การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยกลไกและเครื่องมือการพัฒนาของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน ถือว่าเป็นหนึ่งในนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะการที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งได้ รากฐานของเศรษฐกิจจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งและเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพสังคม คุณภาพชีวิต และส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ
ดังนั้น จึงมีนโยบายให้ทุกหน่วยงานของภาครัฐ จึงต้องเร่งหาแนวทางและการบูรณาการร่วมกันเพื่อส่งเสริม และยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ขานรับนโยบายดังกล่าว เร่งดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีให้เป็นรูปธรรม โดยได้ผนึกความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง (กทบ.) ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการในชุมชนให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จากการพัฒนาอาชีพให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น
ทั้งนี้ ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ระบุ กรมได้จัดทำโครงการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญการส่งเสริมชุมชนให้มีความพร้อม เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้ระบบเศรษฐกิจฐานราก และประสบการณ์ดำเนินงานจากโครงการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือหมู่บ้าน CIV ที่ดำเนินการกว่า 230 แห่งทั่วประเทศ ตกผลึกเป็นองค์ความรู้พิเศษเพื่อยกระดับศักยภาพให้กับวิสาหกิจชุมชนในพื้นเป้าหมายให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยอาศัยองค์ประกอบจากวัตถุดิบในชุมชนนั้นๆ เชื่อมโยงเรื่องราววิถีชุมชนเพื่อเป็นจุดขาย
ซึ่งการบูรณาการความร่วมมือกับทาง กทบ.นั้นจะเข้าไปช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมทักษะการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทาง โอกาสทางการตลาดให้กับชุมชนและกลุ่มสมาชิกลูกค้าของทาง กทบ.ภายใต้หลักสูตรการพัฒนาอาชีพของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industry Transformation Center 4.0 : ITC 4.0 และศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะเปิดฝึกอบรมในหลักสูตรการพัฒนานักออกแบบชุมชน หลักสูตรการทำผ้ามัดย้อม และหลักสูตรการเขียนเทียน กลุ่มสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP
งานนี้ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมย้ำอย่างชัดเจนอีกครั้งว่า พร้อมให้การสนับสนุนอย่างครบวงจร เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นรูปธรรม ทั้งในด้านเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการให้บริการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน
ล่าสุด ได้ลงพื้นที่ชัยนาทเร่งพัฒนาพื้นที่ ร่วมคิกออฟโครงการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาทเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยกลไกและเครื่องมือ การพัฒนาของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน โดยนำร่องในพื้นที่เป้าหมาย 4 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนสรรพยา 2.ชุมชนมโนรมย์ 3.ชุมชนลาวเวียงบ้านเนินขาม และ 4.ชุมชนสรรคบุรี ซึ่งทั้ง 4 ชุมชนนี้มีอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน แถมยังมีศักยภาพที่พร้อมนำไปพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้แล้วทั้ง 4 ชุมชน ยังถือเป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่แล้ว
ดังนั้น การเข้ามาพัฒนาองค์ประกอบของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์จะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จะเป็นจุดขายเพื่อกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวให้กลับมาอีกครั้ง และคาดว่าจะมียอดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 15,000 คนต่อปี หลังจากที่การท่องเที่ยวเกิดการชะลอตัวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19
และที่สำคัญคือการพัฒนาและยกระดับฐานรากของเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง จึงจะนำไปสู่ความเข้มแข้งของเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |