การศึกษากับสำนึกคนรุ่นใหม่ มุ่งสู่ Global Citizen ด้วย ‘หลักสูตรนานาชาติ’


เพิ่มเพื่อน    

16 ธ.ค.63 - ในวันที่วัฒนธรรมข้ามพรมแดนไหลบ่าเข้ามาให้เลือกเสพอย่างล้นทะลัก การสื่อสารได้ชักนำให้โลกทั้งใบกลายเป็นหนึ่งเดียวกับทุกคน จึงไม่แปลกที่วันว่างของเด็กชายจะหมดไปกับการ์ตูนอนิเมชั่นภาษาต่างประเทศ น้องสาวคุ้นชินกับบทบาทเจ้าหญิงเอลซ่าราวกับว่าเธอถือกำเนิดมาจากดินแดนหิมะ ขณะที่คู่รักเพลิดเพลินอยู่กับ Netflix มากกว่าการซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ในโรงหนัง

เมื่อโลกรวมเป็นหนึ่ง คนยุคสมัยนี้จึงมีสำนึกว่าตัวเองเป็นพลเมืองของโลก (Global Citizen) มากกว่าการเป็นประชาชนของประเทศเดียว แน่นอนว่าการศึกษาต้องสอดคล้องกับสำนึกใหม่นี้ด้วยเช่นกัน

ณ ปี 2020 มีการพูดถึงการเรียนการสอนของ “หลักสูตรนานาชาติ” มากขึ้น ด้วยเชื่อว่าหลักสูตรนานาชาติจะช่วยหนุนเสริมและเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนเพื่อก้าวไปเป็นส่วนหนึ่งของโลกอย่างกลมกลืน

รศ.ดร.พิษณุ ตู้จินดา อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) อธิบายว่า ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว มีการแชร์องค์ความรู้และเทคโนโลยีจากทั่วโลก เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นตลอดเวลา หลักสูตรนานาชาติจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษาก้าวออกจากกรอบเดิมๆ เพื่อไปเป็นส่วนหนึ่งของโลก

หลักสูตรนานาชาติจึงมีข้อกำหนดมากมาย อาทิ หลักสูตรต้องได้รับมาตรฐานเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยนานาชาติ ต้องมีความหลากหลาย มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่าง มีแหล่งความรู้และเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เท่าทันปัจจุบัน

“การเรียนร่วมกับชาวต่างชาติทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น เราจะรู้ว่าประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ seniority มาก การล้อเล่นกับผู้ใหญ่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ การดีลธุรกิจกับคนญี่ปุ่นหากเราไม่มีสัมมาคารวะก็จะถูกเช็คลิสต์ไว้ คะแนนจะตก หรือในญี่ปุ่นเราจะใส่สีขาวไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของงานศพ ซึ่งแน่นอนว่า ในแต่ละประเทศก็มีเรื่องละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันออกไป” รศ.ดร.พิษณุ ยกตัวอย่าง

เห็นได้ชัดว่า หลักสูตรนานาชาติไม่ใช่แค่การสอนเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว หากแต่มุ่งเน้นไปที่ความเข้าใจและการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้อื่นด้วย

รศ.ดร.วารี กงประเวชนนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายรับเข้าศึกษาและประชาสัมพันธ์ SIIT อธิบายว่า ผู้ที่เรียนในหลักสูตรนานาชาติจะเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม เข้าใจถึงมุมมอง วิธีคิด ตลอดจนธรรมชาติของเพื่อนร่วมชั้นที่เป็นชาวต่างชาติ นั่นทำให้ผู้เรียนมีความยืดหยุ่น เปิดใจ และสามารถปรับทัศนคติเพื่อยอมรับความแตกต่างได้

“ยกตัวอย่างขณะนี้เรามีนักเรียนจากศรีลังกาเข้ามาร่วมด้วย หากเป็นสมัยก่อนนักศึกษาจะคิดว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนอินเดีย หรือมองว่าผู้ที่นุ่งผ้าส่าหรีต้องเป็นคนอินเดียเท่านั้น แต่เมื่อได้เรียนรู้ก็จะเข้าใจว่าคนศรีลังกาไม่ใช่คนอินเดีย และคนศรีลังกามีมิติทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับคนไทยมาก” รศ.ดร.วารี ระบุ

รศ.ดร.วารี อธิบายต่อไปว่า การเข้าใจความแตกต่างสัมพันธ์โดยตรงกับชีวิตการทำงานในอนาคต นั่นเพราะการทำงานจำเป็นต้องทำร่วมกับผู้คนที่หลากหลาย ต่างอายุ ต่างเจนเนอเรชั่น ต่างสัญชาติ ต่างความเชื่อ ฉะนั้นการทำงานจะต้องมีความกลมกลืนและเข้าใจถึงแนวคิดของผู้อื่นจึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งจากการสำรวจนักศึกษาที่จบจาก SIIT พบว่าจะมีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่อื่น และมีอัตราการหางานได้ถึง 95% ขณะที่ผลตอบรับของนายจ้างต่อความพึงพอใจในตัวบัณฑิตก็อยู่ในระดับที่สูงมาก

รองผู้อำนวยการฝ่ายรับเข้าศึกษาและประชาสัมพันธ์ SIIT บอกอีกว่า ขณะนี้ SIIT อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 “โครงการ Inter Portfolio 1” (ยื่นพอร์ต) ไปจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2563 

สำหรับการทำ portfolio มีข้อแนะนำคือควรเขียนออกมาให้น่าสนใจ ครบถ้วนและกระชับ บ่งบอกสิ่งที่ตัวนักศึกษาได้เรียนรู้มา โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดึงจุดแข็งของตัวเองออกมานำเสนอให้สอดคล้องกับคณะที่อยากเข้าเรียน หลักสำคัญคือการแสดงศักยภาพของตนเองให้ทางคณะอาจารย์ได้เห็น 
    
นอกจากนี้ SIIT ทุนการศึกษาจากโครงการสร้างปัญญาวิทย์ผลิตนักเทคโน (YSTP) ทั้งทุนเต็มจำนวน ทุนครึ่งจำนวน ทุนบางส่วน และทุน สอวน. สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาหรือศึกษาจบการศึกษาในระดับชั้น ม.ปลาย หรือเทียบเท่า และมีเกรดเฉลี่ยสะสม ม.4 - ม.6 รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.75
    
ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.siit.tu.ac.th หรือโทร 02-986-9009 ต่อ 1002 - 1006.


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"