อดีตผู้คุมคุกลับ CIA ในไทยชักถอดใจ เสนอถอนตัวจากเก้าอี้ ผอ.


เพิ่มเพื่อน    

เผย "จีนา แฮสเปล" อดีตผู้คุมคุกลับของซีไอเอในไทยที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อเป็นผู้อำนวยการซีไอเอคนใหม่ แสดงเจตนารมณ์อยากถอนตัวจากเก้าอี้นี้ เนื่องจากกังวลการไต่สวนของวุฒิสภาวันพุธจะสร้างความเสียหายต่อซีไอเอ แต่ทำเนียบขาวกล่อมจนเปลี่ยนใจ

แฟ้มภาพ จีนา แฮสเปล ผู้ได้รับการเสนอชื่อรับตำแหน่งผู้อำนวยการซีไอเอ ร่วมพิธีสาบานตนของไมค์ ปอมเปโอ เพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 / AFP

    รายงานของสำนักข่าวบีบีซีและรอยเตอร์เมื่อวันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 กล่าวว่า รักษาการผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ) วัย 61 ปีรายนี้ถูกเรียกเข้าทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการให้การต่อคณะกรรมาธิการการข่าวกรอง วุฒิสภา วันพุธที่จะถึงนี้ และหารือเรื่องประวัติการทำงานของเธอในโครงการรีดเค้นข้อมูลของซีไอเอที่ใช้เทคนิคทารุณทรมาน ซึ่งรวมถึงวอเตอร์บอร์ดดิง (การทำให้สำลักน้ำ)

    ตามรายงานของวอชิงตันโพสต์ ที่เปิดเผยข่าวนี้เป็นที่แรก โดยอ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ไม่ให้เปิดเผยชื่อ 4 คน แฮสเปลได้เสนอที่จะถอนตัวจากตำแหน่งนี้ โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการไต่สวนที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อตัวเธอและซีไอเอ จากนั้นเธอได้ขอตัวกลับไปยังสำนักงานใหญ่ซีไอเอที่เมืองแลงลีย์ รัฐเวอร์จิเนีย

    โพสต์กล่าวว่า คณะทำงานของทำเนียบขาวหลายคนซึ่งรวมถึงมาร์ก ชอร์ต ผู้ประสานงานด้านนิติบัญญัติ และซาราห์ แซนเดอร์ส โฆษกทำเนียบขาว ได้รุดไปยังแลงลีย์เพื่อหารือกับเธอในวันเดียวกัน โดยใช้เวลาเกลี้ยกล่อมนานหลายชั่วโมง แต่แฮสเปลไม่รับปาก จนกระทั่งบ่ายวันเสาร์ เธอจึงแจ้งต่อทำเนียบขาวว่าตกลงใจจะรับตำแหน่งนี้

จีนา แฮสเปล ภาพจากสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ) / Central Intelligence Agency / AFP

    แฮสเปลทำงานกับซีไอเอมานาน 33 ปี โดยเวลาส่วนใหญ่ทำหน้าที่สายลับปกปิดตัวตน ทรัมป์เลือกเธอมารับตำแหน่งสูงสุดขององค์กรนี้หลังจากเขาแต่งตั้งไมค์ ปอมเปโอ นายของเธอ ขึ้นรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อเดือนที่แล้ว หากวุฒิสภารับรอง แฮสเปลจะเป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของซีไอเอ

    อย่างไรก็ดี ยังมีความไม่แน่นอนในการลงคะแนน เนื่องจากรีพับลิกันมี ส.ว.แค่ 51 คน เกินครึ่้งอย่างฉิวเฉียด และยังมีปัญหา ส.ว.จอห์น แม็คเคน ลาป่วยยาวด้วย

    รายงานบีบีซีกล่าวว่า แฮสเปลมีปัญหาที่ต้องกังวลในการไต่สวนของวุฒิสภาจากประวัติการทำงานของเธอ ที่เคยเป็นผู้บริหาร "คุกลับ" ของซีไอเอภายในฐานทัพอากาศที่จังหวัดอุดรธานีของไทย ซึ่งใช้วิธีการทารุณทรมานเพื่อรีดเค้นข้อมูลจากผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย โดยผู้ต้องสัยอัลกออิดะห์คนสำคัญอย่างน้อย 2 คนถูกทรมานที่นี่เมื่อปี 2545 คือ อะบู ซูเบดาห์ และอับดัล ราฮิม อัลนาชิรี ที่ถูกจับกุมในต่างแดนแล้วถูกส่งมาที่นี่ ส.ว.เดโมแครตหลายคนชี้ว่าบทบาทของเธอในการคุมคุกลับที่นี่ทำให้เธอขาดคุณสมบัติ

    แฮสเปลยังมีชนักติดหลังกรณีการร่างคำสั่งเมื่อปี 2548 ให้ทำลายวิดีโอเทปการทารุณผู้ต้องสงสัยอัลกออิดะห์ แต่ผู้สนับสนุนเธออ้างว่า โฮเซ โรดริเกซ หัวหน้าของเธอในหน่วยปฏิบัติการลับซีไอเอ ส่งร่างเอกสารนี้โดยที่แฮสเปลยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบจากพอร์เตอร์ กอส ผู้อำนวยการซีไอเอขณะนั้น รวมถึงไม่แจ้งให้เธอรู้ด้วย

    จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้นเป็นผู้อนุมัติโครงการส่งตัวข้ามแดน, กักขังและรีดเค้นข้อมูลจากผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย ภายหลังการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 แต่รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา สั่งให้ยุติโครงการนี้และสั่งปิดคุกลับในต่างแดนทั้งหมด

    ราช ชาห์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าวปกป้องแฮสเปลว่า รักษาการผู้อำนวยการซีไอเอรายนี้เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างสูง เธออุทิศตัวรับใช้ประเทศนี้มานานกว่า 3 ทศวรรษ การเสนอชื่อเธอจะไม่ล่มไปเพราะพวกนักวิจารณ์ที่เข้าข้างองค์กรสิทธิ แทนที่จะเห็นด้วยกับซีไอเอว่าจะทำให้คนอเมริกันมีความปลอดภัยได้อย่างไร.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"