20 ธ.ค.63 -เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น.นายชวน หลักภัย ประธานรัฐสภา ได้เดินทางโดยรถตู้ออกจากบ้านพักถนนวิเศษกุล ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง ไปยังสนามเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.อบจ.ตรัง ในเขตเลือกตั้งที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารเรียน 10 โรงเรียนวัดควนวิเศษ ระยะทางประมาณ 400 เมตร โดยนายชวนฯ ได้ปฎิบัติตามมาตรการแบบ New Normal ด้วยการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยและใช้เจลล้างมือก่อนตรวจสอบรายชื่อซึ่งอยู่ลำดับที่ 254 หน่วยเลือกตั้งที่ 79 และเดินเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งทั้งสองใบด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และทักทายกับผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างเป็นกันเอง พร้อมกล่าวขอบคุณชาวตรังที่การหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้นตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้และขอให้ประชาชนอย่านอนหลับทับสิทธิ์ โดยอยากให้ออกมาเลือกตั้งกันให้มากที่สุด ที่สำคัญคือทุกคนต้องช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัดด้วย ซึ่งนายชวนฯ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงเดินทางกลับบ้านพัก
นายชวน กล่าวว่า ขณะที่ตนเองมาใช้สิทธิเลือกตั้งเฉพาะหน่วยดังกล่าวมีผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 20 กว่าเท่านั้นเอง เหตุผลสำคัญก็เนื่องจากฝนตก แต่เมื่อฝนหยุดตกแล้วก็คิดว่าช่วงบ่ายหรือสายน่าจะมีประชาชนมาใช้สิทธิกันมากขึ้น ก็ถือโอกาสนี้เชิญชวนพี่น้องประชาชนขอให้มาใช้สิทธิเนื่องจากเป็นระยะเวลานานแล้วที่เราไม่ได้มีการใช้สิทธิเลือกตั้งสนาม อบจ.ตนเองมองกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้ มองว่าไม่ได้รุนแรง ถือว่าเป็นปกติ ส่วนเรื่องการรับแจ้งเรื่องทุจริตการเลือกตั้งตอนนี้ยังไม่มี ส่วนเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นตนก็มีการรณรงค์อยู่ ก่อนหน้านี้ก็ไปร่วมประชุมกับสื่อมวลชน ที่ป้องกันปราบปรามการทุจริต พื้นฐานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการทุจริตคอรับชั่นก็คือระบบการเมืองที่ใช้ระบบธุรกิจนี้ต้องระวัง เช่นการซื้อเสียงคนซื้อเสียงก็ต้องเข้ามาหาผลประโยชน์ นักการเมืองที่มาจากระบบซื้อเสียงก็จะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่ เพราะนั้นประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการป้องกัน จ.ตรังผมทำเรื่องรณรงค์ในเรื่องนี้มากว่า 50 ปีแล้ว และก็ภาคภูมิใจในพี่น้องชาวตรังที่ใช้สิทธิในช่วงที่ผ่านมา เพราะเราใช้การเมืองแบบสุจริตมาโดยตลอด อีกทั้งนักการเมืองที่มาโดยการสุจริตเขาก็จะไม่โกง ส่วนเรื่องผู้สมัครที่มาจากขั้วพรรคเดียวกันก็มองว่าไม่ได้มีการแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย มีอะไรก็สามารถคุยกันได้
ด้าน นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ในเคสของอำเภอนาโยง ที่มีประชาชนขึ้นป้ายไม่ออกไปใช้สิทธิ ในส่วนนี้ตนเองได้หารือกับท่านนายอำเภอนาโยง ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิทธิของชาวบ้านที่จะไม่ไปใช้สิทธิ์ครั้งนี้ได้ ก็ต้องไปแจ้งกรณีที่ไม่ไปใช้สิทธิ์ ส่วนเรื่องที่มีการไปติดป้ายครั้งนี้ เขามีการรณรงค์ที่จะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยไม่ได้เจาะจงว่าไม่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบจ.แต่เป็นการไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้ และครั้งต่อไป อาจจะเป็นการไม่ขอใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อื่นๆ ไม่ใช่เลือกตั้ง อบจ. ก็ได้ซึ่งเป็นสิทธิ์ของเขา และการขึ้นป้ายครั้งนี้ก็เป็นการขึ้นป้ายในพื้นที่ของเขา ไม่ใช่เป็นพื้นที่สาธารณะ ก็ได้กำชับหากมีการทำความผิด หากชาวบ้านมีการต่อต้านรณรงค์ ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอบจ.ในครั้งนี้อย่างเปิดเผย ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าชาวบ้าน ที่ไม่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้มีกี่หมู่บ้าน เท่าที่สอบถามมาประมาณ 7 หน่วยเลือกตั้ง และใน 7 หน่วยเลือกตั้งนี้ก็ยังมีผู้มาใช้สิทธิ์จำนวนมาก
นายฐิติเชฏฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่ไม่สามารถมาใช้สิทธิ์วันนี้ได้ ก็ต้องไปแจ้งที่ไม่ไปขอใช้สิทธิ์ในวันที่ 27 ธ.ค. แต่หากหลังจากนั้นก็ถือว่าบุคคลนั้นไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ตอนนี้มีคนแจ้งเบาะแสผู้กระทำผิดการเลือกตั้งจำนวน 3 เรื่อง แต่ยังไม่ได้รับรายงานที่เป็นรายละเอียด ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง 1.การประชาสัมพันธ์บัตรเลือกตั้งล่าช้า 2.รถแห่ของผู้สมัครวิ่งตามรถ อบจ.ตรัง และ 3.ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง โดยรวมทั่วประเทศขณะนี้มีจำนวน 114 เรื่อง สำหรับการเคลื่อนย้ายหีบบัตรตามเกาะต่างๆช่วงฝนตก เราได้ประสานไปยังตำรวจน้ำ ที่จะใช้ เฮลิคอปเตอร์ ในการเคลื่อนย้ายหากมีปัญหา แต่การเคลื่อนย้ายตอนนี้เราจะใช้สปีดโบ๊ทในการเคลื่อนย้ายคิดว่าไม่มีปัญหา
นายฐิติเชฏฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้เราจะทราบผล ตัวอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนเที่ยงคืนวันนี้ ถ้าไม่มีเรื่องร้องเรียนเราก็จะสามารถทราบผลภายใน 7 วัน หากมีเรื่องร้องเรียนก็ต้องสืบสวนและไต่สวนต่อไป ตอนนี้กกต. คาดหวังว่าจะให้มีประชาชนมาใช้สิทธิ์ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยสถานการณ์ทางภาคใต้ที่มีฝนตก อาจจะมีผู้มาใช้สิทธิ์ไม่เท่ากับที่เราคาดไว้ ก็ยังหวังอยู่ว่าจะเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ จ.ตรังมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 492,191 คนมี 891 หน่วยเลือกตั้งใน 10 อำเภอรวม 30 เขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครนายก อบจ.3 คนและมีผู้สมัคร ส.อบจ รวม 69 คน โดยผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 1. คือนายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ (โกเล้ง) หัวหน้าทีมกิจปวงชน คนใหม่ซึ่งรับไม้ต่อจาก นายกิจ หลีกภัย พี่ชายของนายชวน หลีกภัย และเป็นพี่ชายของนายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีต ส.ส เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์จ.ตรังหลายสมัย ซึ่งปัจจุบันนายบุ่นเล้ง ยังมีศักดิ์เป็นลุงของ น.ส.สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ส.ส เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์จ.ตรัง สมัยแรกด้วย โดยส่งผู้สมัครครบทั่ง 30 เขต ส่วนหมายเลข 2 คือนายสาธร วงศ์หนองเตย หัวหน้าทีมตรังพัฒนาเมืองตรัง ซึ่งเป็นน้องชายของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ จ.ตรัง หลายสมัย โดยส่งผู้สมัครได้เพียง 18 เขตและหมายเลข 3 คือนายภูผา ทองนอก สังกัดกลุ่มตรังก้าวใหม่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับประชาชนที่คาดว่าจะเบื่อการเมืองระบบผูกขาดแบบเดิมๆ แล้วหันมาสนใจคนรุ่นใหม่ไฟแรงเข้ามาบริหาร อบจ.ตรังแทน ทำให้ จ.ตรังเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ถูกจับตามองว่าอาจจะเกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างสายเลือดประชาธิปัตย์ที่แบ่งออกเป็น 2 ขั้วแต่ก็ยังไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ เกิดขึ้นในขณะนี้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |