8ธ.ค.63-นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ขบ. ได้ดำเนินการจุดตรวจความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะและพนักงานขับรถระหว่างทาง หรือ จุดตรวจรถโดยสารสาธารณะ (เช็คกิ้งพ้อยท์) หรือ Checking Point บนทางหลวงแผ่นดิน 111 เส้นทาง รวมระยะทาง 22,048 กม. ในสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ จำนวน 245 แห่ง โดยตรวจทุกๆ ระยะทาง 90 กม. ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.62 จนปัจจุบันกรมฯยังดำเนินการอยู่
ทั้งนี้กรมฯพยายามปรับจุดเช็คกิ้งพ้อยท์ให้มีความสมบูรณ์ เหมาะสม และหาที่ตั้งจุดตรวจให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งได้ขยายระยะทางเพิ่มขึ้น จากเดิมกำหนดตรวจทุก 90 กม. ได้ปรับเพิ่มเป็นตรวจทุก 200 กม. เนื่องจากรถโดยสารคุ้นชินและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนำรถเข้าตรวจอย่างต่อเนื่อง จึงขยายระยะทางตรวจ เพื่อไม่ไห้มีความถี่มากเกินไป อำนวยความสะดวก และรวดเร็วในการเดินทาง
ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการจุดตรวจเช็คกิ้งพ้อยท์ให้สะดวกมากขึ้น และรองรับขยายผลจุดตรวจเช็คกิ้งพ้อยท์มาใช้ตรวจรถบรรทุกทุกประเภท เบื้องต้นจะนำรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ดำเนินการ อาจจะใช้ RFID (Radio Frequency Identification) คือการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ มีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุ เพื่อตรวจสอบ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย โดยจะติดไว้กับตัวรถเวลารถผ่านจุดตรวจจะสามารถตรวจสอบได้ว่ารถคันนี้ผ่านการตรวจอย่างถูกต้องแล้ว
นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การตรวจรถบรรทุกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.กลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุกที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก (Q Mark) ซึ่งผู้ประกอการกลุ่มนี้ได้ผ่านการประเมินการดำเนินการที่มีคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ หรือมีประวัติการให้บริการที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งถ้ากลุ่มนี้เข้าจุดเช็คกิ้งพ้อยท์ จากนั้น RFID จะตรวจสอบและแจ้งเตือนในระบบ และรถสามารถผ่านจุดตรวจได้ทันที
และ 2.กลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุกที่ยังมีการบริหารจัดการไม่ดี ยังไม่ผ่านมาตรฐาน Q Mark กระทำผิดบ่อยๆ เช่น ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด กลุ่มนี้จะเรียกตรวจตามขั้นตอนที่ ขบ. กำหนด หากพบว่าไม่ผ่านต้องนำรถบรรทุกหรือพนักงานขับรถไปปรับปรุงแก้ไขจนกว่าจะผ่านการตรวจ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแบ่งผู้ประกอบการรถบรรทุกที่เป็นกลุ่มน้ำดีและน้ำเสียได้ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเสียเวลาในการตรวจ รวมทั้งลดภาระบทบาทเจ้าหน้าที่เบาบางลง ขณะเดียวกันจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่ยังบริหารจัดการไม่ดีให้พัฒนาศักยภาพในการขนส่งให้ดียิ่งขึ้น
นายจิรุตม์ กล่าวอีกว่า เมื่อได้ข้อสรุปเทคโนโลยีที่นำมาใช้แล้ว จากนั้นจะหาแนวทางดำเนินการ รวมทั้งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง (ทล.) ที่จะต้องขอใช้พื้นที่ที่จะตั้งจุดเช็คกิ้งพ้อยท์ ซึ่งพิจารณาในพื้นที่ที่เหมาะสม สะดวก ปลอดภัย และไม่กีดขวางจราจรบนท้องถนน เนื่องจากรถบรรทุกมีขนาดใหญ่กว่ารถโดยสาร และต้องใช้พื้นที่มากกว่า เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วจะกำหนดจุดที่ชัดเจนต่อไป
นอกจากนี้จะหารือกับกระทรวงคมนาคม และผู้ประกอบการรถบรรทุก เพื่อให้ทราบถึงดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเตรียมความพร้อม เพื่อออกกฎระเบียบแนวทางดำเนินการให้ชัดเจนต่อไป ป้องกันผลกระทบตามมา หลังจากการศึกษาแล้วเสร็จคาดว่าในปี 64 จะดำเนินการจุดเช็คกิ้งพ้อยท์รถบรรทุกได้ เพื่อตรวจสอบผู้ประกอบการรถบรรทุกทั่วประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและสร้างความมั่นใจการเดินทางให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสถิติจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 ต.ค.63 พบว่ามีทั้งหมด 1,167,328 คันทั่วประเทศ แบ่งเป็น รถบรรทุกไม่ประจำทาง 357,256 คัน และ รถบรรทุกส่วนบุคคล 810,072 คัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |