เอไอหรือจะสู้มนุษย์


เพิ่มเพื่อน    

          

      เสียงลือเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในช่วงนี้มักจะแพร่หลายจนหนาหู หลายฝ่ายเริ่มให้ความสนใจว่าปัญญาประดิษฐ์ที่จริงแล้วคืออะไร สามารถทำอะไรได้บ้าง และจะพัฒนาต่อยอดในส่วนของการบริหารจัดการได้หรือไม่ โดยมีหลายบริษัทได้หยิบยกมาใช้ในกระบวนการจัดการ การผลิต หรือใส่ในผลิตภัณฑ์กันบ้างแล้ว

        ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์ หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง โดยความสามารถส่วนใหญ่คือการสื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่างๆ อย่างการดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ และเรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใดๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

        และด้วยความน่าสนใจนี้จึงทำให้เอไอเป็นที่รู้จักได้ไม่ยาก รวมทั้งยังมีผู้เล่นหลายกลุ่มเข้ามาพัฒนาจนทำให้มีศักยภาพ เทียบเท่ามนุษย์ และตั้งความหวังว่าเอไอจะเข้ามาเป็นอนาคตของแรงงานในบางกลุ่ม และทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ในกลุ่มงานที่เสี่ยงอันตราย รวมถึงอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ในมิติต่างๆ อาทิ หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด หุ่นยนต์นักบิน บาริสต้าในร้านกาแฟ และแม่ครัวทอดไข่เจียว

        จึงทำให้มีหลายคนที่กังวลว่ามนุษย์อาจต้องตกงาน เพราะเอไอเตรียมขึ้นแท่นแรงงานคุณภาพเทียบชั้น รวมถึงอาจจะเกิดปัญหาแย่งก้าวข้ามสายงานของหุ่นยนต์ในอนาคต นายธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ. ได้ออกมากล่าวว่าเอไอเริ่มเข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานมนุษย์ และผลผลิตจากปัญญาประดิษฐ์ยังสามารถควบคุมจำนวนและคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ

        แม้ในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาทดแทนในส่วนงานที่ไม่ซับซ้อน และงานที่ใช้เพียงทักษะพื้นฐานเท่านั้น แต่ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยี ส่งผลในอนาคตปัญญาประดิษฐ์สามารถพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนการทำงานที่ซับซ้อนของมนุษย์ได้ แรงงานมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทั้งทักษะเฉพาะด้านและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้สอดคล้องไปกับความต้องการของตลอดแรงงานในอนาคต

        ซึ่งในอนาคตอาจจะเข้ามามีบทบาทที่ใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้น ในมิติของการทำงานร่วมกันแบบพาร์ตเนอร์ ที่มีส่วนช่วยให้การค้นคว้าวิจัยหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และต่อยอดไปยังงานสาขาอื่นๆ

        แต่หุ่นยนต์ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ที่ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ 100% โดยเฉพาะในเรื่องของจิตใจและความจริงใจ ที่เป็นหัวใจสำคัญของงานบริการ ที่ต้องใช้ความจริงใจในการสื่อสารกับผู้รับบริการ รวมถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องอาศัยทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ของมนุษย์เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ

        ด้าน นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม กล่าวว่า แม้ปัจจุบันโลกธุรกิจจะหันมาให้ความสำคัญของเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ในการช่วยมนุษย์ทำงานมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าก็ยังมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้านอยู่ ซึ่งโลกของการทำงานหลายอาชีพยังจำเป็นต้องพึ่งพามนุษย์ในการขับเคลื่อนเป็นหลักอยู่ เพราะมนุษย์มีทักษะสำคัญที่เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ยังไม่สามารถเทียบเท่าได้ ก็คือ 1.ทักษะความคิดสร้างสรรค์ 2.ทักษะทางสังคม และ 3.ทักษะทางอารมณ์

        เห็นได้ชัดว่ามนุษย์มีทักษะที่ล้วนเกิดจากการเรียนรู้โดยธรรมชาติ ถือเป็นจุดแข็งของมนุษย์ที่เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถทำได้ดีในระดับเทียบเท่า แต่การพัฒนาของเทคโนโลยีหรือปัญญาประดิษฐ์ก็มีความก้าวหน้ามากขึ้น ดังนั้นมนุษย์มีความจำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้โลกการทำงานในอนาคตของทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานและอยู่ร่วมกันได้อย่างดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"