5 ธ.ค.63 - นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ถึงกรณีที่ อาร์ต พศุตม์ บานแย้ม โพสต์ขอรับบริจาคชุดนักเรียนให้นักเรียนบนดอย
“จากกรณี อาร์ต พศุตม์ เสนอตัวเป็นตัวกลางรับบริจาคชุดนักเรียนเพื่อนำส่งต่อเด็กบนดอย จะขอเล่าวิธีการจัดการดังนี้
การประกาศรับชุดนักเรียนต้องระบุให้ชัดเป็นชุดนักเรียนสภาพไหน กางเกงสีอะไร เพราะชุดนักเรียนของไทยมีหลายแบบ คนบริจาคส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะ ชุดนักเรียนในชนบทส่วนใหญ่ต้องการสีกากี มีคำถามต่อว่าเสื้อปักชื่อโรงเรียนรับมั๊ย ต้องเอาออกก่อนมั๊ย ?
แต่ถ้าจะพูดถึงคนในตำนานอย่างครูแดง ครูประทีป ที่สอนหนังสืออยู่บนภูเขาและในสลัม ต้นตำรับครูผู้เสียสละต้องยกให้ครูโกมล คีมทอง บัณฑิตคุรุศาสตร์จุฬาฯ ที่ไปทำศูนย์เด็กให้กับคนทำเหมืองที่ภายใต้ จนถูกลอบสังหาร ส.ศิวรักษ์ จึงได้ชวนคนจัดตั้งมูลนิธิโกมล คีมทอง ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนคนหนุ่มสาว
แม้แต่ครูหยุย ก็ถือเป็นต้นแบบของครูผู้เสียสละ แกทำงานกับเด็กเร่ร่อน ลูกกรรมกรก่อสร้าง เรียกได้ว่าคนหลังยุค 14 ตค จำนวนหนึ่งเกิดสำนึกสาธารณะและพยายามเข้าไปอุดช่องว่างทางสังคม ภาพจำของผมกับครูหยุยแกเป็นคนที่สุดยอด แต่พอแกเป็นนักการเมืองช่างแตกต่าง ทั้งเสียดายและเสียใจ
มูลนิธิกระจกเงา เคยติดต่อบริษัทผงซักฟอกชื่อดังเพื่อทำโครงการเอาชุดนักเรียนมือสองไปซักก่อนแล้วค่อยจัดส่งต่อ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สุดท้ายต้องให้ผุ้บริจาคซักชุดนักเรียนมาก่อนบริจาคและคัดสภาพที่มั่นใจว่าส่งต่อได้ เพื่อลดการจัดการ
หอพักเด็กชาวเขาจะไม่เหมือนหอพักที่เรารู้จัก จะเป็นบ้านกินอยู่ร่วมกันไปโรงเรียนพร้อมกัน อาจมีชาวบ้านหรือมูลนิธิขนาดเล็กทำหน้าที่ดูแล เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กชั้นประถม สิ่งนี้เกิดขึ้นในกรณีที่ยังมีหมู่บ้านชาวเขาที่ไม่สะดวกเดินทางลงมาเรียนที่โรงเรียน
ครูดอย ที่เป็นตำนานและยังมีชีวิตอยู่คือ ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ เรียนจบ.จุฬา แต่ไปเป็นครูบนดอย พูดภาษาชาวเขาได้หลายภาษา เป็น NGOs ที่โรแมนติกที่สุดคนหนึ่ง โลกสวยชนิดหาตัวจับได้ยาก
นอกจากครูดอยที่ถูกมองเป็นผู้เสียสละแล้ว ครูในสลัม อย่างครูประทีป อึ้งทรงธรรม ก็เป็นผู้หนึ่งในตำนานครูผู้เสียสละ จากการทำโครงการโรงเรียนวันละบาท จนได้รับรางวัลแมคไซไซ และเอาเงินรางวัลนั้นมาตั้งมูลนิธิดวงประทีปในปัจจุบัน ดูแลชุมชนสลัมคลองเตยอย่างยาวนาน
นิยามคำว่า “โรงเรียนบนดอย” อาจไม่ใช่ประเภทที่ต้องใช้ 4WD ขับขึ้นไป แต่อาจหมายถึงโรงเรียนที่ปัจจุบันสามารถขับรถปกติเข้าถึงได้แล้ว แต่เด็กนักเรียนเหล่านี้เป็นเด็กชาติพันธุ์ที่ขยับถิ่นฐานลงมาอยู่ข้างล่างแล้ว
การจัดการพื้นที่ของบริจาค ถ้าอาร์ต พศุตม์ เปิดรับบริจาคชุดนักเรียนจริง ต้องเตรียมพื้นที่ในการจัดเก็บกล่องพัสดุ และพื้นที่ในการคัดแยกชุดนักเรียน โดยการคัดแยกเบื้องต้นจะต้องแยกสีกางเกงนักเรียน และ สภาพที่คิดว่าส่งต่อได้ ส่วนเสื้อผ้าที่ไม่เข้าเกณฑ์จะทำยังไงต่อ
ครู กศน ที่สอนเด็กชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นเด็กในชุมนุมเองที่เรียนจบมาแล้ว เพราะจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการเดินทาง การปรับตัว การสื่อสาร
รับบริจาคอะไรบ้าง ? นอกจากชุดนักเรียนแล้ว รองเท้า เข็มขัด กระเป๋า หนังสือเรียนเก่า เอามั๊ย การจัดส่งจะมารูปไปรษณีย์ ถ้าส่งมาเยอะทางไปรษณีย์จะติดต่อให้เราเอารถไปรับที่ไปรษณีย์ใกล้บ้าน เตรียมหารถและคนไปขนด้วย
ในกรณีชุดนักเรียนที่เก่าและไม่อยู่ในสภาพที่จัดส่งได้ จะทำยังไงต่อ ถ้าทิ้งถังขยะถ้าเยอะรถขยะจะไม่ยอมรับไปทิ้ง ต้องเหมารถคันละ. 1200 บาทจัดเป็นขยะชิ้นใหญ่ แต่ทำให้ถูกต้องควรนำไปเป็นขยะเชื้อเพลิงเพื่อไปผลิตกระแสไฟฟ้าและไม่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติก
จำนวนและขนาดชุดนักเรียน อาร์ต ต้องแยกชุดนักเรียนตามขนาดให้ชัดเจน จากนั้นประสานงานไปที่โรงเรียนบนดอย (ติดต่อใคร ?) ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการบริจาค และถ้าครู OK ก็ขอให้ช่วยส่งจำนวนนักเรียนและขนาดชุดนักเรียนของเด็กทุกคน (ทำแบบฟอร์ม) คำถามต่อไปคือ จัดส่งยังไง จะไปมอบเองหรือไปรษณีย์
ที่เราพูดถึงครูบนดอย ส่วนใหญ่เป็นครู กศน หรือไ่ม่ก็ ตชด มี นร อยู่ประมาณ 10-20 คน เป็นหมู่บ้านชาวเขาขนาดเล็กที่มีบ้านห่างไกลจากโรงเรียนของสปฐ เดินทางไม่สะดวกจึงจำเป็นต้องมีครูบนดอย ต่อมาชาวบ้านแก้ปัญหาโดยเช่าหอพักข้างล่างให้ลูกแทน
ต้นทุนในการบริหารจัดการของบริจาค ทุกกระบวนการมีต้นทุนที่ต้องคำนวน การจัดส่งชุดนักเรียนมือสองไปยังโรงเรียนเป้าหมาย ซึ่งต้องมีการประสานงานกันอย่างละเอียด และค่าจัดส่งเป็นอีกต้นทุนหนึ่ง หากระบบจัดการทั้งระบบขาดประสิทธิภาพ ต้นทุนชุดนร มือสองจะไม่ถูกกว่าซื้อใหม่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |