การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจนับแต่ที่เคยมีการเลือกตั้ง อบจ.มา เนื่องจากคนไทยไม่ได้เลือกตั้งท้องถิ่นมานานกว่า 8 ปี จึงมีความคาดหวังที่จะมีความเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้ง อบจ. อีกทั้งพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งส่งผู้สมัครอย่างเปิดเผยในนามพรรค ลงแข่งขันในจังหวัดสำคัญ
รวมถึงมีคณะการเมืองกลุ่มหนึ่งที่หวังจะเปลี่ยนแปลงการเมืองในระดับท้องถิ่นส่งผู้สมัครลงด้วย เมื่อโยงกับกระแสการเมืองหลักโดยเฉพาะกระแสคนรุ่นใหม่ คือ พยายามทำให้การเมืองท้องถิ่นใกล้ชิดประชาชน ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นสนามการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการประลองพลังกันระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า กับกลุ่มอำนาจใหม่ที่เข้ามาท้าทาย
ฝ่ายกลุ่มการเมืองใหม่ที่พยายามเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งใน อบจ.คงไม่พ้นกลุ่ม "คณะก้าวหน้า" ที่ในการเลือกตั้งครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 24 มี.ค.62 ลงชิงชัยในนามอดีตอนาคตใหม่ ซึ่งได้ ส.ส.จำนวนมาก อันเนื่องมาจากระบบการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่เอื้ออำนวย ผนวกกับประชาชนต้องการเห็นกลุ่มการเมืองใหม่เข้ามาอยู่สภา นอกเหนือจากขั้วเดิม
โดยหลังจากการเลือกตั้ง และกระแสของอดีตพรรคอนาคตใหม่ที่แตกหน่อเป็นพรรคก้าวไกล ซึ่งได้เผยแนวทางของพรรคอย่างชัดเจนว่าอยู่ฝั่งของกลุ่มราษฎร จะเห็นได้ว่าการช่วยหาเสียงของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในการเลือกตั้ง อบจ.หลายพื้น ที่มักจะได้ผลตอบรับไม่ดีพอสมควร โดยเฉพาะภาคใต้และภาคกลางบางส่วนที่มักมีอุปสรรค ไม่ว่าจะมีคนเดินโห่ไล่ หรือไม่ได้รับการต้อนรับเมื่อเข้าไปหาเสียงตามบ้านเรือน
ซึ่งวิธีหนึ่งที่อาจจะได้ผลที่ทำให้กลุ่มก้าวหน้าจะได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง อบจ.คือ ต้องพยายามปลุกกระแสของกลุ่มวัยรุ่น หรือกลุ่มคนวัยทำงานที่เห็นด้วยกับการที่พรรคก้าวไกลอยู่ข้างม็อบ ที่ทำงานนอกบ้าน นอกพื้นที่ กลับไปใช้สิทธิในพื้นที่ตัวเองมากที่สุด เนื่องจากการเลือกตั้ง อบจ.ที่ผ่านมา คนกลุ่มดังกล่าวกว่าครึ่งหนึ่งมักไม่ได้กลับไปใช้สิทธิ
เนื่องจากต้องยอมรับว่า การเมืองท้องถิ่นที่ผ่านมาแม้เป็นเรื่องใกล้ตัวแต่มันใกล้ตัวกับประชาชนในพื้นที่ คนที่ออกมาทำงานนอกพื้นที่ ออกมาเรียนนอกพื้นที่เขาจะรู้สึกว่าห่างเหินจากบริการที่เขาได้จากท้องถิ่น เพราะฉะนั้นความผูกพันใกล้ชิดก็จะน้อย การที่เขาจะรู้สึกอยากกลับไปเลือกแปลว่าต้องมีแรงจูงใจ คล้ายกับการเลือกตั้งระดับชาติที่ทำไมเรายอมกลับบ้านไปเลือก เพราะเราอยากเลือกรัฐบาล และนโยบายที่เราอยากได้ และที่เราสามารถเลือกได้มีแค่ที่บ้านเท่านั้น
ทำให้มีลักษณะว่า ถ้าอยากให้คนไปเลือกตั้งท้องถิ่นมากก็ต้องสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากกลับมา ซึ่งแรงจูงใจหนึ่งคือ การที่อยากกลับไปเลือกเพราะธนาธร หรือกลุ่มก้าวหน้านั่นเอง
ตัดกลับมาที่ขั้วอำนาจเดิม ใช่ว่าจะอยู่นิ่ง เพราะมีหลายพื้นที่ที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นเดิมนำตัวเอง ตระกูล หรือพรรคพวกตัวเองเข้ามาป้องกันแชมป์ หรือขับเคี่ยวกันเองอีกครั้ง ซึ่งในศึกเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้มีหลายจังหวัดที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ จ.เชียงราย นายมงคลชัย ดวงแสงทอง-อดีต ส.ว.เชียงราย จะต้องเจอกับนางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์-ในนามอิสระ (ลูกสาวนายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย) และ น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์-ทีมเจียงฮายยิ้มได้ (สะใภ้นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย) ภาคเหนือ
จ.เชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร-ในนามเพื่อไทย เจอกับ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์-อดีตนายก อบจ.เชียงใหม่ กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม จ.พะเยา นายชัยประพันธ์ สิงห์ชัย-ในนามคณะก้าวหน้า เจอกับ นายอัครา พรหมเผ่า น้องชาย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า จ.แพร่ นายอนุวัธ วงศ์วรรณ-อดีตนายก อบจ.แพร่ เจอกับ นายสุภวัฒน์ ศุภศิริ-ในนามคณะก้าวหน้า จ.ลำปาง น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร-อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เจอกับ นายจินณ์ ถาคำฟู-อดีตสมาชิกสภา อบจ.ลำปาง และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ลำปาง เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ จ.อุตรดิตถ์ นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา-อดีตนายก อบจ.อุตรดิตถ์ เจอกับนายปัณณวัฒน์ นาคมูล-ในนามคณะก้าวหน้าอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ นายอร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ-อดีต รมช.กระทรวงคมนาคม จะต้องเจอกับ พ.ต.อ.สรวิศ มาอินทร์-อดีตผู้กำกับการกองสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ และ น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ-อดีตรองนายก อบจ. และอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.นครพนม นายณพจน์สกร-ทรัพยสิทธิ์ ในนามคณะก้าวหน้า เจอกับ ดร.สมชอบ นิติพจน์-อดีตนายก อบจ. 2 สมัย กลุ่มพลังเพื่อไทย ฝั่ง จ.นครราชสีมามีการแข่งขันที่เข้มข้นพอควร เพราะจะมีทั้งนายสาธิต ปิติวรา-ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า อดีตผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคอนาคตใหม่ นางยลดา หวังศุภกิจโกศล-ทีมร่วมสร้างโคราชโฉมใหม่ ภรรยาของนายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ นพ.สำเริง แหยงกระโทก-ทีมรักโคราช อดีตนายก อบจ.นครราชสีมา และนายตรีเพชร พรหมนิติพันธ์-อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคชาติไทย
จ.บึงกาฬก็มีการแข่งขันที่เข้มข้นเช่นกัน โดยประกอบด้วย นายอภิเดช รักษาโสม-จากพรรคเพื่อไทย นายอภิเดช รักษาโสม-จากพรรคเพื่อไทย ว่าที่ ร.ต.ภูมิพันธ์ บุญมาตุ่น-จากคณะก้าวหน้า นางแว่นฟ้า ทองศรี-จากพรรคภูมิใจไทย นายนิพนธ์ คนขยัน-อดีต นายก อบจ และนายณัฐพล เนื่องชมภู-อดีต ส.ว. จ.บุรีรัมย์ นายประเสริฐ เลิศยะโส-อดีต ส.ส.บุรีรัมย์ เจอกับ นายภูษิต เล็กอุดากร-อดีต ส.อบจ. มีศักดิ์เป็นหลานชายของนายเนวิน ชิดชอบ จ.มหาสารคาม นายทองหล่อ พลโคตร-อดีต ส.ส.ไทยรักไทย เจอกับ นางคมคาย อุดรพิมพ์-อดีตนายก อบจ.มหาสารคาม และ ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ-อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีต ส.ว.
จ.มุกดาหาร นายสุพจน์ สุอริยพงษ์-ในนามคณะก้าวหน้า อดีตนายก อบต.หว้านใหญ่ เจอ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์-ในนามเพื่อไทย อดีต ส.ว. จ.ยโสธร นายวิเชียร สมวงศ์-อดีต ส.อบจ.ยโสธร น้องชายของ ส.ส.บุญแก้ว สมวงศ์ ส.ส.ยโสธร เขต 2 ในนามกลุ่มเพื่อไทย เจอกับนายสฤษดิ์ ประดับศรี-อดีตนายก อบจ.ยโสธร ในนามคณะก้าวหน้า จ.ร้อยเอ็ด นายเอกภาพ พลซื่อ - อดีต ส.ส.ลงในสายพลังประชารัฐ เจอกับ นายสถาพร ว่องสัธนพงษ์-อดีต ส.อบจ.ร้อยเอ็ด ลงในนามคณะก้าวหน้า และนายมังกร ยนต์ตระกูล-อดีตนายก อบจ. จ.หนองคาย นายยุทธนา ศรีตะบุตร-อดีตนายก อบจ.หนองคาย ทีมรักหนองคาย เจอกับ นายธนพล ไลละวิทย์มงคล-กลุ่มเพื่อไทยหนองคาย นายกฤศภณ หล้าวงศา-ในนามคณะก้าวหน้า นายสมคิด บาลไธสง-อดีต ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย
จ.อุบลราชธานี นายเชษฐา ไชยสัตย์-ในนามคณะก้าวหน้า เจอกับ นายบัณฑิต วิลามาศ-ทีมอนาคตของชาวอุบลฯ อดีตผู้สมัคร ส.ส.อนาคตใหม่ นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์-อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และนายกานต์ กัลป์ตินันท์-อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
ด้านภาคกลาง จ.ปทุมธานี นายชาญ พวงเพ็ชร์-ทีมปทุมรักไทย อดีตนายก อบจ. เจอกับ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง-ทีมคนรักปทุม สายพรรคเพื่อไทย จ.สมุทรปราการ นางนันทิดา แก้วบัวสาย-กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า เจอกับ นายธัชชัย เมตโต-ในนามคณะก้าวหน้า จ.สมุทรสาคร นายเชาวรินทร์ ชาญสายชล-ในนามเพื่อไทย นายอวยชัย จาตุรพันธ์-ในนามคณะก้าวหน้า นายสนธิญา สวัสดี-ทีมประชารัฐสมุทรสาคร จ.ชลบุรี นายวิทยา คุณปลื้ม-ทีมเรารักชลบุรี เจอกับ น.ส พลอยลภัสร์ สิงห์โตทอง-ทีมคณะก้าวหน้าเปลี่ยนชลบุรี และนายสรายุทธ์ วงษ์แสงทอง-อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย กลุ่มชลบุรีก้าวหน้า จ.ระยอง นายปิยะ ปิตุเตชะ-อดีตนายก อบจ.ระยอง เจอกับนางสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์-คณะก้าวหน้า และนายเกรียงไกร กิ่งทอง-พรรคเพื่อไทย
และภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่การแข็งขันเข้มข้นที่สุด ประกอบด้วย นายอำนวย ยุติธรรม-อดีตรองนายก อบต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา น้องชายของนายสายัณห์ ยุติธรรม ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ นางกนกพร เดชเดโช-มารดานายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ นายอิสระ หัสดินทร์-เจ้าของและผู้อำนวยการ รพ.นครพัฒน์ ลงในนามคณะก้าวหน้า นายพิชัย บุณยเกียรติ ทีมทำทันที-อดีต นายก อบจ.นครศรีธรรมราช น้องชายของนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ พรรคประชาธิปัตย์ จ.สุราษฎร์ธานี นายวิเชียร จันทร์บัว-ทนายความและกรรมการบริหารสาขาพรรคชาติพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี นายชุมพล กาญจนะ-อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี ในนามพรรคประชาธิปัตย์ นายมนตรี เพชรขุ้ม-อดีตนายก อบจ.สุราษฎร์ธานี และอดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย นางจิรวรรณ สารสิทธิ์-อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ
นายพงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว-อดีตกำนัน ต.ทุ่งกง และอดีตนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จ.สุราษฎร์ธานี และนายพงษ์ศักดิ์ โพธิครูประเสริฐ-ในนามคณะก้าวหน้า
ในวันที่ 20 ธ.ค. สัปดาห์หน้าที่กำลังจะมาถึง จะเป็นตัวตัดสินว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะยังคงคุมการเมืองระดับท้องถิ่นได้ หรือกลุ่มอำนาจใหม่จะเข้ามาชิงชัยได้ ขึ้นอยู่กับประชาชนชาวไทยเป็นผู้ตัดสินชะตาการเมืองระดับท้องถิ่น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |