'DITP'รุกตลาดเอเชียจัดเจรจาการค้าออนไลน์หนุนสินค้าไทยเข้าห้างและซูเปอร์ในต่างประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

 


15 ธ.ค. 2563 นายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามนโยบายรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ให้เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” ซึ่งมอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) หรือทูตพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นพนักงานขายหรือเซลส์แมนประเทศ เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าไทย ซึ่งกรมเล็งเห็นถึงโอกาสของสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงจัดกิจกรรม “Taste of Thailand”  โดยมีกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม คือ การเจรจาการค้าออนไลน์ (Online Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าที่มีอำนาจในการสั่งซื้อของห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย จีน และมาเลเซีย เพื่อจัดซื้อ (Sourcing) สินค้าไทยเพิ่มเติม ซึ่งจัดไปแล้วระหว่างวันที่ 23 - 27 พฤศจิกายน 2563  ทั้งนี้ 5 วัน มียอดคาดการณ์มูลค่าการสั่งซื้อกว่า 200 ล้านบาท โดยสินค้าที่มีการสั่งซื้อสูงสุด ได้แก่ ถั่วแระญี่ปุ่น อาหารสำเร็จรูป อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง ไอศครีม ผงปลาแซลมอน น้ำตาลมะพร้าวออร์แกนิค ซอสปรุงรส ข้าวโพดหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง ผักผลไม้แช่แข็ง ผลไม้อบแห้ง ข้าวผสมธัญพืช และหนังปลากรอบ เป็นต้น

สินค้าที่ส่งออกไปตลาดนี้ครั้งแรก ได้แก่ ห่อหมกปลา/กุ้ง/ปู/ผัก ไก่จ๊อ ไอศครีมรสทุเรียน อาหารประเภท Plant Base มันม่วงพร้อมรับประทาน เครื่องดื่มอินทผลัม คุกกี้สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
 

หลังจากผ่านกิจกรรมการเจรจาการค้าออนไลน์เรียบร้อยแล้ว เพื่อกระตุ้นความต้องการรวมถึงยอดขายสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง จึงนำสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (In-store promotion) ในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในต่างประเทศ กว่า 600 สาขา ตลอดปี 2564 อาทิ ห้างดองกี (Donki) และอิออน ในญี่ปุ่น ห้างฮุนได (Hyundai) ในเกาหลีใต้ ซุปเปอร์มาร์เก็ตวูลเวิร์ธส (Woolworth) ในออสเตรเลีย และห้างอิออน (AEON) ในมาเลเซียเป็นต้น ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคไทย เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าได้แล้ว ยังเป็นช่องทางในการเสริมสร้างการรับรู้และส่งเสริมแบรนด์สินค้าไทยให้เป็นรู้จัก รวมถึงเพิ่มจำนวนสินค้าไทยในการเจาะตลาดเอเชียอีกด้วย

นายวิทยากรฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “กรมฯ เห็นถึงพลังของการจัดกิจกรรมเจรจาการค้าออนไลน์ที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการไทยขายสินค้าได้ แม้อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากมีทูตพาณิชย์คัดกรองผู้ซื้อที่มีคุณภาพในต่างประเทศให้มาเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการศักยภาพของไทย โดยทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อศึกษากันและกันล่วงหน้าก่อนเริ่มการเจรจาการค้า การซื้อขายระหว่างกันจึงมีศักยภาพมากขึ้นสามารถช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยส่งออกได้  ทั้งนี้กิจกรรมเจรจาการค้าออนไลน์ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคไทยครั้งต่อไป  กำหนดจัดขึ้นประมาณปลายเดือนมกราคม 2564
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"