13 ธ.ค.63-ที่ร้านโรงคั่ว นายโกปี้ ต.บ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง ได้จัดให้มีการเปิดเวทีดีเบตโชว์วิสัยทัศน์ว่าที่นายก อบจ.ตรัง โดยสภากาแฟเครือข่ายสมัชชาเพื่อสุขภาพ เครือข่าย เขา ป่า นา เล หลาด จ.ตรัง นำโดย นายชัยพร จันทร์หอม และตัวแทนจากเครือข่ายเขา ป่า นา เล หลาด เข้าร่วมรับฟังและเสนอแนะ ซึ่งมี นายสาทร วงศ์หนองเตย ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. หมายเลข 2 ทีม ตรังพัฒนาเมืองตรัง และนายภูผา ทองนอก ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. หมายเลข 3 ทีมตรังก้าวใหม่ ซึ่งงานนี้ไร้เงาว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. นายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ หมายเลข 1 ทีมกิจปวงชน หรือตัวแทน ส่งผลให้การเปิดเวทีช้าไปกว่ากำหนดเกือบครึ่งชั่วโมง พร้อมกับมีการไลน์สดการเปิดสภากาแฟในครั้งนี้ด้วย
โดยประเด็นคำถามจากกลุ่มตัวแทนต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงทางด้านอาหาร อย่างการทำนาที่มีการผลิตแบบครบวงจร ปัญหาแหล่งน้ำต้องขับเคลื่อนการสร้างฝายและระบบน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อให้ตรังมีโอกาสทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง จากที่เคยทำได้เพียงปีละครั้ง รวมทั้งการพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำคลองนางน้อย ที่ปัจจุบันน้ำตื้นเขิน สกปรกไม่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค นโยบายปี 60 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมแต่ที่ผ่านมาแผนงานต่างๆ มาจากข้างบนประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้เลย ความโปร่งใสของการจัดซื้อจัดจ้าง และโครงการต่างๆ ประชาชนต้องทราบ ซึ่งที่ผ่านมาหลายโครงการไม่โปร่งใส แจ้ง สตง. ปปช. ก็บอกจะลงพื้นที่ติดตามแต่เรื่องไม่ขับเคลื่อน ต้องเปิดเวทีขับเคลื่อนสภากาแฟเพื่อการขับเคลื่อนแก้ปัญหา ชี้แนะแนวทางร่วมกัน และปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการสร้างถนนขวางทางน้ำ และงบประมาณของ อบจ. 90% ถูกวางไว้โครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งนี้นายสาทร วงศ์หนองเตย ผู้สมัคร นายก อบจ.ตรัง หมายเลข 2 ทีมตรังพัฒนาเมืองตรัง กล่าวว่า การทำสภาเมืองเปิดรับความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ต้องมีสภาเมือง ตรังมี 46 บ้านนา มีข้าวหลายสายพันธ์ที่เป็นของคนตรัง อบจ.ต้องเข้าไปสนับสนุนการทำนาไม่เช่นนั้นที่ดินแปลงนาจะหลุดไปอยู่ในมือนายทุน ทั้งนี้ต้องทำ อบจ.ดิจิตอล ดูปัญหาของเมืองตรังและการรวบรวมข้อมูลและร่วมหาแนวทางแก้ไขสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยมี อบจ.เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งผู้นำชุมชนจะรู้มีความเข้าใจในพื้นที่มากกว่า ไม่ใช่รอแต่ถุงยังชีพเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ส.อบจ.เองเป็นเป็นฝ่ายนิติบัญญัติสามารถเสนอเข้าระบบบัญญัติได้ โดยที่ถึงแม่จะลาออกไปแล้ว แต่บัญญัตินี้ก็ยังคงอยู่ ความโปร่งใสความสุจริตประชาชนตรวจสอบได้ การพัฒนาจะต้องมีฝ่ายหนึ่งเสียผลประโยชน์แต่เมื่อเข้าสภาเมืองแล้วกระบวนการทุกอย่างเป็นไปอย่างเหมาะสม สมดุล
ส่วนทางด้านนายภูผา ทองนอก ผู้สมัคร นายก อบจ.ตรัง หมายเลข 3 ทีมตรังก้าวใหม่ กล่าวว่า ต้องการให้ อบจ.เป็นพื้นที่ของทุกๆ คนที่ผ่านมาภาคประชาชน พ่อค้า นักธุรกิจ ไม่มีพื้นที่เสดงความคิดเห็นใน อบจ. การเมืองเป็นของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนรวย รัฐต้องพัฒนาให้ทันสมัย และต้องพัฒนาพันธ์พืช ปัญหาประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเมืองตรัง การมองที่ปัญหาต้องมองที่ต้นตอและต้องตกผลึกเพื่อต่อยอดแก้ปัญหานั้น ๆ ปัจจุบันท้องนาเริ่มหายไป "ชลประทานมา นายหายหมด" มองว่าภาคใต้โดนละเลยจากภาคการเมืองมีแต่วาทะกรรม เท่านั้น ซึ่งจะกลับมาเรียกร้องให้คนกลับมาทำนาคงยากและเป็นไปไม่ได้ ควรส่งเสริมแปลงนาสาธิต เอาพันธ์ข้าวดีๆ มาปลูก เชิญพานิชลงมาให้มากที่สุด ส่งเสริมงบประมาณลงไป สร้างนาต้นแบบให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ระบบน้ำต้องใช้เทคโนโลยี ชลประทานต้องมีการจัดระบบน้ำผ่านดิจิตอลให้หมด
ส่วนคลองนางน้อยต้องปรับปรุง การพัฒนาทั้ง 2 ฝั่งคลอง ส.อบจ.ถูกเลือกมาจากประชาชนแต่ไม่สามารถทำงานให้ประชาชนได้ อบจ. สามารถออกบัญญัติได้ แต่ต้องไม่ไปกระทบกฎหมายหลัก ด้านความโปร่งใส ประชาชนสามารถรับรู้การบริหารจัดการ โครงการ การก่อสร้าง การปรับปรุง การแก้ไข จาก big data ทางสมาร์ทโฟน และการขัยเคลื่อนคู่ขนานกับภาคประชาชน อบจ.ต้องเป็นสภาเงา คู่ขนานกับสภาชุมชน ที่ผ่านมาการเลือกตั้งหลายระดับสร้างความหวังให้กับประชาชนในเรื่องของสิทธิการทำกินแล้วก็ถูกทอดทิ้ง อบจ.ต้องมีวิสัยทัศน์ เข้าไปพบหน่วยงานเพื่อขอบริหารจัดการ ต้องเป็นเจ้าภาพในการเข้าไปหาหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงการสร้างโรงเรียน อบจ. ซึ่งทั้งหมดอยู่ในการตัดสินใจการบริหารของนายก อบจ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |