2 ธ.ค.63 -ที่โรงแรมเชียงของ ทีค การ์เด้นท์ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้มีการประชุมจัดตั้งสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง โดยมีชาวบ้านจาก 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง นักวิชาการ เอ็นจีโอ นักกฎหมาย ประมาณ 160 คนเข้าร่วม ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเล่าถึงสถานการณ์แม่น้ำโขงในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่
นางสาวคำปิ่น อักษร สมาชิกครือข่ายคนฮักน้ำของ บ้านตามุย ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี กล่าวว่าแม่น้ำโขงมีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ความกังวลใจในเวลานี้คือ การผลักดันโครงการเขื่อนบ้านกุ่ม ซึ่งทราบมาว่ารองนายกรัฐมนตรี กำลังผลักดันอย่างมากให้มีการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม เรื่องเขื่อนก็คงยังไม่จบที่รุ่นเรา วันนี้พาเยาวชนมาสิบคนจากหมู่บ้านริมแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเจียม ทุกคนเดินทางโดยรถมาใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อร่วมประชุมในครั้งนี้ที่ อ.เชียงของ ที่ตั้งใจเดินทางมาเพราะต่างก็เห็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการสร้างเขื่อน ทั้งเขื่อนในจีน และเขื่อนในลาว
นายอำนาจ ไตรจักร จากจังหวัดนครพนม กล่าวว่าตนได้พาพี่น้องจากชุมชนริมแม่น้ำโขงและลุ่มน้ำสาขา มาสองคันรถตู้ จากลำน้ำสงครามและลำน้ำก่ำ พวกตนตั้งใจจะมาเล่าว่าหลังจากสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแล้ว แม่น้ำสาขาก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ปีที่แล้วที่มีการเริ่มใช้งานเขื่อนไซยะบุรี พบว่าที่ จ.นครพนม แม่น้ำโขงกลายเป็นน้ำสีฟ้า เพราะไม่มีตะกอนแร่ธาตุ สร้างผลกระทบอย่างมากต่อความอุดมสมบูรณ์ในแม่น้ำ ซึ่งหมายถึงอาหารของปลา อาหารของดิน การเกษตรและความอุดมสมบูรณ์ตลอดลุ่มน้ำ เวลานี้หากอยากเห็นน้ำสีฟ้า ก็มีที่โขงแล้วไม่ต้องไปทะเล
ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่าตนทำงานในประเด็นแม่น้ำโขงมานานมาก ทำตั้งแต่สมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล ได้ไปทำงานวิจัยที่เขื่อนน้ำเทิน2ในลาว และผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล วันนี้ตนมาร่วมในฐานะนักวิชาการ มาร่วมเพราะอยากรู้ว่าสภาประชาชนแม่น้ำโขงเป็นอย่างไร บทบาทของนักวิชาการจะหนุนเสริมได้อย่างไร
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เท่าที่ติดตามมาตลอด พบว่าชุมชนแต่ละกลุ่มต่างทำงานปกปักรักษาแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ทั้งบนแม่น้ำโขงสายประธาน และลำน้ำสาขา โขงเลยชีมูล หรือโครงการผันน้ำยวม สาละวิน โครงการเหล่านี้มีตัวละครที่เราคิดไม่ถึง แม่น้ำโขงเคยมี MRC ตอนนี้มีLMC ที่จีนเป็นหัวเรือใหญ่ แจกจ่ายงบประมาณไปตามประเทศต่างๆ
ดร.ชยันต์กล่าว่า สำหรับโครงการผันน้ำโขงเลยชีมูลเป็นโครงการระดับชาติ ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานภายใต้การพัฒนาทุนนิยมเสรี การทำงานของพี่น้องกลุ่มต่างๆ หากเราไม่รวมตัวเราคงไม่สามารถทักท้วง แสดงความคิดเห็นว่า โครงการจะส่งผลอย่างไรต่อเรา สองทศวรรษประชาชนไม่เคยมีโอกาสเพราะกลไกไม่ให้มีส่วนร่วม ดังนั้นการเอาองค์กรที่ทำงานในพื้นที่เล็กๆ มารวมกันเป็นสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง จึงน่าจะเป็นวิธีการทำงานใหม่ ที่จะทำกับอำนาจเชิงนโยบาย และองค์กรที่อยู่เหนืออำนาจรัฐไทย องค์กรระดับภูมิภาค ทั้งจีนและอเมริกา ที่มีบทบาทพัฒนาแม่น้ำโขง
“การจัดการของสภาประชาชนฯ น่าจะให้แต่ละหน่วยที่ทำงานอยู่แล้ว ดำเนินไปตามที่เป็น แต่มีวิธีการประสาน มีการร่วมเสนอเชิงนโยบาย นอกเหนือจากพลังของพี่น้องประชาชนในแม่น้ำโขง ในฐานะเครือข่ายนักวิชาการลุ่มน้ำโขงที่มีอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย เช่นอุบลราชธานี แม่ฟ้าหลวง เชียงใหม่ นักวิชาการเหล่านี้เห็นร่วมกันว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง โดยทำหน้าที่อันดับแรกคือเรียนรู้จากชาวบ้าน และพัฒนาระบบความรู้ ทั้งรู้ตามสาขาวิชาตนเอง และเรียนรู้จากชาวบ้าน นำมาสร้างการนำเสนอเชิงนโยบาย”ดร.ชยันต์ กล่าว
ดร.ชยันต์กล่าวว่า นักวิชาการคือปัญญาชนที่ยืนเคียงข้างและเชื่อมร้อยกับประชาชน อยู่ติดกับพี่น้องประชาชน ช่วยกันสลัดให้หลุดพ้นจากการครอบงำของการพัฒนาแบบทุนนิยมเสรีนิยม(decolonize)เพราะพวกเราถูกบอกเล่าเรื่องการพัฒนาแบบหนึ่ง คือการพัฒนาแบบการสร้างเขื่อน แต่ตอนนี้เปลี่ยนไป คือเขื่อนไม่ใช่แค่ไฟฟ้าแต่คือน้ำ หน้าที่ของนักวิชาการคือ นำความจริงมาบอกว่ามีความหมายซ่อนเร้นอะไร
“นักวิชาการไม่ใช่แค่สลัดหลุดจากการครอบงำ แต่เสนอทางเลือก มองการพัฒนาแม่น้ำโขง ว่าทิศทางการพัฒนาปัจจุบันนำไปสู่อะไร และข้อเสนอทางเลือกคืออะไร ให้พี่น้องในพื้นที่สามารถมีทางเลือก มีวิถีการพัฒนาที่ไหนความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม นักวิชาการต้องมีบทบาทในการตรวจสอบ หากมีสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง นักวิชาการจะมีบทบาทเสนอว่าทิศทางควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ปรับตัว เท่าทันกับการพัฒนาที่เกิดขึ้น”ดร.ชยันต์ กล่าว
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นถึงการต่อสู้ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนได้ร่วมสะท้อนการทำงานเพื่ออนุรักษ์แม่น้ำโขงในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งโครงการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงเพื่อการเดินเรือพาณิชย์โดยจีน ผลกระทบท้ายน้ำจากเขื่อนจีนที่สร้างไปแล้วถึง 11 เขื่อน เขื่อนไซยะบุรี โครงการเขื่อนปากแบง โครงการเขื่อนหลวงพระบาง โครงการเขื่อนสานะคาม ซึ่งพบว่ากระบวนการตามจ้อตกลงแม่น้ำโขงที่ผ่านมามีปัญหา จำเป็นต้องมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบตลอดลุ่มน้ำโขง
อนึ่งในวันที่ 2 ธันวาคม ในเวทีเสวนานอกจากการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้นำเสนอสถานการณ์แม่น้ำโขงและความคาดหวังในสภาประชาชนลุ่มน้ำโขงซึ่งจะมีตัวแทนสถานเอกอัคราชทูตและหน่วยงานราชการร่วมฟังแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนสถานทูตได้นำเสนอวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแม่น้ำโขง โดยสถานทูตอเมริกา ญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้ตอบรับการเข้าร่วม ขณะที่สถานทูตจีนและเยอรมันนีไม่ตอบรับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |