มือถือ...ช่วยสร้างสุขช่วงโควิด


เพิ่มเพื่อน    

    ที่ผ่านมาเรามักจะรู้กันดีว่า การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน ไม่ได้แค่เพิ่มความเสี่ยงต่อความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า แต่ทว่ายังเป็นปัญหาสุขภาพจิต ที่คนใช้สมาร์ทโฟนในยุคโซเชียล ไม่ควรละเลยกับผลเสียจากการโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ เพราะอาจเสี่ยงต่ออาการนิ้วล็อกแถมมาด้วยอีกต่างหาก 
    แต่ล่าสุดนักจิตวิทยากล่าวว่า “การใช้เวลาบนสมาร์ทโฟนของคุณในการเลื่อนดูโซเชียลมีเดีย และการตอบกลับข้อความนั้น ไม่ได้เลวร้ายต่อสุขภาพจิตแต่อย่างใด จากการวิเคราะห์ผู้ใช้ Android และ iPhone นักวิจัยชาวอังกฤษพบว่า เวลาที่ใช้บนสมาร์ทโฟน เป็นตัวทำนายความวิตกกังวลภาวะซึมเศร้า หรือความเครียดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ขณะเดียวกันผู้ที่มีอาการซึมเศร้า ก็ไม่พบว่าการใช้สมาร์ทโฟนในปริมาณที่มากนั้น กระตุ้นภาวะโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด
    ด้านผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาโต้ว่า การที่คุณเป็นกังวลเกี่ยวกับการใช้มือถือในระยะเวลาที่ยาวนานมากเกินไป กลับเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคุณให้เป็นไปในทางลบมากกว่า 
     “ฮีทเทอร์ แชร์” ผู้ทำการวิจัย กล่าวว่า จากงานวิจัยนั้นสามารถระบุได้ว่า ก่อนหน้านี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สมาร์ทโฟนแต่อย่างใด ทั้งนี้ นักวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน ในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพจิตจากการใช้สมาร์ทโฟน เช่น การชั่งน้ำหนักของสมาร์ทโฟน ตลอดจนอุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกับมือถือ การประมวลผลความเร็วการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ การบันทึกเวลาการใช้ จากการสัมผัสหน้าจอ โดยในช่วงแรกของการวิจัยนั้น ทีมงานได้คัดเลือกผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 46 คน ที่ใช้มือถือในระบบ Android และมีการติดตามการใช้งานเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ที่สำคัญผู้เข้าร่วมงานวิจัยยังถูกถามเกี่ยวกับสุขภาพจิต และขึ้นตราชั่งที่ใช้ในคลินิก สำหรับตรวจตรวจวัดความเครียดและอาการซึมเศร้า รวมถึงผู้เข้าร่วมวิจัยยังต้องกรอกแบบทดสอบเกี่ยวกับการตรวจชั่งน้ำหนักของสมาร์ทโฟน ในรายที่มีปัญหาหรือมีข้อติดขัดเกี่ยวกับขั้นตอนดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการใช้งานมือด้วยเช่นกัน 
    การทดลองในขั้นตอนที่สองคือ การที่ทีมวิจัยได้คัดเลือกผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ iPhone  จำนวน 199 ราย โดยให้ทำแบบทดสอบออนไลน์ และขอให้ผู้เข้าร่วมทดสอบ รายงานเกี่ยวกับการตั้งค่าเวลาการใช้งานหน้าจอ หรือสัมผัสจอโทรศัพท์มือถือ เพื่อรายงานให้ทีมวิจัยรับทราบข้อมูลด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ iPhone ยังถูกถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพจิต ในรูปแบบของแบบสอบถาม เช่นเดียวกับแบบทดสอบในระบบออนไลน์อีกด้วย ทั้งการชั่งน้ำหนักของสมาร์ทโฟน ตลอดจนอุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกับมือถือ การประมวลผลความเร็วการใช้งานของโทรศัพท์มือถือ การบันทึกเวลาการใช้ จากการสัมผัสหน้าจอ เหมือนกับผู้ใช้มือถือในระบบ Android ด้วยเช่นกัน 
    จากผลการทดสอบดังกล่าวจึงพอสรุปได้ว่า แม้จะมีรายงานมากมายออกมาระบุว่า ระยะเวลาในการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่ยาวนานหรือมากเกินไปนั้น ที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพจิต อันที่จริงแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตแต่อย่างใด เนื่องจากผลวิจัยได้ออกมาระบุแล้วว่า การที่เราหยิบมือถือขึ้นมาใช้บ่อยๆ หรือจ้องอยู่กับหน้าจอในแต่ละวัน ไม่ใช่ปัจจัยที่จะระบุว่า คุณจะต้องมีภาวะวิตกกังวลหรือเป็นโรคซึมเศร้า และอาการเครียดแต่อย่างใด 
    ดร.เดวิด เอลลิส ผู้เขียนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบาธ กล่าวว่า “จากผลวิจัยที่ได้ทำขึ้นนั้นพบว่า การที่คนลดเวลาจากการจ้องหน้าจอมือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่ได้ทำให้คนมีความสุขมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามนั้น การที่นำหยิบประโยชน์ของการใช้มือถือของคนในยุคปัจจุบัน เพื่อขจัดความกังวลเกี่ยวกับรับมือกับโรคโควิด-19 และช่วยให้ใช้ชีวิตอยู่กับไวรัสร้ายดังกล่าวได้ ก็จะก่อให้เกิดผลดีไม่น้อย”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"