(ป้องกันผู้สูงอายุฆ่าตัวตายจากโรคซึมเศร้าและความเหงา ด้วยการสอนวิธีเล่นไลน์-เฟซบุ๊กในการติดต่อพูดคุยกับลูกหลาน หรือสร้างสังคมเพื่อนวัยเดียวกันให้กับคนสูงวัยยุคดิจิตอล)
ต้องยอมรับแบบเปิดอกว่า สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความเครียด ทั้งนี้ยังพบว่ามีการทอดทิ้งสูง เพราะเราจะเห็นผู้สูงอายุมักจะต้องอยู่เฝ้าบ้าน ในขณะที่ลูกหลานต้องออกไปทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงดูคนชรา สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้บุตรหลานต้องอพยพย้ายถิ่นฐานโดยไม่ได้ตั้งใจปล่อยปละละเลยพ่อแม่ นี่เองจึงทำให้โซเชียลเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงได้
ในงานเสวนาปาฐกถา “สังคมสูงวัย กับโลก Digital” ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิ มส.ผส., สสส., สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่าย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี ให้มุมมองเรื่องดังกล่าวไว้น่าสนใจ เพื่อเปลี่ยนจากภาระให้เป็นพึ่งพิง เพราะอย่าลืมว่าดิจิตอลสามารถทำให้เกิดสังคมเครือข่ายคล้ายกับสมองของมนุษย์เรา นั่นจึงทำให้เกิดเป็นสังคมอุดมปัญญา
(ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี)
นพ.ประเวศให้ความรู้ว่า “การที่ผู้สูงอายุจะบรรลุความจริง ความงาม ตลอดจนเข้าใจสัมพันธภาพของมนุษย์ไปด้วยกัน ท่ามกลางสังคมใหม่ หรือสังคมยุคดิจิตอล ผมขอสะท้อนภาพของสังคมไทยในปัจจุบันว่า เป็น “สังคมแห่งการทอดทิ้ง” ซึ่งแตกต่างจากเมื่อในอดีตที่ลูกหลานมักช่วยกันแลดูแลผู้สูงอายุ ขณะที่ยุคนี้เป็นยุคสมัยใหม่ จึงไม่ใช่ว่าลูกใจดำโดยไม่สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ เพราะอย่าลืมว่าเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป แต่คนเป็นลูกหลานจำเป็นต้องไปหาอาชีพอื่นทำเพื่อส่งเงินมาจุนเจือครอบครัว นั่นจึงเกิดความห่า และเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาผู้สูงวัยอยู่เพียงลำพัง"
นอกจากปัญหาผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพังแล้ว ยังพบ “ภาวะความเครียดสูง” เพราะสังคมยุคใหม่เติมไปด้วยความเร่งรีบ แข่งขัน จึงทำให้มีความเครียด ขาดความสุข นั่นจึงทำให้ป่วยเป็นโรคมากมาย ทั้งความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร อีกทั้งทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เกิดภาวะติดเชื้อ อีกทั้งทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ง่าย ที่ลืมไม่ได้เช่นกัน ภายในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการลดการใช้แรงงานคน แต่จะใช้เครื่องจักรมากขึ้น โดยเฉพาะธนาคารบางแห่งที่มีจำนวน 1,500 สาขาแห่งทั่วประเทศ จะลดการใช้แรงงานคน และทำให้จะทำให้คนตกงาน จีงเป็นผลพวงของความเครียดและความกดดันในชีวิต
(ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีประสบการณ์ การใช้อินเทอร์เก็บข้อมูลคนวัยเกษียณที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าไปดู เพื่อขอคำแนะนำในเรื่องต่างๆ จะทำให้เกิดสังคมเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนสูงวัยอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ)
เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว อีกหนึ่งสิ่งที่พบคือ จะทำให้ “ขาดความเป็นชุมชน” จากเดิมที่เป็นสังคมเกษตรกรรม หรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะล่มสลายโดยอำนาจ 3 อย่าง คือ 1.รัฐ 2.เงิน 3.ความรู้และความไม่รู้ จึงทำให้ขาดความเป็นชุมชนไป และสิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกันคือชุมชนขาดศีลธรรม จึงทำให้ในอนาคตจะมีการ “เจริญสติ” มากขึ้น เช่น ในประเทศอเมริกา มีการสอนเจริญสติแบบพุทธอยู่ราว 7 หมื่น 8 พันราย เนื่องจากมีการวิจัยว่าวิธีดังกล่าวจะทำให้สมองของมนุษย์พบเจอกับความสุขอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน และทุกอย่างในชีวิตดีขึ้นแม้จะไม่ต้องใช้เงิน นอกจากนี้ยังทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและมะเร็ง อีกทั้งยังทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและทำให้ครอบครัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรต่างๆ เป็นบริษัทแห่งการเจริญสติ ซึ่งจะทำให้คนขาดงานน้อยลง เพราะเจ็บป่วยน้อยลงจากการไปวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้น
“คำถามที่ว่าเมื่อยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล เราจะเจริญสติด้วยมีดิจิตอลเป็นตัวเชื่อมอย่างไรได้นั้น คือการที่ทำให้นักดิจิตอลรู้จักการปฏิบัติภาวนาเจริญสติ จากนั้นก็นำเทคโนโลยีดังกล่าวลงไปช่วย พูดง่ายๆ ว่าใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยง ตอนนี้มีใครบ้างที่กำลังเจริญสติอยู่ และอยู่ที่ไหน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มหรือหาสังคมของการปฏิบัติวิถีพุทธดังกล่าว วิถีนี้จะตอบได้ชัดเจนว่าดิจิตอลเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้คนอยู่ร่วมกันได้นั่นเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นใครคนหนุ่มหรือคนชรา
ส่วนภาพของการใช้ดิจิตอลหรือระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ในการลดปัญหาการฆ่าตัวตายของคุณตาคุณยายที่อาศัยอยู่ใน จ.เชียงราย ซึ่งทำแล้วได้ผล นอกจากโรงเรียนผู้สูงอายุแล้วคือ การที่เราส่งเสริมให้คุณตาคุณยายสามารถเล่นไลน์ เล่นเฟซบุ๊ก หรือสามารถเข้าชมเรื่องราวที่ผู้สูงวัยสนใจในยูทูบ ตรงนี้เป็นวิธีการสร้างความผ่อนคลายให้กับท่านได้ดีที่สุดแม้ต้องอยู่ลำพัง”
ประโยชน์ของดิจิตอลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการยกระดับให้ผู้สูงอายุคือ อยู่อย่างภาคภูมิใจในการได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถพิเศษ ที่เด็กยุคใหม่อาจจะไม่รู้ ท่ามกลางสังคมแห่งการทอดทิ้ง ที่ผู้ใหญ่ไม่รู้จะถ่ายทอดภูมิปัญญาไปให้ใคร เพื่อป้องกันความรู้ดีๆ เหล่านั้นสูญหาย อย่างการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลในการทำ “แมปปิ้ง” หรือ (Mind Mapping) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้รู้ว่าผู้สูงวัยที่มีความสามารถเฉพาะด้านเป็นใครและอยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งเป็นการสร้างชุมชนเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่เข้าไปดู ไปศึกษา ในรูปแบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ก ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
“ข้อดีของการเก็บข้อมูลผู้สูงวัยที่เป็นคนเก่งและมีความรู้เฉพาะด้านต่างๆ ตรงนี้จะทำให้คนรุ่นลูกหลานที่ต้องการเรียนรู้ เช่น อาหารพื้นบ้าน งานแฮนด์เมดในท้องถิ่น หรือคุณตาคุณยายท่านใดที่ร้องเพลงเก่ง ก็สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพื่อขอความรู้จากท่าน การเชื่อมโยงข้อมูลแบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กดังกล่าวจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองในการเป็นผู้ถ่ายทอด ไม่ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นจะเป็นคนรวยหรือคนจนก็ตาม ซึ่งจะช่วยลดมายาคติเรื่องชนชั้นวรรณะหรืออายุที่ต่างกัน ที่สำคัญการจับกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนที่ถูกจริตเดียวกัน โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงก็เปรียบเสมือนกับการสร้างเครือข่ายที่คล้ายกับสมองของมนุษย์เรา และถ้าสังคมไทยเป็นสังคมเครือข่าย มันจะก็ขยายตัวและดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อนั้นผู้สูงวัยในยุคดิจิตอลก็จะเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ อยู่ในสังคมได้อย่างไม่เป็นภาระของลูกหลาน และใช้เทคโนโลยีในการกระชับสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดี หรือที่เรียกกันว่าเป็นสังคมอุดมปัญหา ด้วยมีดิจิตอลเป็นตัวเชื่อมโยง”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |