พวกเขาเริ่มต้นด้วยการแสดงความคิดเห็นเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการเขียนบทความ แสดงปาฐกถา อภิปราย และให้สัมภาษณ์ ที่ทำให้เรารู้ว่าเจตนาในการเข้ามาทำงานการเมืองของเขาคืออะไร เขาต้องการมาเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไทย เขาต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เขาเป็นคนไม่มีศาสนา และหลายครั้งพวกเขาแสดงทัศนะชังชาติ มีพฤติกรรมของคนเนรคุณแผ่นดินด้วยจิตใจที่ต่ำช้าสามานย์ยิ่งนัก
เขารู้ว่าผู้ใหญ่มีข้อมูลที่ดี หลอกไม่ได้ เขาจึงต้องหันไปใช้เด็กเป็นเครื่องมือ เขารู้ใจเด็กๆ ว่าอึดอัดกับกฎระเบียบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎบ้านของพ่อแม่ กฎระเบียบของโรงเรียน และกฎหมายของสังคม เขาจึงสร้างวาทกรรมให้เด็กมองดูกฎเหล่านั้นว่าเป็น “แอก” ที่เด็กๆ ต้องแบก และพยายามชี้ว่าถึงเวลาที่จะต้องปลดแอก ใช้วาทกรรมเรื่อง “เสรีภาพ” และเรื่อง “ประชาธิปไตย” ที่จะเป็นการปลดแอก เพื่อให้พ้นจากการถูกกดทับ ด้วยวาทกรรม “สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส” ยุทธศาสตร์ของเขาได้ผล เพราะเด็กๆ กำลังโหยหา “เสรีภาพ” ที่อยากทำอะไรได้ทุกอย่างตามใจตัวเอง จึงพร้อมที่จะออกมาชุมนุม โดยเริ่มต้นด้วยเรื่องที่เด็กรู้สึกว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของพวกเขา นั่นคือเรื่องเครื่องแบบชุดนักเรียน เรื่องการไว้ผม เรื่องตารางเวลาเรียนเพื่อให้มีสิทธิสอบ เรื่องการถูกครูลงโทษ และเรื่องครู (เลวๆ บางคน) ที่ข่มขืนเด็ก
เมื่อประเด็นที่เขาชูขึ้นมาเป็นเหตุจูงใจให้เด็กออกมาชุมนุม ถูกจริตกับเด็กๆ ที่ต้องการอิสรเสรี พวกเขาจึงสามารถดึงเด็กมาลงถนน ทำงานทางการเมืองแทนพวกเขาด้วยการชูประเด็น 3 ประเด็น นั่นคือ นายกรัฐมนตรีต้องลาออก เพราะเป็นเผด็จการ ไม่มีผลงานอะไร รัฐธรรมนูญต้องถูกรื้อ ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะต้องมาจากประชาชน และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อการชุมนุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สองประเด็นแรกก็ไม่มีน้ำหนักในการเดินหน้า เพราะนายกรัฐมนตรียืนยันที่จะไม่ลาออก ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็มีการตั้งคณะกรรมาธิการในการพิจารณาแก้ไขแล้ว
พวกเขาก็เลยมาเน้นประเด็นที่สาม นั่นคือเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่วิญญูชนทั้งหลายเมื่ออ่านสิ่งที่พวกเขาเรียกร้องแล้ว ก็สามารถรู้ได้ว่าพวกเขาไม่ได้คิดจะปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พวกเขาทำตัวเป็นปฏิปักษ์ที่ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และเมื่อเขายกระดับในเรื่องนี้ เด็กๆ และประชาชนที่เคยเป็นแนวร่วมของเขาก็ตาสว่างไปตามๆ กัน พวกเขาตระหนักรู้แล้วว่าการออกมาชุมนุมของเขานั้น เป้าหมายไม่ใช่การปลดแอกให้พวกเขาเรื่องเครื่องแบบและทรงผมแต่อย่างไร แต่มันเป็นวาระส่วนตัวของพวกเขาในการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นสาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขมากกว่า
จากรายการทางโทรทัศน์ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ ดร.อานนท์อธิบายได้อย่างชัดเจน ทำให้คนตาสว่างกันมากมาย
เรียกร้องให้ยกเลิกเครื่องแบบชุดนักเรียน แต่ลูกของตัวเองแต่งเครื่องแบบไปโรงเรียน และพนักงานของบริษัทก็ต้องแต่งเครื่องแบบไปทำงาน
เรียกร้องให้ยกเลิกการหมอบกราบ แต่การแจกทุนที่บริษัทการจัดที่นั่ง การจัดคนนำซองทุนวางบนพาน นั่งพับเพียบอยู่หลังคนแจกที่นั่งเหมือนการให้คนรับทุนเข้าเฝ้า มันย้อนแย้งกับคำพูด
เรียกร้องให้ผู้บริหารทำงานอย่างโปร่งใสซื่อสัตย์สุจริต แต่แม่ถือครองที่ดินอย่างผิดกฎหมาย น้องชายติดสินบนเจ้าหน้าที่หวังได้สิทธิในการเช่าที่ดินทรัพย์สินโดยไม่ต้องประมูล
เรียกหาประชาธิปไตย แต่ล่าสุดนี้มีโลโก้ใหม่ออกมา หน้าตาเหมือนค้อนเคียงของคอมมิวนิสต์ ทำให้ผู้คนสงสัยว่าตกลงจะเป็นประชาธิปไตย หรือจะเป็นคอมมิวนิสต์กันแน่
ทั้งหมดนี้ทำให้หลายคนตาสว่างและต้องถอยออกมา ไม่ต้องการเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนที่พยายามจะล้มล้างสถาบันหลักของประเทศที่จะต้องมีทั้ง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเวลานี้เด็กๆ ที่ออกมาเป็นแกนนำก็ต้องตกที่นั่งลำบาก ต้องไปรายงานตัวตามหมายเรียกที่สถานีตำรวจหลายที่ หลายแห่ง หลายจังหวัด ในขณะที่คนที่มีเป้าหมายทางการเมืองนั้น ไม่ได้อยู่ในสภาพเสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางเหมือนเด็กๆ ที่ออกมายืนแถวหน้า หลายคนที่มาชุมนุมคงตาสว่าง มองออกแล้วว่าคนที่ใช้พวกเขานั้นใจดำอำมหิตแค่ไหน ที่ให้พวกเขาออกมาเสี่ยงกับการทำผิดกฎหมาย โดยที่คนพวกนั้นแอบอยู่ข้างหลังเด็ก ไม่ต้องเผชิญกับชะตากรรมเหมือนกับที่เด็กๆ กำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ เด็กๆ หลายคนมองเห็นและคิดได้ เพราะพวกเขาตาสว่างแล้ว
เสียงก่นด่าว่าเป็นคนหนักแผ่นดิน เสียงผู้คนขับไล่ไปให้พ้นพื้นที่ ทำให้พวกเขาแทบจะไม่มีที่ยืนบนผืนแผ่นดินนี้แล้ว นี่คือเวรกรรมที่พวกเขาจะต้องได้รับจากความเป็นคนอกตัญญูต่อแผ่นดิน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |