพบแพทย์ก็ยังไม่หาย ดังนั้นก็ให้สงสัยว่ามีอะไรมากกว่านั้นหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากโรคดังกล่าวสามาถเกิดขึ้นได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น ควรมีการตรวจภายในหลังจากที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรือหากอายุเข้า 30 ปีหรือเคยมีการกระตุ้นไข่ตก หรือมีประจำเดือนเมื่ออายุยังน้อย ตั้งแต่ 11-12 ปีก็ควรมาตรวจภายใน เพราะอาจมีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามข้อสงสัยว่าความอ้วนอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหรืไม่ ข้อนี้ก็ไม่แน่ชัด สาเหตุอาจเกิดมาจากการที่เมื่ออ้วนแล้วตรวจภายใจยาก ทำให้ตรวจไม่พบโรคหรือไม่ ก็ไม่แน่ชัด อาจเกิดจากหลายๆปัจจัย 


นพ.ธัช กล่าวอีกว่า โอกาสในการหายขาดนั้นแล้วแต่ระยะของโรคที่ตรวจเจอ ทั้งนี้หาดตรวจพบโรคในระยะลุกลาม แม้ว่าจะมีการผ่าตัด แต่เชื้อได้กระจายไปรังไข่อีกข้าง แม้ว่าแพทย์จะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะไม่มีการเกิดซ้ำ ซึ่งหากได้รับเคมีบำบัดควบคู่ไปด้วยหลังผ่าตัด โอกาสที่เคมีจะไปฆ่าเซลล์เล็กเซลล์น้อยที่กระจายไปยังจุดอื่นๆเพื่อไม่ให้เกิดโรคซ้ำก็มีมาก ดังนั้นก็ต้องมีการพิจารณาให้เคมีบำบัดหลังผ่าตัดเข้าไปด้วย. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"