13 ธ.ค.2563 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง “เครื่องแบบนักเรียน จะเอาอย่างไร?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,332 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มนักเรียนเลวที่ให้ยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อเครื่องแบบนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.15 ระบุว่า เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย รองลงมา ร้อยละ 24.47 ระบุว่า เป็นการบ่งบอกถึงสถานศึกษาของนักเรียน ร้อยละ 7.96 ระบุว่า เป็นการป้องกันการแอบอ้างเป็นนักเรียน ร้อยละ 7.88 ระบุว่า เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ร้อยละ 6.31 ระบุว่า ทำให้ผู้ปกครองประหยัด ร้อยละ 4.58 ระบุว่า เป็นความภาคภูมิใจของนักเรียน / ผู้ปกครอง ร้อยละ 4.28 ระบุว่า เพิ่มภาระด้านการเงินให้ผู้ปกครอง ร้อยละ 3.83 ระบุว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพของนักเรียน ร้อยละ 1.35 ระบุว่า ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ โอกาส ร้อยละ 1.13 ระบุว่า เป็นการแบ่งชนชั้นระหว่างโรงเรียน ร้อยละ 0.98 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.75 ระบุว่า ทำให้นักเรียนไม่ปลอดภัย และร้อยละ 0.60 ระบุว่า เป็นเครื่องหมายของการกดขี่ / อำนาจนิยม
ด้านความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนักเรียนเลวที่ให้ยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.67 ระบุว่า การบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนควรมีต่อไป รองลงมา ร้อยละ 12.09 ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไพรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง ร้อยละ 7.06 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนอยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 5.10 ระบุว่า สมควรให้นักเรียนได้มีอิสระที่จะเลือกว่าจะใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียนหรือไม่ ร้อยละ 3.23 ระบุว่า ควรให้เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียนเป็นไปตามประชามติของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 2.40 ระบุว่า สมควรยกเลิกการใส่เครื่องแบบนักเรียนไปโรงเรียน และร้อยละ 0.45 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ซึ่งเมื่อถามถึงจำนวนวันจากผู้ที่ระบุว่าในรอบสัปดาห์ควรอนุญาตให้ใส่ชุดอื่น ๆ (ชุดไพรเวต) ไปโรงเรียนได้บ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.93 ระบุว่า 1 วันต่อสัปดาห์ รองลงมา ร้อยละ 37.27 ระบุว่า 2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 9.94 ระบุว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 1.86 ระบุว่า 4 วันต่อสัปดาห์
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนเลว พบว่า ร้อยละ 7.66 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นสิทธิส่วนบุคคล ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิของกลุ่มนักเรียนที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น ร้อยละ 21.10 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากหน้าที่หลักของนักเรียนคือการเรียนหนังสือไม่ใช่ออกมาชุมนุมประท้วง ร้อยละ 51.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ควรใช้เวลาทุ่มเทให้กับการเรียนจะดีกว่า และร้อยละ 6.23 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |