13ธ.ค.63-นายอาทิตย์ ฤทธิณรงค์ นิติกรชำนาญการ กองกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยถึงแผนฟื้นฟูขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ในขณะนี้ ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ขสมก.มีความความจำเป็นต้องฟื้นฟูกิจการฯ โดยเร็วที่สุด ซึ่งหากรัฐบาลได้อนุมัติแผนฟื้นฟูฉบับนี้ได้เร็วนั้น มองว่าจะเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของประชาชน การลดมลพิษทางอากาศ (PM 2.5) เนื่องจากจะมีการนำรถโดยสารปรับอากาศไฟฟ้า (EV) มาให้บริการประชาชน เป็นต้น
นอกจากนี้จากสถานการณ์การแพร่เชื้อของไวรัสโคโรนา 2019 (วิด-19) ที่ยังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้นั้น ได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน และยังไม่ทราบว่า เชื้อโควิด-19 จะหมดไปเมื่อไหร่นั้น รวมถึงแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่ได้รับการอนุมัติจาก ครม. มองว่า จากผลกระทบดังกล่าว จะทำให้มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก จะยิ่งกระทบต่อรายได้ของประชาชน ทั้งนี้ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเร่งผลักดันให้แผนฟื้นฟู ขสมก.ได้รับการอนุมัติโดยเร็ว หมายความว่า จะเป็นการช่วยพยุงความเป็นอยู่ในส่วนของการเดินทางของพี่น้องประชาชนในภาพรวมได้เป็นอย่างดี
นายอาทิตย์ กล่าวต่ออีกว่า แผนฟื้นฟูฉบับดังกล่าวนั้น จะมีการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 30 บาท/คน/วัน ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวและจำนวนเส้นทาง ตยมองว่า จะเป็นประโยชน์ของผู้ใช้บริการโดยตรง เนื่องจากรถโดยสารปรับอากาศที่ให้บริการในปัจจุบัน มีการเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ราคา 14-26 บาท ซึ่งยังมีผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการรถเมล์หลายต่อ ทำให้ค่าโดยสารที่ต้องจ่ายเกิน 100 บาท/วัน ดังนั้น การจัดเก็บค่าบริการแบบเหมาจ่ายวันละ 30 บาท จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่มากนัก หรือตั้งแต่คนรากหญ้าถึงชนชั้นกลาง
“ยอมรับว่าแผนฟื้นฟู ขสมก. ฉบับดังกล่าว มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องใช้งบประมาณในการจัดหารถเมล์ใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายสูงค่อนข้างเยอะ โดยในมุมมองของผู้บริโภค ก็เอาใจช่วยหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อพลักดันนโยบายเหล่านี้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เนื่องแผนฟื้นฟูของ ขสมก.ฉบับนี้ เป็นการยกระดับการให้บริการทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่ายของประชาชน” นายอาทิตย์ กล่าว
ด้านนายกรวิชญ์ ขวัญอารีย์ แอดมินเพจเมล์เดย์ (Mayday) กล่าวว่า ขณะนี้รถโดยสารสาธารณะหลายคันที่ ขสมก.ให้บริการอยู่ในขณะนี้ มีอายุการใช้งานค่อนข้างมากแล้ว ประกอบกับในปัจจุบันเข้าสู่ฤดูหนาวอีกครั้ง ส่งผลให้รถโดยสารเก่าปล่อยมลพิษ และมีฝุ่นละออง PM 2.5 ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นหากได้รถเมล์ไฟฟ้าคันใหม่มาให้บริการ จะช่วยบรรเทาปัญหาในส่วนนี้ได้ อีกทั้ง ยังจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการด้วย
ทั้งนี้ หากมีรถโดยสารปรับอากาศคันใหม่ หรือรถไฟฟ้ามาให้บริการ มองว่าจะเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล เนื่องจากปัจจุบันต้องยอมรับว่า รถเมล์ได้ตกเป็นจำเลยในเรื่องของยานพาหนะที่สร้างมลพิษ ดังนั้นการได้รถโดยสารใหม่มาให้บริการ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่จะฝากถึงภาครัฐ คือ ประสิทธิภาพและการใช้งานของตัวรถ เนื่องจาก กทม. มีปริมาณการจราจรที่หนาแน่น และประเมินเวลาได้ยาก จึงไม่อยากให้มีปัญหาเกิดขึ้น กล่าวคือ ถ้าได้รถโดยสารใหม่มาแล้ว ยังต้องมาจอดเสีย จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่แย่ต่อเนื่องต่อไป เหมือนในอดีตที่ ขสมก.เคยนำรถเมล์ใหม่มาให้บริการ แต่เกิดปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องระหว่างวิ่งให้บริการ จะทำให้เกิดข้อครหาตามมาภายหลัง
“อยากฝากถึงภาครัฐในการจัดหารถเมล์ใหม่ ในเรื่องของความชัดเจนในการปฏิรูปเส้นทางเดินรถและเลขสายของรถ ผมมองว่า การที่หน่วยงานของรัฐยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ จะเป็นการสร้างภาระความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทั้งในเรื่องของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่เลขสายจะต้องเปลี่ยน หรือเส้นทางที่จะต้องปรับเปลี่ยน ดังนั้น การที่หน่วยงานของภาครัฐ มีความชัดเจนในเรื่องนี้แล้ว ดังนั้นต้องมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนรับรู้ล่วงหน้าด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน” นายกรวิทญ์ กล่าว
ขณะที่ นางสาวปนัดดา ประสิทธิเมกุล ภาคประชาชนผู้ใช้รถเมล์ กล่าวว่า ในฐานะผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ อยากให้ภาครัฐมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เนื่องจากการปรับแผนฟื้นฟู ขสมก.ดังกล่าว ประโยชน์จะตกเป็นของประชาชนทุกคน หากได้รถใหม่ที่มีคุณภาพ เป็นรถปรับอากาศ จะทำให้คุณภาพชีวิตผู้ใช้บริการ รวมถึงพนักงานขับรถเปลี่ยนไป ในส่วนราคาค่าโดยสารตามแผนฟื้นฟู ขสมก.นั้น ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน เนื่องจากหากคิดตามราคาเดิม ส่วนตัวมองว่า ประชาชนเสียประโยชน์อย่างเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวถึงความคืบหน้าแผนฟื้นฟู ขสมก. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ทั้งในส่วนของกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ (สศช.) ซึ่งประเมินว่า ในปัจจุบันการดำเนินการแผนฟื้นฟูดังกล่าว ได้ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งถึงแม้ ครม.จะมีมติเห็นชอบภายใน ธ.ค. 2563 นั้น ขสมก.ก็จะเริ่มทยอยรับรถโดยสารไฟฟ้าล็อตแรก จำนวน 400 คัน ในช่วงเดือน พ.ค. 2564 จากเดิมจะเริ่มทยอยรับเดือนมี.ค. 2564 และหากยังเลื่อนออกไปอีก ก็ขยับกรอบระยะเวลาออกไปอีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม พร้อมที่จะอธิบายความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากยังรอต่อไป มองว่า จะยิ่งเสียโอกาสในหลายเรื่อง อาทิ ขสมก.ขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ประชาชน ก็จะได้ใช้บริการที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงสภาพรถที่นำมาให้บริการ จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมลพิษทุกวัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |