"ม็อบเฟส" จัดเวทีเสวนา "ปฏิรูปสถาบันสู่รัฐสวัสดิการ" ยกโครงการ 30 บาทยุคทักษิณตอนแรกถูกโจมตีหนักแต่วันนี้ก็ยังอยู่ ส่วนสัญลักษณ์ค้อนเคียว ไม่ได้น่ากลัวแต่เป็นการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น เผยนัดหยุดงานคือเครื่องมือการเปลี่ยนแปลง
10 ธ.ค.63 - ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ม็อบเฟสจัดการเสวนา “ปฏิรูปสถาบันนำไปสู่รัฐสวัสดิการอย่างไร” ซึ่งในการเสวนามี 2 คำถามที่ผู้ร่วมเสวนาได้ปอภิปราย คือ อุปสรรคของการเกิดรัฐสวัสดิการ และการปฏิรูปสถาบันเกี่ยวข้องกับรัฐสวัสดิการอย่างไร นายศุภณัฐ กิ่งแก้ว ผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนท.เปิดเผยว่า รัฐสวัสดิการและสังคมนิยมไปด้วยกันได้ หัวใจหลักของรัฐสวัสดิการคือการกระจายทรัพยากรสู่คนทั้งประเทศทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลางถูกนายทุนขูดรีด ทำอย่างไรก็ได้ให้นายทุนที่ถือครองทรัพยากรส่วนใหญ่และสถาบันกษัตริย์ที่ถือครองทรัพย์สินกว่าหนึ่งล้านล้านบาท ให้ถูกจัดเก็บในรูปภาษีนำมาเป็นสวัสดิการของคนทั่วไป
แนวคิดเรื่องสังคมนิยมประชาธิปไตย ไม่ใช่เรื่องใหม่มีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หลังจากยุคเดือนตุลา ยิ่งรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นโยบายบัตรทอง 30 บาท ช่วงแรกถูกโจมตีอย่างหนัก ว่าเป็นไปไม่ได้ถูกท้วงติงจากนักเศรษฐศาสตร์ประเทศจะล่มจมขาดทุน ปรากฏว่า 30 บาทยังอยู่ทุกวันนี้ ตรงกันข้ามคนไทยไม่ต้องขายที่ไปรักษาตัวเอง และปัจจุบันนี้สังคมนิยมเริ่มกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งทั้งผู้สนับสนับและไม่สนับสนุน อ้างว่ารัฐสวัสดิการเป็นเฟคนิว มีการปั้นข้อมูลปลอมให้ประชาชนหลงเชื่อ นอกจากนี้ยังโจมตีว่าสังคมนิยมและรัฐสวัสดิการเป็นคอมนิวนิสต์ ข้อเท็จจริงคือการกระจายทรัพยากรและสนับสนุนโครงสร้างการเมืองแบบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ ยืนยันว่ารัฐสวัสดิการและสังคมนิยมคือเครื่องมือที่จะทำให้คนไทยมีสเถียรภาพ อิสรภาพ กระจายความมั่งคงจากกลุ่มทุนมาสู่คนไทยทุกคน มีคนกล่าวถึงสัญลักษณ์ค้อนเคียว บอกว่าไม่ได้น่ากลัว แต่เป็นการสัญลักษณ์พลักดันพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ด้านนายษัษฐรัมย์ ธรรมนุษดี อาจารย์วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า สถาบันกษัตริย์ กองทัพ ชนชั้นนายทุนใช้เวลามากกว่าครึ่งศตวรรษในการใช้งบประมาณปีหนึ่งมากกว่าแสนล้านบาทในการโฆษณาสังคมนิยมคือปีศาจร้าย ความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็นสิ่งปกติไม่สามารถแก้ไขได้ การเติบโตมากับการเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งปกติมีการโฆษณายาวนานของคนชั้นนำ จึงไม่แปลกใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่แปลกเมื่อเจอเรื่องเสมอภาคเพียงนิดหน่อยจึงมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งปกติ รัฐสวัสดิการเงินบาทแรกและจนกระทั่งถึงบาทสุดท้ายของประเทศนี้ต้องมาดูแลชีวิตของประชาชราก่อน ถ้าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่ดีต้องเติมให้มันดี ทุกวันนี้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ที่ 3,000 บาท ต่อหัวต่อคนต่อปี ข้าราชการ 14,000 บาท ถ้าเราเพิ่มงบประมาณจาก 3,000 บาทเป็น 8,000 บาท เพิ่มงบประมาณ หนึ่งแสนห้าหมื่นถึงสองแสนล้านบาทจะทำให้คุณภาพการรักษาพยาบาลเทียบเท่าข้าราชการ ตัดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมครึ่งหนึ่งคนก็สามารถเรียนมหาวิทยาลัยฟรีได้ทั้งประเทศ ตัดงบมหาไทยครึ่งหนึ่งสามารถเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกเท่าตัว การกดเครื่องคิดเลขคือวาทกรรมที่ชนชั้นนำพยายามบอกว่ารัฐสวัสดิการเป็นไปไม่ได้
วันนี้ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างอินเดีย นัดหยุดงาน100 กว่าล้านคน สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ส่งเสียงสัญญานว่าการต่อสู้ครั้งนี้ต้องชนะ ถ้าไม่คุยกันวันนี้พวกอภิสิทธิ์ชนจะคุยแทนเรา คิดแทนเรา เหมือนครั้งหนึ่งปี 34 ปี 35 และครั้งหนึ่งหลังปี 2475 เอ็นเกมส์วันนี้คือรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงงจร ปฏิรูปสถาบันฯตั้งแต่บาทแรกถึงบาทสุดท้ายเป็นรัฐสวัสดิการ และการหยุดงานทั่วประเทศคือเครื่องมือที่เราต้องมาทบทวนเพื่อนำไปสู่กสารเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
ส่วน นายรชต เอี่ยมตระบุตร นักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงอุปสรรคของรัฐสวัสดิการว่า ตั้งแต่เกิดมาถูกกำหนดโดยชนชั้นแล้ว ระดับชั้นเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนไม่เท่าเทียมกันรวมทั้งแนวคิดแบบสถาบันกษัตริย์ที่ครอบงำสังคมไทยเป็นอุปสรรคต่อแนวคิดรัฐสวัสดิการ ความหวาดกลัวในสังคมที่ครอบงำอยู่ ความหวาดกลัวต่อสถาบันฯ รัฐ หากไม่สามารถพูดถึงสถาบันฯได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะเป็นม่านในอคติขวางกั้นอุปสรรคเรื่องรัฐสวัสดิการ นอกจากต้องปฏิรูปสถาบันฯแล้ว ต้องปฏิรูปความคิดความเชื่อแบบเดิมๆ เริ่มต้นจากที่บ้านพ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักความเสมอเท่าเทียมกัน แนวคิดแบบกษัตริย์ไม่ได้สำคัญกว่าหลักการสิทธิมนุษยชน
นางศรีไพร นนทรี จากเครือข่ายสหภาพแรงงาน เผยว่าถ้าคณะราษฎร 2475 ยังอยู่ ป่านนี้ไทยคงเป็นรัฐสวัสดิการไปนานแล้ว ปัญหานั้นมีอุปสรรคมากกมายทั้งเรื่องสิทธิเสรีภาพและกฎหมายแรงงาน มีการละเมิดมากมาย อย่างลูกจ้างรัฐกฎหมายแรงงานเข้าถึงยากมาก ลูกจ้างต้องทำงานแบบปีต่อปี นายจ้างให้ลูกจ้างเซ็นสัญญาชั่วโมงงานเพิ่มมากขึ้น ค่าจ้างเท่าเดิม ชนชั้นใดร่างกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น ผู้ใช้แรงงานเสนอกฎหมายเข้าไปไม่เคยผ่าน ครม. เราถูกกดขี่มากว่า 200 กว่าปี แต่เขาบอกให้อดออมหรือทำเศรษฐกิจพอเพียงแต่แรงงานหลายคนไม่มีแม้ที่จะทำกินแล้วจะให้ทำอย่างไร อุปสรรคของรัฐสวัสดิการคือกลุ่มนายทุนที่อยู่กับสถาบันฯที่เป็นกลุ่มเดียวกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |