18 ธ.ค.63 - ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) พล.ต.ต.ปัญญา ปิ่นสุข รองผู้บัญชาการสอบสวนกลาง (รองผบช.ก.) พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผบก.ปอศ.) นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมายธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ร่วมกันแถลงผลการตรวจสอบการดำเนินคดีพบการทุจริตโครงการคนละครึ่ง
นายพรชัย กล่าวว่า โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก ผ่านผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อให้ประชาชน ใช้จ่ายเงินผ่านแอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านแอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” และรัฐบาลจะออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 3,000 บาท ในเฟสแรก ต่อมามีการตรวจสอบสถิติการใช้จ่ายและพบความผิดปกติเกิดขึ้น จากนั้นได้ตั้งคณะทำงานในการตรวจสอบข้อมูลเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่อาจเข้าข่ายการผิดเงื่อนไข และได้มีการระงับการใช้แอพพลิเคชั่นถุงเงิน รวมถึงระงับการจ่ายเงินให้กับร้านค้า พร้อมดำเนินการตามกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้อง
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารกรุงไทย ได้ตรวจสอบเบื้องต้นพบความผิดปกติในการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ มีรูปแบบการกระทำความผิดอยู่ 2 แบบ คือ ร้านแลกหรือรับเงินเป็นผู้ดำเนินการ และแบบมีเจ้ามือเป็นผู้ดำเนินการจำนวนหลายราย จึงได้มีการระงับการใช้แอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” และระงับการจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าดังกล่าว และได้จัดส่งข้อมูลร้านค้าและผู้เกี่ยวข้องที่กระทำผิดเงื่อนไข ให้แก่ ตร. ดำเนินการ มีผลการดำเนินคดี 1 ราย ผู้ต้องหา 4 คน
ส่วนการทุจริตในโครงการคนละครึ่ง มีลักษณะวิธีการทุจริต 2 รูปแบบ รูปแบบแรก ร้านค้าคนละครึ่งที่รับแลกเงินสด มีการโอนเงินให้กับประชาชนที่ใช้แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง (สิทธิคนละครึ่ง) โดยตรงผ่านทาง mobile banking, ATM และเงินสด ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ได้มีการซื้อ-ขายสินค้าจริง แต่ไปรับเงินโดยตรง ส่วนรูปแบบที่ 2 ลักษณะเป็นเจ้ามือ ประชาชนที่ต้องการแลกเงินมีการให้ข้อมูลการ Login เข้าแอพพลิเคชั่น เป๋าตัง แก่ร้านค้า เพื่อใช้สิทธิคนละครึ่งแทน โดยวิธีนี้ร้านค้าจะหาลูกค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก เป็นต้น ซึ่งหากมีประชาชนสนใจมีการตกลงแบ่งผลประโยชน์ โดยจะกระทำการเสมือนมีการค้าขายแต่ไม่มี ซึ่งประชาชนได้รับโอนเงินส่วนต่างจากเจ้ามือ จำนวน 80-100 บาท ต่อการทำธุรกรรมใช้จ่ายผ่านร้านดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ต้องหาจะแสดงตนเป็นทั้งร้านค้า และ ประชาชนผู้ใช้สิทธิ์ โดยกรณีนี้ตำรวจได้สืบสวนจากข้อมูลพบว่าที่อยู่ร้านค้า และ ผู้ใช้สิทธิอยู่ต่างภูมิลำเนา และคนละจังหวัด ทั้งเชียงใหม่ สงขลา ฯลฯ
รองผบ.ตร. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ได้แจ้งข้อหาผู้ต้องหาทั้ง 4 คนแล้ว ในข้อหา ฉ้อโกง และข้อหาฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น พร้อมเรียกสอบปากคำประชาชน 14 คน ที่นำข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับรหัสเข้าแอพพลิเคชั่นเป๋าตังส่งให้กับร้านค้าผู้กระทำความผิด โดยหลังจากนี้ตำรวจก็จะพิจารณาว่าจะต้องแยกการดำเนินคดีต่อไปอย่างไร โดยร้านค้าผู้กระทำความผิดพบว่ามีประชาชน 200 รายที่เข้าข่ายร่วมกระทำความผิด โดยรัฐได้โอนเงินให้กับร้านค้าไปแล้วกว่า 220,000 บาท ในจำนวนนี้มีทั้งการซื้อ-ขายแบบสุจริต และ การกระทำทุจริตโดยลูกชายของเจ้าของร้านเป็นหนึ่งในผู้หาวิธีฉ้อโกง เนื่องจากทราบช่องโหว่เชิงเทคนิค เช่น การไม่สแกนก็ซื้อสินค้าได้ ส่วนสามี-ภรรยา ทำหน้าที่เป็นนายหน้าพบว่าได้เงินส่วนต่างจากการกระทำผิด 10 วัน ประมาณ 10,000 บาท
ด้านพ.ต.อ.ภาดล จันทร์ดอน ผกก.5 บก.ปอศ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563 ตำรวจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนจากธนาคารกรุงไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าขายของชำที่ ต.คอกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พบ น.ส.สมปอง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 62 ปี แสดงตนเป็นเจ้าของร้านขายของชำ และพบนายสรัล (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี บุตรชายเจ้าของร้าน จากการตรวจสอบพบ โทรศัพท์มือถือที่ใช้ในระบบ G Wallet จำนวน 5 เครื่อง, ไอแพด 1 เครื่อง, คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง และ บัญชีเงินฝากธนาคาร 6 เล่ม จึงได้ตรวจยึดไว้เป็นของกลางในคดี จากการสอบสวนน.ส.สมปองเจ้าของร้าน ทราบว่าการดำเนินการทั้งหมดนายสรัล บุตรชายเป็นผู้ดำเนินการ โดยนายสรัลให้การยอมรับว่าได้ตกลงร่วมมือกับผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” และใช้ไลน์ชื่อJeerapot ในการติดต่อ และเมื่อได้รับเงินจากรัฐบาล ได้โอนเงินคืนให้กับเจ้ามือ ผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อ นายจีรพจน์ โดยทางร้านค้าจะได้ผลประโยชน์ 30 บาทต่อราย ส่วนผู้ใช้ไลน์ชื่อJeerapot ได้ 30บาทต่อราย คนที่มาขายสิทธิจะได้เงิน รายละ 90 บาท และตำรวจได้ลงพื้นที่สอบสวนปากคำประชาชนที่ใช้สิทธิ์ผ่านร้านค้าดังกล่าวจำนวน 14 จุด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เช่น จังหวัดลพบุรี, ชลบุรี, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, เชียงใหม่ สงขลา ฯลฯ
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามยอมรับว่ายังไม่สามารถสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ เพราะอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่เชื่อว่าความเสียหายนั้นจะไม่สูง เนื่องจากทางธนาคารได้เฝ้าระวังและสั่งหยุดจ่ายเงินทันทีเมื่อพบความผิดปกติ สำหรับข้อมูลพบว่ามีร้านค้าที่กระทำความผิดจำนวนอีกกว่า 700 ร้านค้า ซึ่งหลังจากนี้ตำรวจจะดำเนินการตรวจสอบและจับกุมดำเนินคดีต่อไป
นอกจากนี้ยังฝากเตือนถึงประชาชนว่าแม้คดีฉ้อโกง จะมีอัตราโทษไม่มาก จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ 5 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ 100,000 บาท แต่การกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จะถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ หากมีการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวซ้ำๆ หลายครั้ง ก็จะได้รับโทษในแต่ละครั้งเมื่อรวมแล้วอาจจะได้รับโทษสูง จึงขออย่าได้เข้าร่วมในการกระทำการทุจริตในโครงการดังกล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |