ธพ.เผยยอดใช้น้ำมันรวมช่วง 10 เดือนลดลง 13%


เพิ่มเพื่อน    

 

4 พ.ย.2563 นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 10 เดือน ของปี 2563 (ม.ค. – ต.ค.) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 13.0% โดยกลุ่มเบนซิน ลดลง 2.4% กลุ่มดีเซล ลดลง 3.6% น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ลดลง 60.0% น้ำมันเตา ลดลง 15.5% น้ำมันก๊าด ลดลง 12.0% ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ลดลง 14.6% และก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(เอ็นจีวี) ลดลง 29.5% โดยสาเหตุสำคัญมาจากสถานการณ์โควิด-19

"เชื่อว่านโยบายภาครัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ฯลฯ ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง"นางสาวนันธิกา กล่าว

ทั้งนี้การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.3 ล้านลิตรต่อวัน โดยแก๊สโซฮอล์ อี85 มีปริมาณการใช้ลดลงมากที่สุดโดยลดลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 0.9 ล้านลิตรต่อวัน รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 91 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 8.2 ล้านลิตรต่อวัน และ แก๊สโซฮอล์อี 20 มีปริมาณการใช้ลดลงน้อยที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.4 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่แก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 15.0 ล้านลิตรต่อวัน

ขณะที่การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 64.6 ล้านลิตรต่อวัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 มีปริมาณการใช้ลดลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 44.0 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา บี10 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 14.7 ล้านลิตรต่อวัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.9 ล้านลิตรติอวัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดามีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากนโยบายของภาครัฐ

ส่วนการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.6 ล้านลิตรติอวัน ลดลงเป็นอย่างมากเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ภาครัฐยังคงมีมาตรการควบคุมและอนุญาตให้บุคคลเฉพาะกลุ่มเดินทางเข้าออกประเทศ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไม่มากนัก ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าความต้องการใช้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยการท่องเที่ยวภายในประเทศฟื้นตัวจากช่วงวันหยุดยาวที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว

นอกจากนี้การใช้แอลพีจีเฉลี่ยอยู่ที่ 15.3 ล้านกิโลกรัม(กก.)ต่อวัน โดยปริมาณการใช้ในภาคขนส่งลดลงมากที่สุด โดยมีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 2.0 ล้านกก.ต่อวัน รองลงมาเป็นภาคปิโตรเคมี ซึ่งมีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 6.1 ล้านกก.ต่อวัน ถัดมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 ล้านกก.ต่อวัน และภาคครัวเรือนมีปริมาณการใช้ลดลงน้อยที่สุดโดยการใช้อยู่ที่ 5.5 ล้านกก.ต่อวัน ขณะที่การใช้เอ็นจีวี เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 3.8 ล้านกก.ต่อวัน สอดคล้องกับจำนวนรถยนต์ที่ใช้เอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงลดลง

อย่างไรก็ตามการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณรวมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 886,172 บาร์เรลต่อวัน ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 850,397 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 37,741 ล้านบาทต่อเดือน โดยเป็นผลจากการลดลงทั้งปริมาณนำเข้า และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และสำหรับน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการนำเข้าน้ำมันเบนซินพื้นฐาน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน และแอลพีจีโดยมีปริมาณนำเข้าลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 35,775 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่านำเข้ารวม 1,655 ล้านบาทต่อเดือน

และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยานและน้ำมันก๊าด และแอลพีจี โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 187,380 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 8,308 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งลดลงโดยเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"