ไทยโพสต์ "อิสรภาพแห่งความคิด" www.thaipost.net "ยืนยันว่า ม.112 ส่งผล คือ ส่งผลให้คนออกมามากขึ้น ม.122 คงไม่สามารถสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของราษฎรทั้งหลายได้ ถ้าผมเป็นกุนซือฝ่ายนั้นจะไม่เอามาใช้ เพราะผลในเชิงหวาดกลัวก็ใช้ไม่ได้ กลายเป็นน่าขบขัน ดาบที่เสื่อมแล้วยิ่งเสื่อมไปอีก หากจับผมเข้าไปในเรือนจำอีกรอบ พี่น้องมวลชนยุคนี้ไม่เหมือนยุคก่อน การเคลื่อนไหวไม่สิ้นสุด ไม่ขึ้นโดยใครคนหนึ่ง ยิ่งจับกุมโดยไม่ยุติธรรม เชื่อว่าสถานการณ์ยิ่งตึงเครียดขึ้น เพราะพี่น้องราษฎรไม่ถอยแน่นอน” ชัดเจนใครกันแน่ที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ "บิ๊กกวิ้น" พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำราษฎร ประกาศปาวๆ โฆษณาชวนเชื่อทุกวี่วัน จะปฏิรูปสถาบัน เพราะอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วได้หันมาดูตัวเองกับพรรคพวกบ้างมั้ย ทุกการกระทำทุกคำพูดสะท้อนว่าตัวเองอยู่เหนือทุกสิ่ง กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายไปแล้ว นับวันยิ่งกู่ไม่กลับ อย่างนี้จะเรียกร้องให้ใครมาปฏิรูปพวกคุณกันดีล่ะ
๐ หญิงหน่อย "คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์" ขยับรอบสองลงพื้นที่จังหวัดน่าน ช่วยหาเสียงให้กับนายนพรัตน์ ถาวงศ์ ผู้สมัครนายก อบจ.น่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยมีหมอชลน่าน ศรีแก้ว รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะเจ้าของพื้นที่คอยต้อนรับ งานนี้ "หญิงหน่อย" ก็ไปหลายพื้นที่ ทั้งวัดภูมินทร์ วัดหัวเวียงใต้ วัดก๋ง รวมถึงตลาดสดในหลายอำเภอ โดยชูแก้จนอ้อนขอคะเแนนชาวน่าน เรียกว่าทำหน้าที่ไม่ต่างจากสมัยเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อไทยยังไงยังงั้น เพียงแค่ครั้งนี้มาในนามส่วนตัว การที่ผู้สมัครในหลายพื้นที่ยังเชิญหญิงหน่อยมาลงพื้นที่หาเสียงก็เท่ากับตอกหน้าผู้ใหญ่เพื่อไทยหงายผลึ่งทีเดียว แว่วมาว่าฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้หญิงหน่อยตัดขาดเพื่อไทย ก็เพราะภายหลังยุบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งท้องถิ่นขึ้นมาทำหน้าที่แทน ก็ดัน "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" เป็นหัวหอกหลักในการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. พร้อมกับคำสั่งห้ามผู้สมัครทุกจังหวัดเรียกใช้บริการ "หญิงหน่อย" อีกต่อไป ก็เท่ากับว่าทั้งที่น่านและกาฬสินธุ์ที่หญิงหน่อยไปหาเสียงก่อนหน้านี้ ไม่ยี่หระประกาศิตพรรค แถมยังส่งสัญญาณกลายๆ ถึงความแนบแน่นระหว่าง ส.ส.ในพื้นที่กับหญิงหน่อย ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า กลุ่ม "สร้างไทย" ที่จะอาจจะแปรเป็นพรรคไทยสร้างไทยในอนาคต จะมีชื่อ ส.ส.เหล่านี้ด้วยหรือเปล่า ไว้เลือกตั้งเมื่อไหร่ค่อยมาว่ากันอีกที
๐ นับถอยหลังใกล้เข้ามาทุกที สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ ระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กับการเลือกนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. ยิ่งในช่วงโค้งสุดท้าย ขับเคี่ยวกันดุเดือดในหลายพื้นที่ มีทั้งที่เป็นคู่แข่งที่เป็นฝ่ายตรงข้าม หรือศึกสายเลือดที่สาดใส่กันจนลามถึงการตัดสัมพันธ์ที่เคยดีต่อกัน อย่างนายก อบจ.เชียงใหม่ นอกจากนี้หลายคนยังจับจ้องไปที่คณะก้าวหน้า ภายใต้การนำของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ส่งคนชิงชัยสนามนี้ถึง 42 จังหวัด ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากคนในพื้นที่หลายจังหวัด ถึงท่าทีการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบสามนิ้วอย่างชัดเจน จนเจ้าตัวถูกไล่ในหลายจุดที่ไปหาเสียง ขณะทื่ในส่วนนักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจกับปรากฏการณ์นี้ "รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ" นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการคลังท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มองว่า "ผลการเลือกตั้งที่ออกมา คนของคณะก้าวหน้า โดยเฉพาะนายก อบจ. อาจได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ง่าย จะไม่ได้แบบเทกระจาดเหมือนตอนเลือกตั้ง ส.ส.ปีที่แล้ว เพราะตอนเลือกตั้ง ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ได้กติกาการเลือกตั้งแบบใหม่มาช่วยหนุน แล้วก็ได้กระแสพรรคจากองค์ประกอบต่างๆ เช่น คะแนนนิยมจากผู้บริหารพรรค รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ผลจากการที่ไทยรักษาชาติถูกยุบ ก็ทำให้มีคะแนนเทเข้าไปให้อนาคตใหม่แทน ส่วนการเลือกตั้ง อบจ.รอบนี้ โอกาสที่จะอาศัยกระแสอนาคตใหม่เดิม อาจจะยังพอมี แต่โอกาสที่จะได้จากตัวผู้สมัคร เช่นความน่าเชื่อถือส่วนบุคคลน้อยกว่าครึ่ง ผลงานก็ไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ดังนั้นหากได้สัก 10 คน ก็ถือว่าเก่งแล้ว ก็อาจถือว่าเขาก็ success ในฐานะที่เพิ่งลงการเลือกท้องถิ่นครั้งแรก ยิ่งหากเทียบจากที่ส่งลง 42 คน ก็คือได้ 1 ใน 4 เพียงแต่มันไม่ง่าย" วันอาทิตย์หน้าได้รู้กัน ธนาธรกับคณะก้าวหน้าจะใกล้เคียงกับคำว่าซัคเซสแค่ไหน...
ลี้คิมฮวง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |