1 ธ.ค.63- นายสุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และแกนนำคนสำคัญของพรรคเพื่อไทยหลายคน ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ว่า ยังไม่ทราบเหตุผลการตัดสินใจในครั้งนี้ และไม่ทราบว่าบุคคลที่ลาออกไปนั้นจะมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาหรือไม่ โดยตอนนี้ที่มีความชัดเจน คือ การแยกกันทำงาน แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่า การแยกกันทำงานครั้งนี้เป็นปัจจัยจากรัฐธรรมนูญ หรือเป็นยุทธศาสตร์หรือมีปัญหาสั่นคลอนในพรรคเพื่อไทย โดยสามารถมองได้ทั้ง 2 แบบ แต่คิดว่ากลุ่มคนที่ลาออกไปยังคงมีอุดมการณ์เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย เพียงแต่อาจมีวิธีการทำงานที่ต่างกัน
เมื่อถามว่าในวันพรุ่งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยคดีบ้านพักทหาร ของนายกรัฐมนตรีที่อาจเกี่ยวพันกับสถานะของนายกรัฐมนตรี ขณะที่คุณหญิงสุดารัตน์ลาออกไป จะทำให้ชื่อของคุณหญิงสุดารัตน์หลุดออกจากบัญชีของพรรคเพื่อไทยที่เสนอให้เป็นที่เป็นหนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายสุทิน กล่าวว่า ยังมีข้อสงสัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อคุณหญิงสุดารัตน์ ลาออกจากสมาชิกพรรคจะยังคงอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคยื่นไว้ต่อ กกต. หรือไม่ แต่หากเทียบเคียงกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ จึงคาดว่าคุณหญิงสุดารัตน์น่าจะยังคงอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตามไม่ได้เตรียมพร้อมกับการอ่านคำวินิจฉัยพรุ่งนี้ (2 ธ.ค. ) แต่เป็นกังวลผลที่จะเกิดจากคำวินิจฉัย โดยหวังว่าคำวินิจฉัยที่ออกมาจะมีเหตุผลทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้.
นายสุทิน กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ว่า ยังมีปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลอ้างว่าร่างกฎหมายดังกล่าว เข้าข่ายการปฏิรูปประเทศจึงเสนอให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ดังนั้น จะรอฟังคำชี้แจงจากผู้เสนอร่างว่า เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศอย่างไร แต่เบื้องต้นสันนิษฐานว่า รัฐบาลต้องการให้ทางกฎหมายผ่านโดยเร็วเพื่อรองรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรืออยากให้ผ่านโดยเร็ว เพราะมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ได้เปิดกว้างให้รณรงค์หรือแสดงความคิดเห็น รวมถึงรัฐบาลก็มีเสียงมากกว่าในที่ประชุมร่วมรัฐสภา
นายสุทิน กล่าวว่า ขณะที่ร่างพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่ฝ่ายค้านจะเสนอไปที่สภาผู้แทนราษฏร แต่ติดปัญหาว่าจะเข้าข่ายเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่ ทำให้ต้องรอให้นายกรัฐมนตรีเซ็นต์รับรองเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร จึงส่งผลให้เกิดปัญหาว่าร่างกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่เสนอแยกให้พิจารณาสองสภา หากผ่านการพิจารณาต้องตั้งกรรมาธิการแยก 2 คณะ ซึ่งจะทำให้เกิดความวุ่นวายซับซ้อน อันเป็นผลจากรัฐธรรมนูญที่ไม่บัญญัติเรื่องประเภทกฎหมายให้ชัดว่าควรเข้าสู่การพิจารณาของสภาใด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |