1 ธ.ค. 2563 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2563 จะไม่ฟื้นตัวแรงเหมือนไตรมาส 3 เนื่องจากในไตรมาส 2/2563 รัฐบาลมีการใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดหยุดนิ่ง ส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาส 3/2563 หลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ฟื้นตัวแรง แต่ว่าแรงส่งในไตรมาส 4/2563 ยังมีอยู่ มาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐจะเป็นแรงส่งสำคัญให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2564
สำหรับเศรษฐกิจไทยในเดือน ต.ค. 2563 หดตัวในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับการหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่หมดลง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อน โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนกลับมาหดตัวจากที่ขยายตัวได้เล็กน้อยในเดือนก่อนหน้า ตามการใช้จ่ายที่ปรับตัวลดลงในเกือบทุกหมวด เนื่องจากปัจจัยชั่วคราววันหยุดยาวพิเศษหมดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนกลับมาหดตัว และหมวดบริการหดตัวสูงขึ้น แต่ในภาพรวมการบริโภคภาคเอกชนยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว สอดคล้องกับปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น ทั้งการจ้างงาน รายได้ของครัวเรือนทั้งในและนอกภาคเกษตร และความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประกอบกับได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการรัฐอย่างต่อเนื่อง
สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้า หดตัว 5.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการหดตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามการส่งออกในบางหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน สินค้าเกษตร และสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีผลของฐานสูงในปีก่อน ขณะที่การส่งออกสินค้าบางหมวดปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวเล็กน้อยจากการผลิตหมวดยานยนต์และหมวดปิโตรเลียมเป็นสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานที่ต่ำ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้า หดตัว 12.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ทั้งการนำเข้าเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าทุน สอดคล้องกับการใช้จ่ายในประเทศที่หดตัว
ขณะที่เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามการลงทุนทั้งหมดเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงหมวดก่อสร้าง โดยการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวสูงขึ้นตามการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนหมวดก่อสร้างกลับมาหดตัวเล็กน้อย ตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง สอดคล้องกับกิจกรรมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ลดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอน กลับมาหดตัวจากที่ขยายตัวในช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำที่ล่าช้า ส่วนการลงทุนของทั้งรัฐบาลกลางและรัฐวิสาหกิจยังขยายตัวต่อเนื่อง และมีบทบาทสำคัญในการพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นางสาวชญาวดี กล่าวอีกว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวสูงต่อเนื่องจากระยะเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังมีอยู่ แม้ในเดือนนี้ภาครัฐเริ่มอนุญาตให้นักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourists Visa : STV) เดินทางเข้าไทยได้ แต่ยังมีจำนวนน้อย ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง จากการใช้มาตรการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งด้านการจ้างงานและรายได้ แต่ยังเปราะบาง แม้ว่าตัวเลขในตลาดแรงงานมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในส่วนของผู้ทำงานไม่ถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน มีสัดส่วนที่ลดลงต่ำกว่า 4 ล้านคน จากช่วงก่อนหน้าที่อยู่สูงระดับ 6 ล้านคน รวมทั้งรายได้รวมและเงินพิเศษ (โอที) เริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งสะท้อนจากทั้งอัตราการว่างงานและสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานในระบบประกันสังคม ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเล็กน้อยตามการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลใกล้เคียงเดิม
นางสาวชญาวดี กล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น โดยเฉลี่ยในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา พบว่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นมากกว่า 2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาจากความคืบหน้าของวัคซีนป้องกันโควิด-19 และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาบ้าง ส่วนหนึ่งเป็นเงินทุนที่เคยไหลออกไปในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่ได้กลับเข้ามามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เพราะนักลงทุนยังกังวลเรื่องแนวโน้มการท่องเที่ยวของไทย จากการที่ยังไม่มีการเปิดประเทศ ซึ่ง ธปท. จะมีมาตรการดูแลไม่ให้มากระทบกับค่าเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการผันผวนมากเกินไปจากการเก็งกำไร แต่ก็ต้องดูแลผลข้างเคียงต่อนักลงทุนที่เข้ามาเพราะปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง
“ธปท.เตรียมที่จะสรุปเพื่อทำความเข้าใจมาตรการเพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแผนของโครงการ FX Ecosystemในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งบางส่วนเป็นเรื่องที่ทำไปแล้ว โดยแพคเก็จดังกล่าวจะดูเรื่องระยะสั้นและระยะยาว เพราะต้องยอมรับว่าความผันผวนที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากปัจจัยระยะสั้นเพียงอย่างเดียว แต่มาจากปัจจัยโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยนไทย ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใน 2 ทิศทางมากขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้ประกอบการสามารถทนต่อการนแข็งค่าของเงินบาทได้มากขึ้น” นางสาวชญาวดี กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |